ประธานแอดมิชชันฟอรัม ชี้ข้อสังเกต สพฐ.ที่ชี้เด็กไม่ตั้งใจสอบโอเน็ตเพราะสอบรับตรงได้ที่เรียนก่อนไม่สมเหตุผล แต่เห็นด้วยกับข้อเสนอสอบโอเน็ตก่อนสอบตรง ระบุต้องหาทางออกร่วมกัน
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิชชั่นฟอรั่ม ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวถึงกรณีที่นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งข้อสังเกตถึงคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ซึ่งมีผู้สอบได้คะแนนศูนย์จำนวนมาก โดยอาจมีปัจจัยจากการที่เด็กสอบระบบรับตรงเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยได้แล้ว จึงไม่มีตั้งใจทำคะแนนสอบโอเน็ต ทั้งเสนอให้การรับตรงหลังการสอบโอเน็ต โดยจะหารือนอกรอบกับ ทปอ.ว่า ข้อเสนอของ สพฐ.ที่จะให้มีการสอบโอเน็ตก่อนการรับตรง เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่ในส่วนข้อสังเกตที่ระบุว่า เด็กซึ่งได้ที่เรียนผ่านการสอบระบบรับตรงแล้วจึงไม่ตั้งใจสอบโอเน็ต น่าจะไม่สมเหตุสมผลและไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด เพราะคะแนนโอเน็ตไม่ดี อาจมีทั้งเด็กไม่ตั้งใจสอบ หรือเป็นเรื่องของการสอนด้วยก็ได้
อย่างไรก็ตาม เด็ก ม.6 ก็ไม่ได้สอบรับตรงหมดทุกคน เป็นเพียงบางส่วน และเด็กที่สอบก็มีทั้งเก่งและไม่เก่ง รวมทั้งเด็กที่สอบรับตรงบางสาขา เช่น รับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ กสพท.ซึ่งตนมั่นใจว่า เด็กจะต้องตั้งใจสอบโอเน็ตสูงมาก เพราะคะแนนโอเน็ตถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการคัดเลือก ดังนั้นหากเราจับปมประเด็นปัญหาไม่ถูกจุดก็อาจทำให้หลงทิศได้ ในส่วนที่เสนอให้สอบโอเน็ตก่อนการรับตรงนั้น ที่ผ่านมาคณะทำงานแอดมิชชันฟอรัม พยายามขอความร่วมมือให้มหาวิทยาลัยรับตรงช่วงเดือน ม.ค.เพื่อให้การเรียนในห้องเรียนจบหลักสูตร ซึ่งหากให้ขยับการรับตรงไปเดือน ก.พ. ก็ทำได้ โดยให้เดือน ม.ค.เป็นการสอบทั้งโอเน็ต, วิชาสามัญ 7 วิชา และสอบ GAT-PATแต่อาจมีปัญหาว่า จะทำให้เด็กเครียด ดังนั้นการจะปรับการสอบคงต้องดูช่วงเวลาให้เหมาะสม ซึ่งทางออกคือ ทั้ง ทปอ., แอดมิชชัน ฟอรัม และ สพฐ.น่าจะหาเวทีที่มาหารือกันจะได้เข้าใจปัญหาต่างๆ ตรงกัน
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิชชั่นฟอรั่ม ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวถึงกรณีที่นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งข้อสังเกตถึงคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ซึ่งมีผู้สอบได้คะแนนศูนย์จำนวนมาก โดยอาจมีปัจจัยจากการที่เด็กสอบระบบรับตรงเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยได้แล้ว จึงไม่มีตั้งใจทำคะแนนสอบโอเน็ต ทั้งเสนอให้การรับตรงหลังการสอบโอเน็ต โดยจะหารือนอกรอบกับ ทปอ.ว่า ข้อเสนอของ สพฐ.ที่จะให้มีการสอบโอเน็ตก่อนการรับตรง เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ แต่ในส่วนข้อสังเกตที่ระบุว่า เด็กซึ่งได้ที่เรียนผ่านการสอบระบบรับตรงแล้วจึงไม่ตั้งใจสอบโอเน็ต น่าจะไม่สมเหตุสมผลและไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด เพราะคะแนนโอเน็ตไม่ดี อาจมีทั้งเด็กไม่ตั้งใจสอบ หรือเป็นเรื่องของการสอนด้วยก็ได้
อย่างไรก็ตาม เด็ก ม.6 ก็ไม่ได้สอบรับตรงหมดทุกคน เป็นเพียงบางส่วน และเด็กที่สอบก็มีทั้งเก่งและไม่เก่ง รวมทั้งเด็กที่สอบรับตรงบางสาขา เช่น รับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ กสพท.ซึ่งตนมั่นใจว่า เด็กจะต้องตั้งใจสอบโอเน็ตสูงมาก เพราะคะแนนโอเน็ตถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการคัดเลือก ดังนั้นหากเราจับปมประเด็นปัญหาไม่ถูกจุดก็อาจทำให้หลงทิศได้ ในส่วนที่เสนอให้สอบโอเน็ตก่อนการรับตรงนั้น ที่ผ่านมาคณะทำงานแอดมิชชันฟอรัม พยายามขอความร่วมมือให้มหาวิทยาลัยรับตรงช่วงเดือน ม.ค.เพื่อให้การเรียนในห้องเรียนจบหลักสูตร ซึ่งหากให้ขยับการรับตรงไปเดือน ก.พ. ก็ทำได้ โดยให้เดือน ม.ค.เป็นการสอบทั้งโอเน็ต, วิชาสามัญ 7 วิชา และสอบ GAT-PATแต่อาจมีปัญหาว่า จะทำให้เด็กเครียด ดังนั้นการจะปรับการสอบคงต้องดูช่วงเวลาให้เหมาะสม ซึ่งทางออกคือ ทั้ง ทปอ., แอดมิชชัน ฟอรัม และ สพฐ.น่าจะหาเวทีที่มาหารือกันจะได้เข้าใจปัญหาต่างๆ ตรงกัน