กรมวิทย์ลุยตรวจเครื่องสำอางภาคตะวันออก พบสารห้ามใช้อื้อ โดยเฉพาะปรอท เตือนต้นเหตุไตอักเสบ-ไตวาย แนะผู้บริโภคตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ เลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณที่มีผิวหนังอักเสบหรือบาดแผล และรอบดวงตา
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังคุณภาพเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทาสิว ฝ้า และผลิตภัณฑ์ทำหน้าขาวใส ในเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 6 ปีงบประมาณ 2555-2556 โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี เพื่อตรวจยืนยันสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผ่านการตรวจเบื้องต้นด้วยชุดทดสอบสาร 3 ชนิด ได้แก่ ไฮโดรควิโนน กรดเรทิโนอิก และปรอทแอมโมเนีย จำนวน 112 ตัวอย่าง ซึ่งผลการตรวจสอบพบสารประกอบปรอท จำนวน 23 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20.5 และสารปรอทแอมโมเนีย จำนวน 32 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 28.5 ทั้งนี้ ไม่พบสารไฮโดรควิโนนหรือกรดเรทิโนอิกในทุกตัวอย่างแสดงให้เห็นว่ามีการลักลอบใส่สารประกอบปรอทในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมากกว่าสารห้ามใช้ชนิดอื่น
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า สารประกอบปรอทจัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 37 พ.ศ.2532 ตามปกติสารประกอบปรอทอาจปนเปื้อนในวัตถุดิบที่ใช้ทำเครื่องสำอางได้ แต่สารปรอทแอมโมเนียเกิดจากการจงใจใส่เข้าไปในเครื่องสำอางเพื่อให้ออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ทำให้สร้างเม็ดสีไม่ได้ ผิวจึงดูขาวขึ้น และยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Staphylococus ป้องกันสิวได้ จึงมักมีผู้ลักลอบใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การใช้สารปรอทแอมโมเนียติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดพิษสะสมในไต เป็นสาเหตุไตอักเสบและส่งผลให้ไตวายได้ในที่สุด
นางสลักจิต ชุติพงษ์วิเวท ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี ยังมีการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยได้ตรวจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชุมชน (OTOP) ที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ แชมพู ครีมนวดผม สบู่ ผงขัดหน้า โลชั่นทาตัว และครีมบำรุงผิวหน้า รวม 43 ตัวอย่าง พบครีมบำรุงผิวหน้าจำนวน 2 ตัวอย่างมีแบคทีเรีย ยีสต์ และราปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ดังนั้น จึงขอเตือนผู้บริโภคควรตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ โดยฉลากต้องระบุรายละเอียดภาษาไทยครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ และที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบริเวณที่มีผิวหนังอักเสบหรือมีสิว บาดแผล และบริเวณรอบดวงตา เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อและอักเสบได้
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังคุณภาพเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทาสิว ฝ้า และผลิตภัณฑ์ทำหน้าขาวใส ในเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 6 ปีงบประมาณ 2555-2556 โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี เพื่อตรวจยืนยันสารห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผ่านการตรวจเบื้องต้นด้วยชุดทดสอบสาร 3 ชนิด ได้แก่ ไฮโดรควิโนน กรดเรทิโนอิก และปรอทแอมโมเนีย จำนวน 112 ตัวอย่าง ซึ่งผลการตรวจสอบพบสารประกอบปรอท จำนวน 23 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20.5 และสารปรอทแอมโมเนีย จำนวน 32 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 28.5 ทั้งนี้ ไม่พบสารไฮโดรควิโนนหรือกรดเรทิโนอิกในทุกตัวอย่างแสดงให้เห็นว่ามีการลักลอบใส่สารประกอบปรอทในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมากกว่าสารห้ามใช้ชนิดอื่น
นพ.นิพนธ์ กล่าวอีกว่า สารประกอบปรอทจัดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 37 พ.ศ.2532 ตามปกติสารประกอบปรอทอาจปนเปื้อนในวัตถุดิบที่ใช้ทำเครื่องสำอางได้ แต่สารปรอทแอมโมเนียเกิดจากการจงใจใส่เข้าไปในเครื่องสำอางเพื่อให้ออกฤทธิ์รบกวนการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ทำให้สร้างเม็ดสีไม่ได้ ผิวจึงดูขาวขึ้น และยังสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Staphylococus ป้องกันสิวได้ จึงมักมีผู้ลักลอบใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การใช้สารปรอทแอมโมเนียติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดพิษสะสมในไต เป็นสาเหตุไตอักเสบและส่งผลให้ไตวายได้ในที่สุด
นางสลักจิต ชุติพงษ์วิเวท ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี ยังมีการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยได้ตรวจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางชุมชน (OTOP) ที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ แชมพู ครีมนวดผม สบู่ ผงขัดหน้า โลชั่นทาตัว และครีมบำรุงผิวหน้า รวม 43 ตัวอย่าง พบครีมบำรุงผิวหน้าจำนวน 2 ตัวอย่างมีแบคทีเรีย ยีสต์ และราปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ดังนั้น จึงขอเตือนผู้บริโภคควรตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ โดยฉลากต้องระบุรายละเอียดภาษาไทยครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบสำคัญ วิธีใช้ และที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบริเวณที่มีผิวหนังอักเสบหรือมีสิว บาดแผล และบริเวณรอบดวงตา เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อและอักเสบได้