รมว.วัฒนธรรม ผนึกกำลังร่วม สสส.ตรึง 86 พื้นที่ 66 จังหวัด 26 ถนนตระกูลข้าวทั่วไทย จัดสงกรานต์ปลอดเหล้า เพื่อความปลอดภัย!!! ผลสำรวจพบ 82.9% เห็นด้วยกับมาตรการควบคุม ไม่ให้มีแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำ ป้องกันบาดเจ็บ ตายในเทศกาลได้...ด้านเครือข่ายงดเหล้าเผย!!! เจ้าภาพจัดงานและสังคมขานรับมากขึ้น จัดปลอดเหล้าต่อเนื่องหวังลดความเสี่ยงและปัญหาเรื้อรังในพื้นที่
วันนี้ (3 เม.ย.) ที่ลานกิจกรรม หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว “รณรงค์สงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า 86 พื้นที่ 66 จังหวัด 26 ถนนตระกูลข้าว” ภายใต้กิจกรรม วัฒนธรรมสร้างสุข สนุกสุขใจ ไร้แอลกอฮอล์ ปี 2556 จัดโดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภาคีงดเหล้าทั่วประเทศ เพื่อสร้างรูปธรรมพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย โดยมีมาตรการป้องกันและโน้มน้าวให้สังคมตระหนัก พร้อมหันมาควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น โดยนายวิสิทธิ์ อุดมโชติ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมสนับสนุนให้พื้นที่ลานเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นพื้นที่เล่นน้ำปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และมีแนวคิดที่จะพัฒนาขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ของเครือเซ็นทรัลในโอกาสต่อไป
นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนมักมีพฤติกรรมเสี่ยงและไม่ปลอดภัย มีการฉวยโอกาสลวนลาม การก่อเรื่องทะเลาะวิวาทจากการเมาสุรา จากการที่หลายพื้นที่ทั่วประเทศที่มีการจัดงานสงกรานต์ได้หามาตรการ เชิงรุกมีการประกาศเป็นนโยบายสาธารณะในการจัดงานสงกรานต์ปลอดเหล้า ถือเป็นการสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชน เป็นค่านิยมใหม่ในการสร้างพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย และในอนาคตจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมไทยต่อไป
“การที่มีพื้นที่ร่วมรณรงค์ต่อเนื่อง อาทิ จังหวัดเชียงใหม่, ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น, ถนนข้าวทิพย์ จันทบุรี, ถนนข้าวเม่า จังหวัดมหาสารคาม, ถนนข้าวสุก จังหวัดอ่างทอง รวมถึง Central World ซึ่งเป็นพื้นที่เอกชนเป็นความร่วมมือที่ดี โดยได้มีการนำ 7 มาตรการสำคัญมาใช้ คือ 1.“ประกาศ” การประกาศนโยบายจัดงานปลอดเหล้า 2.“ห้าม” การห้ามไม่ให้มีการขายการดื่มในงาน 3.“ขอ” การขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้า 4.“แลก” การนำสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านหรือน้ำดื่มชนิดอื่นๆ มาแลกกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจมีคนถือเข้ามาในงาน 5.“ฝาก” การฝากแอลกอฮอล์ไว้ในจุดที่กำหนดไว้ 6.“เฝ้า” การเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในพื้นที่จัดงาน และ 7.“สร้าง” การสร้างกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมจะช่วยให้สังคมยึดแบบแผนของวัฒนธรรมที่ดีงามและมี รวมทั้งรักษาคุณค่าความหมายของประเพณีสงกรานต์ได้เป็นอย่างดี” นายสนธยา กล่าว
ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า จากปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำ และจำนวนยอดการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตในแต่ละปี ส่งผลให้หลายพื้นที่ที่มีการจัดงานสงกรานต์เริ่มรู้ทันถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหันมาปกป้องอนาคตของลูกหลานด้วยการปฏิเสธและหาวิธีไม่ให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเกี่ยวข้องในงานมากขึ้น โดยในปีนี้มีพื้นที่จากทั่วประเทศ 86 พื้นที่ 66 จังหวัด 26 ถนนตระกูลข้าวทั่วไทย ที่รณรงค์จัดสงกรานต์ปลอดเหล้าและพร้อมขยายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
“ทั้งนี้จากผลการสำรวจ ปี 2555 โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน ผู้ร่วมจัดงานและผู้จำหน่ายสินค้า พบว่า ร้อยละ 86.2 ประชาชนเห็นด้วยกับการมีมาตรการควบคุมไม่ให้มีแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำ ซึ่งร้อยละ 82.9 อยากให้รัฐบาลออกกฎหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วประเทศช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ และเมื่อเปรียบเทียบในประเด็นความปลอดภัยในการจำหน่ายสินค้าในงานที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับงานที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ร้อยละ 76.5 การขายสินค้าของท้องถิ่นที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ปลอดภัยมากกว่า และขายได้กำไรมากกว่า ดังนั้นการที่ผู้จัดงานในพื้นที่ต่างๆ เห็นความสำคัญและมาร่วมรณรงค์ให้เป็นงานสงกรานต์ที่ปลอดเหล้า ก็จะถือเป็นการช่วยเหลือและลดปัญหาที่มาจากแอลกอฮอล์ได้มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย เพราะเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ และเรียกร้องธุรกิจน้ำเมา อย่าทำลายวัฒนธรรมอันดีงาม ด้วยเห็นแต่ประโยชน์ของตนเองเลย” ภก.สงกรานต์ กล่าว
ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เทศกาลวันสงกรานต์ เป็นช่วงที่อันตรายที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเยาวชน ซึ่งเต็มไปด้วยความเสี่ยงและเกิดพฤติกรรมความรุนแรง จากการศึกษาของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ใน 5 โรงพยาบาล ปี 2553 พบว่า สัดส่วนของผู้บาดเจ็บอายุต่ำกว่า 20 ปี และมีการดื่มสุราก่อนเกิดเหตุในช่วงสงกรานต์สูงกว่าช่วงเวลาปกติ ถึง 2.25 เท่า คือ ช่วงเวลาสงกรานต์มีเยาวชนบาดเจ็บรุนแรงที่มีสุราเป็นปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 45 ในขณะที่เวลาปกติ ร้อยละ 20 และเมื่อมีการวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดแล้วพบว่าค่าเฉลี่ยของแอลกอฮอล์ในเลือดของเยาวชนที่บาดเจ็บมากเท่ากับ ปริมาณแอลกอฮอล์ในเบียร์ 3 ขวดใหญ่เลยทีเดียว ดังนั้นปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข รวมถึงได้มีการนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้ โดยทาง สสส.และเครือข่ายงดเหล้า รวมถึงภาคีความร่วมมือต่างๆ ได้เน้นการทำงานเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงในเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ได้เน้นการสร้างพื้นที่รูปธรรมพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้าซึ่งเป็นพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อควบคุมน้ำเมาและการทำตลาดของบริษัทน้ำเมาไม่ให้เข้ามาแทรกซึมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในงานประเพณีวัฒนธรรม
วันนี้ (3 เม.ย.) ที่ลานกิจกรรม หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว “รณรงค์สงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า 86 พื้นที่ 66 จังหวัด 26 ถนนตระกูลข้าว” ภายใต้กิจกรรม วัฒนธรรมสร้างสุข สนุกสุขใจ ไร้แอลกอฮอล์ ปี 2556 จัดโดย สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภาคีงดเหล้าทั่วประเทศ เพื่อสร้างรูปธรรมพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย โดยมีมาตรการป้องกันและโน้มน้าวให้สังคมตระหนัก พร้อมหันมาควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น โดยนายวิสิทธิ์ อุดมโชติ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ร่วมสนับสนุนให้พื้นที่ลานเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นพื้นที่เล่นน้ำปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และมีแนวคิดที่จะพัฒนาขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ ของเครือเซ็นทรัลในโอกาสต่อไป
นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนมักมีพฤติกรรมเสี่ยงและไม่ปลอดภัย มีการฉวยโอกาสลวนลาม การก่อเรื่องทะเลาะวิวาทจากการเมาสุรา จากการที่หลายพื้นที่ทั่วประเทศที่มีการจัดงานสงกรานต์ได้หามาตรการ เชิงรุกมีการประกาศเป็นนโยบายสาธารณะในการจัดงานสงกรานต์ปลอดเหล้า ถือเป็นการสร้างความปลอดภัยให้แก่ประชาชน เป็นค่านิยมใหม่ในการสร้างพื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย และในอนาคตจะกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมไทยต่อไป
“การที่มีพื้นที่ร่วมรณรงค์ต่อเนื่อง อาทิ จังหวัดเชียงใหม่, ถนนข้าวเหนียว จังหวัดขอนแก่น, ถนนข้าวทิพย์ จันทบุรี, ถนนข้าวเม่า จังหวัดมหาสารคาม, ถนนข้าวสุก จังหวัดอ่างทอง รวมถึง Central World ซึ่งเป็นพื้นที่เอกชนเป็นความร่วมมือที่ดี โดยได้มีการนำ 7 มาตรการสำคัญมาใช้ คือ 1.“ประกาศ” การประกาศนโยบายจัดงานปลอดเหล้า 2.“ห้าม” การห้ามไม่ให้มีการขายการดื่มในงาน 3.“ขอ” การขอความร่วมมือนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการร้านค้า 4.“แลก” การนำสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านหรือน้ำดื่มชนิดอื่นๆ มาแลกกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจมีคนถือเข้ามาในงาน 5.“ฝาก” การฝากแอลกอฮอล์ไว้ในจุดที่กำหนดไว้ 6.“เฝ้า” การเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในพื้นที่จัดงาน และ 7.“สร้าง” การสร้างกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมจะช่วยให้สังคมยึดแบบแผนของวัฒนธรรมที่ดีงามและมี รวมทั้งรักษาคุณค่าความหมายของประเพณีสงกรานต์ได้เป็นอย่างดี” นายสนธยา กล่าว
ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า กล่าวว่า จากปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำ และจำนวนยอดการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตในแต่ละปี ส่งผลให้หลายพื้นที่ที่มีการจัดงานสงกรานต์เริ่มรู้ทันถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและหันมาปกป้องอนาคตของลูกหลานด้วยการปฏิเสธและหาวิธีไม่ให้ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเกี่ยวข้องในงานมากขึ้น โดยในปีนี้มีพื้นที่จากทั่วประเทศ 86 พื้นที่ 66 จังหวัด 26 ถนนตระกูลข้าวทั่วไทย ที่รณรงค์จัดสงกรานต์ปลอดเหล้าและพร้อมขยายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
“ทั้งนี้จากผลการสำรวจ ปี 2555 โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน ผู้ร่วมจัดงานและผู้จำหน่ายสินค้า พบว่า ร้อยละ 86.2 ประชาชนเห็นด้วยกับการมีมาตรการควบคุมไม่ให้มีแอลกอฮอล์ในพื้นที่เล่นน้ำ ซึ่งร้อยละ 82.9 อยากให้รัฐบาลออกกฎหมายห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วประเทศช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ และเมื่อเปรียบเทียบในประเด็นความปลอดภัยในการจำหน่ายสินค้าในงานที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับงานที่มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ร้อยละ 76.5 การขายสินค้าของท้องถิ่นที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ปลอดภัยมากกว่า และขายได้กำไรมากกว่า ดังนั้นการที่ผู้จัดงานในพื้นที่ต่างๆ เห็นความสำคัญและมาร่วมรณรงค์ให้เป็นงานสงกรานต์ที่ปลอดเหล้า ก็จะถือเป็นการช่วยเหลือและลดปัญหาที่มาจากแอลกอฮอล์ได้มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย เพราะเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ และเรียกร้องธุรกิจน้ำเมา อย่าทำลายวัฒนธรรมอันดีงาม ด้วยเห็นแต่ประโยชน์ของตนเองเลย” ภก.สงกรานต์ กล่าว
ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เทศกาลวันสงกรานต์ เป็นช่วงที่อันตรายที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเยาวชน ซึ่งเต็มไปด้วยความเสี่ยงและเกิดพฤติกรรมความรุนแรง จากการศึกษาของศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ใน 5 โรงพยาบาล ปี 2553 พบว่า สัดส่วนของผู้บาดเจ็บอายุต่ำกว่า 20 ปี และมีการดื่มสุราก่อนเกิดเหตุในช่วงสงกรานต์สูงกว่าช่วงเวลาปกติ ถึง 2.25 เท่า คือ ช่วงเวลาสงกรานต์มีเยาวชนบาดเจ็บรุนแรงที่มีสุราเป็นปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 45 ในขณะที่เวลาปกติ ร้อยละ 20 และเมื่อมีการวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดแล้วพบว่าค่าเฉลี่ยของแอลกอฮอล์ในเลือดของเยาวชนที่บาดเจ็บมากเท่ากับ ปริมาณแอลกอฮอล์ในเบียร์ 3 ขวดใหญ่เลยทีเดียว ดังนั้นปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข รวมถึงได้มีการนำมาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้ โดยทาง สสส.และเครือข่ายงดเหล้า รวมถึงภาคีความร่วมมือต่างๆ ได้เน้นการทำงานเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงในเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ ทั้งนี้ได้เน้นการสร้างพื้นที่รูปธรรมพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้าซึ่งเป็นพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อควบคุมน้ำเมาและการทำตลาดของบริษัทน้ำเมาไม่ให้เข้ามาแทรกซึมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในงานประเพณีวัฒนธรรม