กรมควบคุมโรคเตือนขาเมาเล่นสงกรานต์ อย่าเผลอขึ้นไปดื่มเหล้าบนรถ แม้รถจะจอดอยู่กับที่ก็ถือว่าผิดกฎหมาย เหตุมีการออกกฎหมายใหม่ หากฝ่าฝืนปรับ 1 หมื่นบาท ชี้กฎหมายเก่าก็ยังบังคับใช้ ทั้งห้ามขายเหล้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามเร่ขาย ห้ามขายในหอพัก วัด ร้านขายยา สถานที่ราชการ สถานศึกษา ฯลฯ

วันนี้ (4 เม.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปกติช่วงสงกรานต์ของทุกปีจะมีการใช้รถกระบะ รถมอเตอร์ไซค์ บรรทุกน้ำเล่นสงกรานต์ รวมทั้งมีการตีฉิ่ง ฉาบ กลอง และดื่มแอลกอฮอล์บนรถ ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ในปีนี้ถือว่าผิดกฎหมายแน่นอน เพราะมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2555 ห้ามกระทำการดังกล่าวและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 2555 โดยข้อความสำคัญในประกาศ คือ ห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางในขณะขับขี่ หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถหรือบนรถ ไม่ว่ารถนั้นจะจอดหรือวิ่งอยู่ในทางจราจรก็ตาม คร.จึงขอเตือนให้ประชาชนที่ดื่มแอลกอฮอล์ระวังในการเล่นสงกรานต์ อย่าเผลอลืมตัวไปดื่มแอลกอฮอล์บนรถจะผิดกฎหมาย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับปีที่ผ่านมาในช่วงสงกรานต์ปี 2555 พบผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ดังนี้ 1.การขายแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขาย เช่น ร้านยา ปั๊มน้ำมัน หอพัก จำนวน 25 ราย 2.ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 1 ราย 3.ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการหรือลักษณะต้องห้าม เช่น เร่ขาย ชิงโชค ชิงรางวัล ลดแลก แจกแถม จำนวน 18 ราย 4.การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 42 ราย 5.การขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนด จำนวน 12 ราย 6.การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่มีใบอนุญาต จำนวน 31 ราย อย่างไรก็ตาม สงกรานต์ปีนี้ นอกจากห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถตามกฎหมายใหม่แล้ว กฎหมายเก่าก็ยังมีผลบังคับใช้ ได้แก่ ห้ามขายแอลกอฮอล์ให้เด็กและเยาวชน อายุต่ำกว่า 20 ปี และบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ห้ามการเร่ขายแอลกอฮอล์ ห้ามขายในหอพัก รวมทั้งห้ามขายและดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ 1.วัด/สถานที่ปฏิบัติธรรม 2.สถานบริการสาธารณสุข/สถานพยาบาล/ร้านขายยา 3.สถานที่ราชการ 4.สถานศึกษา 5.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 6.สวนสาธารณะ ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวได้จำกัดเวลาในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ขายได้เฉพาะในช่วงเวลา 11.00-14.00 น.และเวลา 17.00-24.00 น.เท่านั้น นอกเวลาดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” อธิบดี คร.กล่าว
วันนี้ (4 เม.ย.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ปกติช่วงสงกรานต์ของทุกปีจะมีการใช้รถกระบะ รถมอเตอร์ไซค์ บรรทุกน้ำเล่นสงกรานต์ รวมทั้งมีการตีฉิ่ง ฉาบ กลอง และดื่มแอลกอฮอล์บนรถ ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ในปีนี้ถือว่าผิดกฎหมายแน่นอน เพราะมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ. 2555 ห้ามกระทำการดังกล่าวและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 2555 โดยข้อความสำคัญในประกาศ คือ ห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางในขณะขับขี่ หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถหรือบนรถ ไม่ว่ารถนั้นจะจอดหรือวิ่งอยู่ในทางจราจรก็ตาม คร.จึงขอเตือนให้ประชาชนที่ดื่มแอลกอฮอล์ระวังในการเล่นสงกรานต์ อย่าเผลอลืมตัวไปดื่มแอลกอฮอล์บนรถจะผิดกฎหมาย
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า สำหรับปีที่ผ่านมาในช่วงสงกรานต์ปี 2555 พบผู้กระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ดังนี้ 1.การขายแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขาย เช่น ร้านยา ปั๊มน้ำมัน หอพัก จำนวน 25 ราย 2.ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้บุคคลอายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 1 ราย 3.ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยวิธีการหรือลักษณะต้องห้าม เช่น เร่ขาย ชิงโชค ชิงรางวัล ลดแลก แจกแถม จำนวน 18 ราย 4.การโฆษณาเพื่อส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 42 ราย 5.การขายนอกเวลาที่กฎหมายกำหนด จำนวน 12 ราย 6.การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่มีใบอนุญาต จำนวน 31 ราย อย่างไรก็ตาม สงกรานต์ปีนี้ นอกจากห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถตามกฎหมายใหม่แล้ว กฎหมายเก่าก็ยังมีผลบังคับใช้ ได้แก่ ห้ามขายแอลกอฮอล์ให้เด็กและเยาวชน อายุต่ำกว่า 20 ปี และบุคคลที่มีอาการมึนเมาจนครองสติไม่ได้ ห้ามการเร่ขายแอลกอฮอล์ ห้ามขายในหอพัก รวมทั้งห้ามขายและดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ 1.วัด/สถานที่ปฏิบัติธรรม 2.สถานบริการสาธารณสุข/สถานพยาบาล/ร้านขายยา 3.สถานที่ราชการ 4.สถานศึกษา 5.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง 6.สวนสาธารณะ ผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
“นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวได้จำกัดเวลาในการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยให้ขายได้เฉพาะในช่วงเวลา 11.00-14.00 น.และเวลา 17.00-24.00 น.เท่านั้น นอกเวลาดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” อธิบดี คร.กล่าว