เผยยอดรับสมัคร ม.1 ปีการศึกษา 2556 ลดลง พบมีเด็กสมัครซ้ำมากกว่า 1 โรงเรียนถึง 3,400 คน แต่ยังเกินแผนรับหมื่นคน ขณะที่ ม.4 สมัครกว่า 3 หมื่นคน เตรียมอุดมศึกษาโรงเรียนเดียวสมัครกว่า 1 หมื่นคน ยันก่อนสงกรานต์ทุกคนมีที่เรียน
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า โรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2556 ระหว่างวันที่ 14-18 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งการรับสมัครในภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีการร้องเรียนมาที่ศูนย์ประสานงานการรับนักเรียนแต่อย่างใด ส่วนการนำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET มาใช้ในการสมัครนั้น สพฐ.ก็พยายามติดตามและแก้ปัญหาให้ตลอด จนสามารถคลี่คลายปัญหาทุกอย่างลงได้ โดยยอดผู้สมัครเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 1 และ 2 นั้น มีผู้สมัครรวม 56,416 คน แยกเป็นสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีอัตราแข่งขันสูง 40,508 คน โรงเรียนทั่วไป 15,908 คน ขณะที่ โรงเรียนในพื้นที่สามารถรองรับได้ 42,715 คน จึงมีผู้สมัครสูงเกินแผนรับจำนวน 13,701 คน อย่างไรก็ตามในส่วนของ สพม.เขต 2 นั้น จากการตรวจสอบจากระบบออนไลน์ พบว่า มีเด็กสมัครซ้ำมากกว่า 1 โรงเรียน ประมาณ 3,400 คน ดังนั้นจำนวนผู้สมัครที่เกินอยู่จริงๆ น่าจะประมาณ 10,000 คน หรืออาจต่ำกว่านี้ ส่วนระดับชั้น ม.4 มีผู้สมัครรวม 30,308 คน แยกเป็นโรงเรียนที่มีอัตราแข่งขันสูง 12,865 คน โรงเรียนทั่วไป 17,443 คน (รวมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สมัคร 11,381 คน) ส่วนโรงเรียนในพื้นที่สามารถรับนักเรียนทั่วไปได้ 11,205 คน จึงมีผู้สมัครสูงกว่าแผนรับ 19,103 คน แต่ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่สมัครเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 11,381 คน ดังนั้นจะเหลือจำนวนที่เกินจากแผนรับ 7,722 คน
“การรับนักเรียน ม.1 ในปีนั้น พบว่ามีผู้สมัครลดลงจากปีที่ผ่านมา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเพราะจำนวนประชากรที่ลดลง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะช่วยทำให้การจัดหาที่เรียนให้แก่เด็กในรอบที่ 2 ดำเนินการได้ง่ายขึ้น ในส่วนของชั้น ม.4 พบว่าในส่วนของการรับนักเรียนทั่วไป มีเด็กมาสมัครเป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้ปกครองนิยมส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนของ สพฐ.โดยในส่วนนี้คงจะต้องมาดูแล เพื่อให้การจัดสรรที่นั่งเรียนเป็นไปอย่างโปร่งใส และยุติธรรม อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ มีการสอบคัดเลือก ม.1 ในวันที่ 23 มี.ค.ส่วน ม.4 จัดสอบวันที่ 24 มี.ค.และจับสลากของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ วันที่ 31 มี.ค.ทั้งนี้เมื่อมีการประกาศผลการสอบแล้ว หากนักเรียนคนใดยังไม่มีที่เรียนสามารถแสดงความจำนงกับเขตพื้นที่ฯ เพื่อจัดหาที่เรียนให้แก่เด็กต่อไป ซึ่ง สพฐ.จะพยายามดำเนินการจัดสรรที่เรียนรอบ 2 ให้เสร็จก่อนเทศกาลสงกรานต์” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า โรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2556 ระหว่างวันที่ 14-18 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งการรับสมัครในภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ยังไม่มีการร้องเรียนมาที่ศูนย์ประสานงานการรับนักเรียนแต่อย่างใด ส่วนการนำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET มาใช้ในการสมัครนั้น สพฐ.ก็พยายามติดตามและแก้ปัญหาให้ตลอด จนสามารถคลี่คลายปัญหาทุกอย่างลงได้ โดยยอดผู้สมัครเข้าเรียนต่อชั้น ม.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 1 และ 2 นั้น มีผู้สมัครรวม 56,416 คน แยกเป็นสมัครเข้าเรียนในโรงเรียนที่มีอัตราแข่งขันสูง 40,508 คน โรงเรียนทั่วไป 15,908 คน ขณะที่ โรงเรียนในพื้นที่สามารถรองรับได้ 42,715 คน จึงมีผู้สมัครสูงเกินแผนรับจำนวน 13,701 คน อย่างไรก็ตามในส่วนของ สพม.เขต 2 นั้น จากการตรวจสอบจากระบบออนไลน์ พบว่า มีเด็กสมัครซ้ำมากกว่า 1 โรงเรียน ประมาณ 3,400 คน ดังนั้นจำนวนผู้สมัครที่เกินอยู่จริงๆ น่าจะประมาณ 10,000 คน หรืออาจต่ำกว่านี้ ส่วนระดับชั้น ม.4 มีผู้สมัครรวม 30,308 คน แยกเป็นโรงเรียนที่มีอัตราแข่งขันสูง 12,865 คน โรงเรียนทั่วไป 17,443 คน (รวมโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สมัคร 11,381 คน) ส่วนโรงเรียนในพื้นที่สามารถรับนักเรียนทั่วไปได้ 11,205 คน จึงมีผู้สมัครสูงกว่าแผนรับ 19,103 คน แต่ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่สมัครเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา 11,381 คน ดังนั้นจะเหลือจำนวนที่เกินจากแผนรับ 7,722 คน
“การรับนักเรียน ม.1 ในปีนั้น พบว่ามีผู้สมัครลดลงจากปีที่ผ่านมา สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเพราะจำนวนประชากรที่ลดลง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะช่วยทำให้การจัดหาที่เรียนให้แก่เด็กในรอบที่ 2 ดำเนินการได้ง่ายขึ้น ในส่วนของชั้น ม.4 พบว่าในส่วนของการรับนักเรียนทั่วไป มีเด็กมาสมัครเป็นจำนวนมาก ซึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้ปกครองนิยมส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนของ สพฐ.โดยในส่วนนี้คงจะต้องมาดูแล เพื่อให้การจัดสรรที่นั่งเรียนเป็นไปอย่างโปร่งใส และยุติธรรม อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ มีการสอบคัดเลือก ม.1 ในวันที่ 23 มี.ค.ส่วน ม.4 จัดสอบวันที่ 24 มี.ค.และจับสลากของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ วันที่ 31 มี.ค.ทั้งนี้เมื่อมีการประกาศผลการสอบแล้ว หากนักเรียนคนใดยังไม่มีที่เรียนสามารถแสดงความจำนงกับเขตพื้นที่ฯ เพื่อจัดหาที่เรียนให้แก่เด็กต่อไป ซึ่ง สพฐ.จะพยายามดำเนินการจัดสรรที่เรียนรอบ 2 ให้เสร็จก่อนเทศกาลสงกรานต์” นายชินภัทร กล่าว