นิด้าโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นวิธีคลายเครียดช่วงหน้าร้อน เผยคนส่วนใหญ่ฮิตอยู่บ้านอาบน้ำปะแป้งเย็น เปิดพัดลม ระบุหากหงุดหงิดให้สงบสติอารมณ์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทย ร้อนกายร้อนใจทำอย่างไร? ให้เย็นลง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2556 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ทุกภูมิภาค จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับวิธีคลายร้อนและวิธีคลายเครียดจากภาวะอารมณ์หงุดหงิดหรือโกรธง่ายโดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน ร้อยละ 1.3
จากการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนต่อวิธีคลายร้อนในหน้าร้อน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.43 ระบุว่า อยู่บ้าน อาบน้ำ ทาแป้งเย็น เปิดพัดลมไม่ออกไปไหน รองลงมา ร้อยละ 23.27 ไปน้ำตก เล่นน้ำคลอง สระ เขื่อน สวนน้ำ ร้อยละ 14.81 เปิดแอร์นอนอยู่บ้าน ร้อยละ 12.46 ไปเดินห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 11.46 ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ทานน้ำแข็งใส ไอศกรีม ดื่มน้ำเยอะๆ ร้อยละ 4.35 ไปในที่ร่มรื่น มีต้นไม้เยอะๆ และมีอากาศถ่ายเท เช่น สวนสาธารณะ ป่าไม้ร้อยละ 1.95 ไปทำงานตากแอร์ที่ออฟฟิศ ร้อยละ 0.45 ไม่ทำอะไร ทำใจ มีสติไม่เครียด ไม่ใส่ใจ และร้อยละ 0.80 ระบุว่า อื่นๆ เช่น ทำงานอดิเรก ไปวัดทำบุญ ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นชุบตัว ติดสปริงเกอร์บนหลังคา ท้ายสุดเมื่อถามถึงวิธีระงับอารมณ์หากเกิดอารมณ์หงุดหงิด หรือโกรธง่ายในช่วงหน้าร้อน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 24.63 ระบุว่า จะค่อยๆ คิด พยายามระงับสติอารมณ์ รองลงมา ร้อยละ 24.41 ทำงานอดิเรก อ่านหนังสือ ฟังเพลง ไปกิน ไปเที่ยว ผ่อนคลายความเครียด ร้อยละ 20.27 ไม่ใส่ใจกับเรื่องที่ทำให้หงุดหงิดหรือโกรธหลีกเลี่ยงหรือไม่เผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดง่าย ร้อยละ 14.89 ใช้เหตุผลคุยกัน ร้อยละ 12.40 ใช้หลักธรรมะเข้าช่วย อดทน อดกลั้น นับ 1 ถึง 10 ใช้สมาธิเข้าช่วย ร้อยละ 2.38 ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ อาบน้ำ อยู่ในที่เย็นๆ และร้อยละ 1.02 ระบุว่า อื่นๆ เช่น มองโลกในแง่ดีฝึกให้เป็นคนอารมณ์ดี อยู่ที่เงียบๆ คนเดียว พูดคุย ระบายให้เพื่อน พ่อ แม่ฟัง
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ วชิรขจร อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้เพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจ จะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกพักผ่อนคลายร้อยอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะถ้าเป็นบ้านที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศเป็นการคลายร้อนที่สามารถทำได้ง่ายและประหยัด เป็นความผูกพันระหว่างคนกับบ้านซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเกี่ยวกับความสุขของคนใน กทม.พบว่า ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้มีความสุขก็คือ บ้าน ดังนั้น หากทำให้บ้านของเราเองให้น่าอยู่เราก็อยากจะพักผ่อนอยู่กับบ้านอย่างมีความสุขและสบายใจ ไม่อยากออกไปไหนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนี้จนมีบางคนเป็นลม ส่วนวิธีคลายร้อนอื่นๆ ก็ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนนิยมไปกัน เช่น ไปเดินห้าง ไปทะเล น้ำตก เป็นต้น
“ส่วนการจัดการกับอารมณ์หงุดหงิดหรืออารมณ์โกรธในหน้าร้อนที่เกิดจากปัญหาต่างๆ นั้น โดยพื้นฐานคนไทยส่วนใหญ่ก็จะมีพฤติกรรมที่อยู่ในศีลในธรรมอยู่ในหลักการปฏิบัติของศาสนาอยู่แล้ว และไม่ชอบการใช้ความรุนแรงจึงหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งต่างๆ โดยหันมาใช้สติ ใช้เหตุผลคุยกัน และการประณีประนอมกัน หางานอดิเรกอย่างอื่นทำหลีกเลี่ยงและไม่ใส่ใจกับเรื่องที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจซึ่งส่วนตัวแล้วจะใช้หลักธรรมะเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา รู้จักการปล่อยวางจะสุขหรือจะทุกข์ ก็อยู่ที่ใจ จึงอยากให้คนไทยนำหลักของศาสนามาใช้ให้มากขึ้นสังคมไทยก็จะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น” รองศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ ระบุ
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทย ร้อนกายร้อนใจทำอย่างไร? ให้เย็นลง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2556 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ทุกภูมิภาค จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับวิธีคลายร้อนและวิธีคลายเครียดจากภาวะอารมณ์หงุดหงิดหรือโกรธง่ายโดยมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน ร้อยละ 1.3
จากการสำรวจ ความคิดเห็นของประชาชนต่อวิธีคลายร้อนในหน้าร้อน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.43 ระบุว่า อยู่บ้าน อาบน้ำ ทาแป้งเย็น เปิดพัดลมไม่ออกไปไหน รองลงมา ร้อยละ 23.27 ไปน้ำตก เล่นน้ำคลอง สระ เขื่อน สวนน้ำ ร้อยละ 14.81 เปิดแอร์นอนอยู่บ้าน ร้อยละ 12.46 ไปเดินห้างสรรพสินค้า ร้อยละ 11.46 ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ทานน้ำแข็งใส ไอศกรีม ดื่มน้ำเยอะๆ ร้อยละ 4.35 ไปในที่ร่มรื่น มีต้นไม้เยอะๆ และมีอากาศถ่ายเท เช่น สวนสาธารณะ ป่าไม้ร้อยละ 1.95 ไปทำงานตากแอร์ที่ออฟฟิศ ร้อยละ 0.45 ไม่ทำอะไร ทำใจ มีสติไม่เครียด ไม่ใส่ใจ และร้อยละ 0.80 ระบุว่า อื่นๆ เช่น ทำงานอดิเรก ไปวัดทำบุญ ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นชุบตัว ติดสปริงเกอร์บนหลังคา ท้ายสุดเมื่อถามถึงวิธีระงับอารมณ์หากเกิดอารมณ์หงุดหงิด หรือโกรธง่ายในช่วงหน้าร้อน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 24.63 ระบุว่า จะค่อยๆ คิด พยายามระงับสติอารมณ์ รองลงมา ร้อยละ 24.41 ทำงานอดิเรก อ่านหนังสือ ฟังเพลง ไปกิน ไปเที่ยว ผ่อนคลายความเครียด ร้อยละ 20.27 ไม่ใส่ใจกับเรื่องที่ทำให้หงุดหงิดหรือโกรธหลีกเลี่ยงหรือไม่เผชิญหน้ากับสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดง่าย ร้อยละ 14.89 ใช้เหตุผลคุยกัน ร้อยละ 12.40 ใช้หลักธรรมะเข้าช่วย อดทน อดกลั้น นับ 1 ถึง 10 ใช้สมาธิเข้าช่วย ร้อยละ 2.38 ดื่มเครื่องดื่มเย็นๆ อาบน้ำ อยู่ในที่เย็นๆ และร้อยละ 1.02 ระบุว่า อื่นๆ เช่น มองโลกในแง่ดีฝึกให้เป็นคนอารมณ์ดี อยู่ที่เงียบๆ คนเดียว พูดคุย ระบายให้เพื่อน พ่อ แม่ฟัง
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ วชิรขจร อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้เพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจ จะพบว่าประชาชนส่วนใหญ่จะเลือกพักผ่อนคลายร้อยอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะถ้าเป็นบ้านที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศเป็นการคลายร้อนที่สามารถทำได้ง่ายและประหยัด เป็นความผูกพันระหว่างคนกับบ้านซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเกี่ยวกับความสุขของคนใน กทม.พบว่า ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้มีความสุขก็คือ บ้าน ดังนั้น หากทำให้บ้านของเราเองให้น่าอยู่เราก็อยากจะพักผ่อนอยู่กับบ้านอย่างมีความสุขและสบายใจ ไม่อยากออกไปไหนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงนี้จนมีบางคนเป็นลม ส่วนวิธีคลายร้อนอื่นๆ ก็ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนนิยมไปกัน เช่น ไปเดินห้าง ไปทะเล น้ำตก เป็นต้น
“ส่วนการจัดการกับอารมณ์หงุดหงิดหรืออารมณ์โกรธในหน้าร้อนที่เกิดจากปัญหาต่างๆ นั้น โดยพื้นฐานคนไทยส่วนใหญ่ก็จะมีพฤติกรรมที่อยู่ในศีลในธรรมอยู่ในหลักการปฏิบัติของศาสนาอยู่แล้ว และไม่ชอบการใช้ความรุนแรงจึงหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับความขัดแย้งต่างๆ โดยหันมาใช้สติ ใช้เหตุผลคุยกัน และการประณีประนอมกัน หางานอดิเรกอย่างอื่นทำหลีกเลี่ยงและไม่ใส่ใจกับเรื่องที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจซึ่งส่วนตัวแล้วจะใช้หลักธรรมะเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา รู้จักการปล่อยวางจะสุขหรือจะทุกข์ ก็อยู่ที่ใจ จึงอยากให้คนไทยนำหลักของศาสนามาใช้ให้มากขึ้นสังคมไทยก็จะน่าอยู่มากยิ่งขึ้น” รองศาสตราจารย์ ดร.สุรสิทธิ์ ระบุ