“อานันท์” ชี้ไทยล้มเหลวการส่งเสริมเสรีภาพเด็ก โดยเฉพาะเด็กภาคอีสานใช้ชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจนถึง 18% จี้รัฐเร่งลงทุนพัฒนาเด็ก ปรับปรุงหลักสูตรและคุณภาพครูอย่างจริงจัง แนะตั้งองค์กรภายนอกควบคุมการนำเสนอรายการทีวี ละคร กันเด็กลอกเลียนแบบ
วันนี้ (21 มี.ค.) ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งเรื่อง การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน ว่า การที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน ถือเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักเพราะเป้าหมายแท้จริงของการพัฒนาเด็กเพื่อพัฒนาสังคม และประเทศชาติ ซึ่งการจะพัฒนาเด็กให้เป็นสุดยอดเด็ก (Super Kids) ด้วยบันได 3 ขั้น I am I have I can ก็เป็นเรื่องดีแต่เป็นดาบสองคมที่จะต้องระวังให้ดี เพราะ I can เป็นการให้อิสระในการคิด การทำอะไรบางอย่างโดยเด็กอาจจะลืมคำนึงถึงความรับผิดชอบ ดังนั้นจึงหวังว่าในอนาคตเด็กไทยจะไม่โตขึ้นมาแล้วพูดว่า “ผมโกงได้” “โกหกได้” หรือ “หลอกคนอื่นได้”
“ รัฐบาลยังต้องมีงานทำอีกมากในเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ซึ่งแม้ในภาพรวมจะดูว่ามีการส่งเสริมในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก แต่ในความเป็นจริงยังมีเด็กอีกหนึ่งกลุ่มที่ถูกทิ้งอยู่ข้างหลัง เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเด็กประมาณ 18% ต้องดำเนินชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจน ขาดสารอาหาร ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่ จึงชี้ให้เห็นว่าไทยยังคงล้มเหลวในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพเด็กอีกมาก” นายอานันท์ กล่าว
นายอานันท์ กล่าวอีกว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องเริ่มคิดว่าการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญระดับชาติ เด็กถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าจะละเลยไม่ได้แม้แต่คนเดียว ดังนั้นรัฐบาลจึงมีหน้าที่ที่จะต้องให้เด็กได้มีการโอกาสพัฒนาเต็มตามศักยภาพของทุกคน และสนับสนุนงบประมาณในด้านนี้ให้มาก เพราะผลการวิเคราะห์ของนักวิชาการต่างประเทศระบุว่า การลงทุนกับโครงการพัฒนาเด็กให้ผลประโยชน์สูงกว่าการไปลงทุนในการแก้ปัญหาเด็กในภายหลัง ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็มีบทบาทสำคัญด้วย โดยเฉพาะเด็กในช่วงก่อนเข้าเรียน 5-7 ปี เพราะวัยนี้เป็นช่วงชีวิตที่ควรมีการเรียนรู้เรื่องการสร้างพื้นฐานของการเรียนรู้ต่อไป
“ หากพูดถึงระบบการศึกษาของไทย จะเห็นได้ว่ามีการพูดกันมาหลายปีแล้ว แต่มีสองเรื่องที่ประเทศไทยยังไม่เคยทำอย่างจริงจังคือ การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และคุณภาพของครู ซึ่งหลังจากนี้ครูจะต้องสอนเด็กให้น้อยลง จากเดิมที่ 1 ชั่วโมง ครูจะพูดทั้ง 1 ชั่วโมง เปลี่ยนเป็นสอน 40 นาที และเวลาที่เหลือให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น เหมือนกับในต่างประเทศที่ครูจะพูดน้อย แต่ให้โอกาสเด็กได้พูดให้มาก และต้องหมั่นตั้งคำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ควรจะต้องมีองค์กรภายนอกมาคอยดูแลในการนำเสนอรายการโทรทัศน์ และละครต่างๆ เพราะปัจจุบันละครน้ำเน่ามีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อพ่อแม่ดู เด็กก็จะดูตาม จนทำให้มีการลอกเลียนแบบ และเกิดพฤติกรรมในทางที่ผิด เช่น การตั้งแก๊งฟันน้ำนมที่ขโมยรถ เป็นต้น” นายอานันท์ กล่าว
วันนี้ (21 มี.ค.) ที่ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งเรื่อง การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน ว่า การที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนสู่ประชาคมอาเซียน ถือเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักเพราะเป้าหมายแท้จริงของการพัฒนาเด็กเพื่อพัฒนาสังคม และประเทศชาติ ซึ่งการจะพัฒนาเด็กให้เป็นสุดยอดเด็ก (Super Kids) ด้วยบันได 3 ขั้น I am I have I can ก็เป็นเรื่องดีแต่เป็นดาบสองคมที่จะต้องระวังให้ดี เพราะ I can เป็นการให้อิสระในการคิด การทำอะไรบางอย่างโดยเด็กอาจจะลืมคำนึงถึงความรับผิดชอบ ดังนั้นจึงหวังว่าในอนาคตเด็กไทยจะไม่โตขึ้นมาแล้วพูดว่า “ผมโกงได้” “โกหกได้” หรือ “หลอกคนอื่นได้”
“ รัฐบาลยังต้องมีงานทำอีกมากในเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ซึ่งแม้ในภาพรวมจะดูว่ามีการส่งเสริมในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก แต่ในความเป็นจริงยังมีเด็กอีกหนึ่งกลุ่มที่ถูกทิ้งอยู่ข้างหลัง เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเด็กประมาณ 18% ต้องดำเนินชีวิตต่ำกว่าเส้นความยากจน ขาดสารอาหาร ไม่ได้รับการดูแลจากพ่อแม่ จึงชี้ให้เห็นว่าไทยยังคงล้มเหลวในการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพเด็กอีกมาก” นายอานันท์ กล่าว
นายอานันท์ กล่าวอีกว่า ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องเริ่มคิดว่าการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนเป็นสิ่งสำคัญระดับชาติ เด็กถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าจะละเลยไม่ได้แม้แต่คนเดียว ดังนั้นรัฐบาลจึงมีหน้าที่ที่จะต้องให้เด็กได้มีการโอกาสพัฒนาเต็มตามศักยภาพของทุกคน และสนับสนุนงบประมาณในด้านนี้ให้มาก เพราะผลการวิเคราะห์ของนักวิชาการต่างประเทศระบุว่า การลงทุนกับโครงการพัฒนาเด็กให้ผลประโยชน์สูงกว่าการไปลงทุนในการแก้ปัญหาเด็กในภายหลัง ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็มีบทบาทสำคัญด้วย โดยเฉพาะเด็กในช่วงก่อนเข้าเรียน 5-7 ปี เพราะวัยนี้เป็นช่วงชีวิตที่ควรมีการเรียนรู้เรื่องการสร้างพื้นฐานของการเรียนรู้ต่อไป
“ หากพูดถึงระบบการศึกษาของไทย จะเห็นได้ว่ามีการพูดกันมาหลายปีแล้ว แต่มีสองเรื่องที่ประเทศไทยยังไม่เคยทำอย่างจริงจังคือ การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน และคุณภาพของครู ซึ่งหลังจากนี้ครูจะต้องสอนเด็กให้น้อยลง จากเดิมที่ 1 ชั่วโมง ครูจะพูดทั้ง 1 ชั่วโมง เปลี่ยนเป็นสอน 40 นาที และเวลาที่เหลือให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น เหมือนกับในต่างประเทศที่ครูจะพูดน้อย แต่ให้โอกาสเด็กได้พูดให้มาก และต้องหมั่นตั้งคำถามให้เด็กได้แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ควรจะต้องมีองค์กรภายนอกมาคอยดูแลในการนำเสนอรายการโทรทัศน์ และละครต่างๆ เพราะปัจจุบันละครน้ำเน่ามีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อพ่อแม่ดู เด็กก็จะดูตาม จนทำให้มีการลอกเลียนแบบ และเกิดพฤติกรรมในทางที่ผิด เช่น การตั้งแก๊งฟันน้ำนมที่ขโมยรถ เป็นต้น” นายอานันท์ กล่าว