“พงศ์เทพ” เผยสภาซีเมคหนุนขับเคลื่อนการศึกษาตลอดชีวิตพุ่งเป้าวัยทำงาน-ผู้สูงวัยดูแลตัวเองได้ ไทยหนุนใช้เทคโนโลยีเพิ่มช่องทางดึงคนเข้าสู่การศึกษา ด้าน ประธานซีเมค คนใหม่ เผยเตรียมเดินสายโปรโมตการศึกษาตลอดชีวิต ย้ำ 2 ปีนี้เร่งเดินหน้าการรวมตัวเข้าสู่อาเซียนกระตุ้นเกิดการแลกเปลี่ยน โดยคงอัตลักษณ์ของประเทศ
วันนี้ (21 มี.ค.) ที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม- นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมด้วย นายฟา อู ลวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมแถลงข่าวภายหลังการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี ในการประชุมสภาสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 47 (47th SEAMEO Council Conference: SEAMEC) ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2556 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม ว่า ในที่ประชุมร่วมหารือและมีมติในหลายเรื่อง โดยประเด็นสำคัญที่ได้มีการถกกันมากนั่นคือ การจัดระบบการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งคณะรัฐมนตรีศึกษาที่ร่วมประชุมพิจารณาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในการส่งเสริมไม่ใช่หมายความรวมถึงคนทั้งหมด
สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ว่านั้นหมายถึง กลุ่มประชากรในวัยทำงานที่จะต้องพัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง และวัยผู้สูงอายุ ที่ปัจจุบันมีแต่จะเพิ่มจำนวนสูงขึ้นและไม่มีเรี่ยวแรงจะสร้างรายได้เลี้ยงดูตนเองได้ เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีรายได้เลี้ยงดูตนเองเพื่อไม่เป็นภาระของคนรุ่นหลัง อย่างไรก็ตาม สำหรับประชากรในภาพรวมนั้น เห็นร่วมกันว่าควรจะใช้การศึกษาในการสร้างความตระหนักว่า การศึกษาจะช่วยสร้างความรู้ที่จะต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นแก่ตนเองได้ เมื่อนั้นก็จะทำให้ประชาชนหาทางเข้าสู่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น ซึ่งตนได้เสนอที่ประชุมด้วยเทคโนโลยีจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าสู่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น แต่ก็อาจจะมีปัญหาบ้างสำหรับบางประเทศที่ยังไม่มีเทคโนโลยีรองรับ
“ได้เสนอด้วยว่าในแต่ละปีนั้นทั้งประเทศไทยและรวมถึงประเทศต่างๆ ต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันด้านการศึกษา เพราะฉะนั้น แต่ละประเทศน่าจะร่วมมือกันในเรื่องดังกล่าวหรือหากประเทศใดที่พัฒนาไว้อยู่แล้วอาจจะนำมาขายในราคาย่อมเยาได้ซึ่งวิธีการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้ใช้และจะช่วยให้การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเป็นไปได้มากขึ้น” นายพงศ์เทพ กล่า
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เหลือเวลาอีก 2 ปีก็จะมีการรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งนอกจากต้องพัฒนาการศึกษาและระบบต่างๆ เพื่อรองรับแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ประชากรในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมดมีจิตใจที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งการจะเดินไปสู่จุดนั้นสามารถใช้การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนโดยครั้งนี้ประเทศไทยได้เสนอด้วยว่า น่าจะให้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียนเพื่อเรียนต่อในกลุ่มประเทศอาเซียน หรือประเทศในกลุ่มซีมีโอ เพราะแม้เด็กจะไปเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษแต่สิ่งหนึ่งที่เด็กจะได้รับแน่นอนนั่นคือการเรียนรู้ภาษาถิ่น และวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะทำให้เขารู้สึกว่าไม่ว่าประเทศไหนเมื่ออยู่ในอาเซียนเราคือประเทศเดียวกัน ดังนั้น ก็จะมาร่วมกันดูว่าการจะสู่เป้าหมายนั้นมีอุปสรรคเรื่องใดบ้างและหาวิธีการแก้ปัญหาต่อไป
ด้าน นายฟา อู ลวน ในฐานะประธานสภาซีเมค กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาซีเมคนั้น เรื่องเร่งด่วนที่จะดำเนินการ คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ.2015) โดยจะกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนคนในวงการศึกษา ถึงแม้แต่ละประเทศจะมีความแตกต่าง แต่ตนจะพยายามทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขณะเดียวกัน แต่ละประเทศก็ต้องไม่ทิ้งเอกลักษณ์ของตนเอง ขณะเดียวกัน ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตของซีมีโอ ที่ตั้งขึ้นในเวียดนาม จะให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการทำงานของศูนย์นี้ อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ตนจะเดินทางเพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินการเรื่องการศึกษาตลอดชีวิตด้วย โดยจะเริ่มลงพื้นที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อประสานความร่วมมือกับศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ จำนวน 21 ศูนย์เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเกิดผลทางการปฏิบัติมากขึ้น
วันนี้ (21 มี.ค.) ที่สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม- นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พร้อมด้วย นายฟา อู ลวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและฝึกอบรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ร่วมแถลงข่าวภายหลังการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี ในการประชุมสภาสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 47 (47th SEAMEO Council Conference: SEAMEC) ระหว่างวันที่ 19-21 มีนาคม 2556 ณ กรุงฮานอย เวียดนาม ว่า ในที่ประชุมร่วมหารือและมีมติในหลายเรื่อง โดยประเด็นสำคัญที่ได้มีการถกกันมากนั่นคือ การจัดระบบการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งคณะรัฐมนตรีศึกษาที่ร่วมประชุมพิจารณาเห็นว่าเรื่องดังกล่าวควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในการส่งเสริมไม่ใช่หมายความรวมถึงคนทั้งหมด
สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ว่านั้นหมายถึง กลุ่มประชากรในวัยทำงานที่จะต้องพัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง และวัยผู้สูงอายุ ที่ปัจจุบันมีแต่จะเพิ่มจำนวนสูงขึ้นและไม่มีเรี่ยวแรงจะสร้างรายได้เลี้ยงดูตนเองได้ เพราะฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีรายได้เลี้ยงดูตนเองเพื่อไม่เป็นภาระของคนรุ่นหลัง อย่างไรก็ตาม สำหรับประชากรในภาพรวมนั้น เห็นร่วมกันว่าควรจะใช้การศึกษาในการสร้างความตระหนักว่า การศึกษาจะช่วยสร้างความรู้ที่จะต่อยอดไปสู่การสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นแก่ตนเองได้ เมื่อนั้นก็จะทำให้ประชาชนหาทางเข้าสู่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น ซึ่งตนได้เสนอที่ประชุมด้วยเทคโนโลยีจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าสู่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น แต่ก็อาจจะมีปัญหาบ้างสำหรับบางประเทศที่ยังไม่มีเทคโนโลยีรองรับ
“ได้เสนอด้วยว่าในแต่ละปีนั้นทั้งประเทศไทยและรวมถึงประเทศต่างๆ ต้องจ่ายเงินจำนวนมากเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันด้านการศึกษา เพราะฉะนั้น แต่ละประเทศน่าจะร่วมมือกันในเรื่องดังกล่าวหรือหากประเทศใดที่พัฒนาไว้อยู่แล้วอาจจะนำมาขายในราคาย่อมเยาได้ซึ่งวิธีการนี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้ใช้และจะช่วยให้การส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตเป็นไปได้มากขึ้น” นายพงศ์เทพ กล่า
นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เหลือเวลาอีก 2 ปีก็จะมีการรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนซึ่งนอกจากต้องพัฒนาการศึกษาและระบบต่างๆ เพื่อรองรับแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ประชากรในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมดมีจิตใจที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งการจะเดินไปสู่จุดนั้นสามารถใช้การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อนโดยครั้งนี้ประเทศไทยได้เสนอด้วยว่า น่าจะให้มีการแลกเปลี่ยนนักเรียนเพื่อเรียนต่อในกลุ่มประเทศอาเซียน หรือประเทศในกลุ่มซีมีโอ เพราะแม้เด็กจะไปเรียนหลักสูตรภาษาอังกฤษแต่สิ่งหนึ่งที่เด็กจะได้รับแน่นอนนั่นคือการเรียนรู้ภาษาถิ่น และวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะทำให้เขารู้สึกว่าไม่ว่าประเทศไหนเมื่ออยู่ในอาเซียนเราคือประเทศเดียวกัน ดังนั้น ก็จะมาร่วมกันดูว่าการจะสู่เป้าหมายนั้นมีอุปสรรคเรื่องใดบ้างและหาวิธีการแก้ปัญหาต่อไป
ด้าน นายฟา อู ลวน ในฐานะประธานสภาซีเมค กล่าวว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ดำรงตำแหน่งประธานสภาซีเมคนั้น เรื่องเร่งด่วนที่จะดำเนินการ คือ การรวมตัวของกลุ่มประเทศเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ.2015) โดยจะกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนคนในวงการศึกษา ถึงแม้แต่ละประเทศจะมีความแตกต่าง แต่ตนจะพยายามทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ขณะเดียวกัน แต่ละประเทศก็ต้องไม่ทิ้งเอกลักษณ์ของตนเอง ขณะเดียวกัน ศูนย์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการเรียนรู้ตลอดชีวิตของซีมีโอ ที่ตั้งขึ้นในเวียดนาม จะให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการทำงานของศูนย์นี้ อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ตนจะเดินทางเพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินการเรื่องการศึกษาตลอดชีวิตด้วย โดยจะเริ่มลงพื้นที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อประสานความร่วมมือกับศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ จำนวน 21 ศูนย์เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเกิดผลทางการปฏิบัติมากขึ้น