สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯตั้งวงเสวนา เคลื่อนวัฒนธรรมคนพื้นเมือง สู่สังคม หนุนทุกภาคส่วนร่วมอนุรักษ์ ด้านนักมนุษยวิทยาชาวฮาวายเผยปัญหาใหญ่คนพื้นเมือง ถูกคนสมัยใหม่ ประณามว่า “ป่าเถื่อน” หนุนทั่วโลก เคารพภูมิปัญญาดั้งเดิม
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม. ดร.นฤมล อรุโณทัย กล่าวในเวทีเสวนาเรื่อง “การฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมชนพื้นเมือง-วาระเพื่ออนาคตของเราทั้งมวล ? (Revitalizing indigenous lives and cultures - An agenda for OUR Future?)” ว่า จากปัญหาเรื่องชนชั้นพื้นเมืองที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่อการ โดยในประเทศไทยนั้นถือได้ว่า มีหลายชนพื้นเมืองที่อาจจะล่มสลายทั้งภูมิปัญญา องค์ความรู้และความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ชาวเลในภาคใต้ ชาติพันธุ์พื้นเมืองบนพื้นที่สูงภาคเหนือ ซึ่งถูกกระแสการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมเข้าโจมตีนั้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชนของคนพื้นเมืองเริ่มหายไป ภาคส่วนขององค์กรด้านมนุษยวิทยา สังคมศาสตร์และวัฒนธรรม มีความเป็นห่วงในเรื่องการหายไปของวัฒนธรรมชุมชน จึงได้จัดเวทีเสวนาเพื่อแปลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวางระบบการพัฒนาและการเชื่อมโยงโลกสมัยใหม่ให้เข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อไม่ให้รากเหง้าของชนพื้นเมืองหายไปตามกระแลโลกาภิวัฒน์ เนื่องจากขณะนี้มีปัจจัยหลายด้าน เข้ามาลบล้างวัฒนธรรมเดิม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องทุนนิยม และการแย่งชิงทรัพยกรธรรมชาติ เช่น กรณีชาวเลก็ถูกไล่ที่ ถูกห้ามหากินบนท้องทะเล ที่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสื่อสมัยใหม่ที่พยายามโฆษณาเพื่อจูงใจคนพื้นเมืองให้กลายเป็นทาสแห่งวัตถุนิยมมากขึ้นด้วย
ด้าน ดร.อลิซาเบธ ลินด์ซี นักมนุษยวิทยาชาวฮาวาย และนักสำรวจจากเนชั่นแนลจีโอกราฟิก กล่าวว่า จากการที่ตนได้มีประสบการณ์เดินทางทั่วโลก พบความน่าทึ่งของชนชั้นพื้นเมืองมากมาย เช่น กรณีครูที่มีเชื้อสายโพลินิเซีย อาชีพนักเดินเรือ ชื่อ“ มาว เพีย ลุ” ซึ่งขณะนี้เสียชีวิตแล้ว แต่จำได้แม่นว่า ครูมาวเป็นชายชราที่ถูกนักสำรวจและนักเดินเรือสมัยใหม่มองว่า ป่าเถื่อน เดินทางแบบล่องลอย ไม่มีเครื่องมือทันสมัย แม้แต่แผนที่เดินทาง แต่ตลอดเวลาที่ได้คุยและได้ร่วมเดินทางกับครูทราบว่า ครูอาศัยอยู่ในเกาะซัลทาวา รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีประสบการณ์เดินทางในมหาสุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นมหาสมุทรเปิด รวมระยะทางเดินเรือยาวไกลกว่า 1,000 ไมล์ โดยอาศัยการมองดวงดาว คลื่นทะเล สีเมฆ และสามารถทำนายภูมิอากาศได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าไม่เคยรู้ว่าโลกกลมหรือไม่ แต่การมองสภาพอากาศของครูมาวนั้น แม่นยำทุกครั้ง ภูมิปัญญาเหล่านี้มักถูกคนสมัยใหม่ปฏิเสธ อย่างไรก็ตามขณะนี้ปัญหาในเกาะซัลทาวา รัฐฮาวาย ที่ส่งผลกระทบต่อชนพื้นเมือง คือ การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อก่อสร้าง จนทำให้หมู่เกาะที่สร้างตัวด้วยการสะสมของปะการัง กำลังจะล่มสลายทั้งๆ ที่ชาวโพลินีเซีย เคยรักษาไว้อย่างดี
ดร.อลิซาเบธ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ภัยคุกคามที่น่ากลัวอีกอย่างที่เสี่ยงต่อการทำลายชนชาติพื้นเมือง คือ การต่อต้านภาษา เช่น ในอดีต คนพื้นเมืองฮาวาย ถูกส่วนกลางของรัฐ บัญญัติว่า ห้ามพูดภาษาฮาวายท้องถิ่น หากใครสื่อสารกันด้วยภาษาพื้นเมืองจะถูกเฆี่ยน ตี อย่างรุนแรง จนเกิดเป็นกระแสต่อต้านจากชนชาติฮาวาย ต่อมาจึงเกิดการก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาพื้นเมืองได้ยาวนานกว่า 30 ปีแล้ว สะท้อนว่า การต่อสู้กันในเรื่องความสามัคคี นั้นสำคัญ แต่เราต้องวิจัยความรู้เพื่อนำเสนอว่า ชนชาติพื้นเมืองนั้นมีความสามารถที่น่าอนุรักษ์และเรียนรู้ และต้องรักษาไว้โดยเฉพาะคนพื้นเมืองสูงอายุ ที่หากเสียชีวิต ก็ไม่ต่างอะไรจากห้องสมุดถูกเผา ทั่วโลกจึงควรเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมกับสมัยใหม่ให้เข้ากันมากขึ้น
“นอกจากภูมิปัญญาการทำนายอากาศแล้ว ยังพบด้วยว่า ชนชาติพื้นเมืองหลายกลุ่มมีความเอื้อเฟื้ออย่างงมาก และมีความเป็นปึกแผน ไม่เป็นปัจเจกชน ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งต่างจากคนเมืองในปัจจุบัน เช่น ชนชาติฮาวายที่เดินทางด้วยเรือแคนู พบว่า พวกเขาใช้ชีวิตลำบากท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัด แต่กลับมีการแบ่งปันทรัพยากรที่เป็นธรรม เวลาหิวก็จะหิวพร้อมกัน กินก็พร้อมกัน ซึ่งใช้แนวคิดเรื่องของการแบ่งปันเข้ามาจัดการระบบชุมชนอย่างดี ไม่แบ่งแยก นำมาสู่การตั้งคำถามว่า สิ่งเหล่านี้ หายไปไหนในปัจจุบัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทั่วโลก ควรปลูกฝังเรื่องการรักษาและแบ่งปันประสบการณ์ด้านวัฒนธรรมชนพื้นเมือง
ด้านนางเตือนใจ ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) กล่าวว่า หลายฝ่ายในประเทศไทยเข้าใจตรงกันว่า ภูมิปัญญานั้นสำคัญ สิ่งหนึ่งที่ชี้วัดความเป็นชนพื้นเมืองได้ดี คือ มีการพึ่งพาอาศัยกันสูง รวมทั้งมีจิตสำนึกเรื่องการรักษาทรัพยกร เช่น กรณีชาติพันธุ์หลายกลุ่ม แถวแม่น้ำสาละวิน ในเขตชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน พบว่า มีทั้งปะกากะญอ กะเหรี่ยง ฯลฯ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเคารพธรรมชาติ หลายหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ สร้างบ้านด้วยไม้ไผ่สาน มุงหลังคาด้วยใบตองตึง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามวิถีดั้งเดิม สะท้อนว่าไร้ร่องรอยการทำลายธรรมชาติ แต่กลับรุ่งเรืองและร่ำรวยด้วยทรัพยากรที่เกิดจาการสร้างและรักษา ทุกคนช่วยกันใช้แบบพอเพียง แต่มาตรฐานสังคม กรณีที่สภาพัฒน์ ระบุว่า ผู้ที่ไม่มีหลังคาบ้านที่มีมาตรฐานเพียงพอ ถือว่า ฐานะยากจน กลับผลกไสชนพื้นเมืองให้ต่ำต้อย ขณะที่สื่อและโฆษณาหลายอย่าง รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ ทั้งการสร้างเขื่อน การสร้างท่าเรือน้ำลึก พยายามจะยัดเยียดให้คนพื้นเมืองเห็นการเสพไฟฟ้า การเสพความสะดวกสบายแบบคนเมืองกลับคุกคามวิถีชีวิตคนกลุ่มนี้และกดดันกลุ่มชนให้อยู่ในฐานะระดับล่าง
“การสร้างวัฒนธรรมชุมชนพื้นเมืองที่เข้มแข็ง จึงต้องเริ่มจากการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสผลักดันให้คนรุ่นใหม่ หรือคนเมืองเข้าใจความเป็นชุมชนของคนพื้นเมืองมากขึ้น ไม่ใช่มีการแบ่งแยกชนชั้น และเหยียดสัญชาติ รวมทั้งมีการให้โอกาสเรื่องการขอคืนสัญชาติไทยให้กลุ่มคนเหล่านี้ด้วย เพราะพวกเขาล้วนเป็นคนของสังคมไทยที่มีส่วนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเคารพ โดยกระทรวงวัฒธรรรมควรที่จะส่งเสริมให้มากขึ้น มีงบประมาณการจัดการและแบ่งปันเขตวัฒนธรรมให้คนกลุ่มนี้แสดงออกอย่างเต็มที่ เช่น มติ คณะรัฐมนตรีเรื่องชาวเล ที่มีการตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูชีวิตชาวเล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานก็ถือว่า เป็นสัญญาณที่ดี แต่ควรเร่งให้มีการจัดประชุมวางแผนการแก้ปัญหาจริงจัง ส่วนเรื่องกรณีชาวกะเหรี่ยง ก็มีการประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษขึ้นมา จำเป็นต้องดำเนินการต่อ โดยผลักดันให้คนพื้นเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการวัฒธรรมของตนมากขึ้น ไม่ใช่จัดการโดยคนนอก” นางเตือนใจ กล่าว
นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวัฒธนธรรมแห่งชาติและอดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า สิ่งที่สังคมปัจจุบันต้องการ คือ การส่งเสริมการศึกษานอกห้องเรียน โดยปรับปรุงเรื่องการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้มากขึ้น ซึ่งขณะน้ามหลักสูตรขั้นพื้นฐานของไทยมีแค่ 20 % ที่เน้นเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งที่ในอดีตนั้นเคยมีการเสนอให้บรรจุหลักสูตรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเคยตั้งเป้าหมายมากถึง 40% แต่พบว่าปัจจุบัน มีแค่บางพื้นที่เท่านั้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ส่วนการศึกษาแบบแข่งขันกันในขณะนี้หลายครอบครัว เลือกจะเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเรียนเสริม ทั้งดนตรี ภาษา จากโลกภายนอก ส่วนโรงเรียนทั่วไปก็สอนแค่เรื่องพื้นฐาน แต่ความรู้ในท้องถิ่นไม่มีใครกล่าวถึงอย่างจริงจรัง เช่น ภาษาม้ง เย้า ปะกากะญอ เป็นต้น
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม. ดร.นฤมล อรุโณทัย กล่าวในเวทีเสวนาเรื่อง “การฟื้นฟูชีวิตและวัฒนธรรมชนพื้นเมือง-วาระเพื่ออนาคตของเราทั้งมวล ? (Revitalizing indigenous lives and cultures - An agenda for OUR Future?)” ว่า จากปัญหาเรื่องชนชั้นพื้นเมืองที่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่อการ โดยในประเทศไทยนั้นถือได้ว่า มีหลายชนพื้นเมืองที่อาจจะล่มสลายทั้งภูมิปัญญา องค์ความรู้และความหลากหลายทางวัฒนธรรม เช่น ชาวเลในภาคใต้ ชาติพันธุ์พื้นเมืองบนพื้นที่สูงภาคเหนือ ซึ่งถูกกระแสการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมเข้าโจมตีนั้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิทธิมนุษยชนของคนพื้นเมืองเริ่มหายไป ภาคส่วนขององค์กรด้านมนุษยวิทยา สังคมศาสตร์และวัฒนธรรม มีความเป็นห่วงในเรื่องการหายไปของวัฒนธรรมชุมชน จึงได้จัดเวทีเสวนาเพื่อแปลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวางระบบการพัฒนาและการเชื่อมโยงโลกสมัยใหม่ให้เข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม เพื่อไม่ให้รากเหง้าของชนพื้นเมืองหายไปตามกระแลโลกาภิวัฒน์ เนื่องจากขณะนี้มีปัจจัยหลายด้าน เข้ามาลบล้างวัฒนธรรมเดิม ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องทุนนิยม และการแย่งชิงทรัพยกรธรรมชาติ เช่น กรณีชาวเลก็ถูกไล่ที่ ถูกห้ามหากินบนท้องทะเล ที่เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสื่อสมัยใหม่ที่พยายามโฆษณาเพื่อจูงใจคนพื้นเมืองให้กลายเป็นทาสแห่งวัตถุนิยมมากขึ้นด้วย
ด้าน ดร.อลิซาเบธ ลินด์ซี นักมนุษยวิทยาชาวฮาวาย และนักสำรวจจากเนชั่นแนลจีโอกราฟิก กล่าวว่า จากการที่ตนได้มีประสบการณ์เดินทางทั่วโลก พบความน่าทึ่งของชนชั้นพื้นเมืองมากมาย เช่น กรณีครูที่มีเชื้อสายโพลินิเซีย อาชีพนักเดินเรือ ชื่อ“ มาว เพีย ลุ” ซึ่งขณะนี้เสียชีวิตแล้ว แต่จำได้แม่นว่า ครูมาวเป็นชายชราที่ถูกนักสำรวจและนักเดินเรือสมัยใหม่มองว่า ป่าเถื่อน เดินทางแบบล่องลอย ไม่มีเครื่องมือทันสมัย แม้แต่แผนที่เดินทาง แต่ตลอดเวลาที่ได้คุยและได้ร่วมเดินทางกับครูทราบว่า ครูอาศัยอยู่ในเกาะซัลทาวา รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีประสบการณ์เดินทางในมหาสุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นมหาสมุทรเปิด รวมระยะทางเดินเรือยาวไกลกว่า 1,000 ไมล์ โดยอาศัยการมองดวงดาว คลื่นทะเล สีเมฆ และสามารถทำนายภูมิอากาศได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าไม่เคยรู้ว่าโลกกลมหรือไม่ แต่การมองสภาพอากาศของครูมาวนั้น แม่นยำทุกครั้ง ภูมิปัญญาเหล่านี้มักถูกคนสมัยใหม่ปฏิเสธ อย่างไรก็ตามขณะนี้ปัญหาในเกาะซัลทาวา รัฐฮาวาย ที่ส่งผลกระทบต่อชนพื้นเมือง คือ การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อก่อสร้าง จนทำให้หมู่เกาะที่สร้างตัวด้วยการสะสมของปะการัง กำลังจะล่มสลายทั้งๆ ที่ชาวโพลินีเซีย เคยรักษาไว้อย่างดี
ดร.อลิซาเบธ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ภัยคุกคามที่น่ากลัวอีกอย่างที่เสี่ยงต่อการทำลายชนชาติพื้นเมือง คือ การต่อต้านภาษา เช่น ในอดีต คนพื้นเมืองฮาวาย ถูกส่วนกลางของรัฐ บัญญัติว่า ห้ามพูดภาษาฮาวายท้องถิ่น หากใครสื่อสารกันด้วยภาษาพื้นเมืองจะถูกเฆี่ยน ตี อย่างรุนแรง จนเกิดเป็นกระแสต่อต้านจากชนชาติฮาวาย ต่อมาจึงเกิดการก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาพื้นเมืองได้ยาวนานกว่า 30 ปีแล้ว สะท้อนว่า การต่อสู้กันในเรื่องความสามัคคี นั้นสำคัญ แต่เราต้องวิจัยความรู้เพื่อนำเสนอว่า ชนชาติพื้นเมืองนั้นมีความสามารถที่น่าอนุรักษ์และเรียนรู้ และต้องรักษาไว้โดยเฉพาะคนพื้นเมืองสูงอายุ ที่หากเสียชีวิต ก็ไม่ต่างอะไรจากห้องสมุดถูกเผา ทั่วโลกจึงควรเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมดั้งเดิมกับสมัยใหม่ให้เข้ากันมากขึ้น
“นอกจากภูมิปัญญาการทำนายอากาศแล้ว ยังพบด้วยว่า ชนชาติพื้นเมืองหลายกลุ่มมีความเอื้อเฟื้ออย่างงมาก และมีความเป็นปึกแผน ไม่เป็นปัจเจกชน ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งต่างจากคนเมืองในปัจจุบัน เช่น ชนชาติฮาวายที่เดินทางด้วยเรือแคนู พบว่า พวกเขาใช้ชีวิตลำบากท่ามกลางทรัพยากรที่จำกัด แต่กลับมีการแบ่งปันทรัพยากรที่เป็นธรรม เวลาหิวก็จะหิวพร้อมกัน กินก็พร้อมกัน ซึ่งใช้แนวคิดเรื่องของการแบ่งปันเข้ามาจัดการระบบชุมชนอย่างดี ไม่แบ่งแยก นำมาสู่การตั้งคำถามว่า สิ่งเหล่านี้ หายไปไหนในปัจจุบัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทั่วโลก ควรปลูกฝังเรื่องการรักษาและแบ่งปันประสบการณ์ด้านวัฒนธรรมชนพื้นเมือง
ด้านนางเตือนใจ ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) กล่าวว่า หลายฝ่ายในประเทศไทยเข้าใจตรงกันว่า ภูมิปัญญานั้นสำคัญ สิ่งหนึ่งที่ชี้วัดความเป็นชนพื้นเมืองได้ดี คือ มีการพึ่งพาอาศัยกันสูง รวมทั้งมีจิตสำนึกเรื่องการรักษาทรัพยกร เช่น กรณีชาติพันธุ์หลายกลุ่ม แถวแม่น้ำสาละวิน ในเขตชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน พบว่า มีทั้งปะกากะญอ กะเหรี่ยง ฯลฯ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเคารพธรรมชาติ หลายหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ สร้างบ้านด้วยไม้ไผ่สาน มุงหลังคาด้วยใบตองตึง ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามวิถีดั้งเดิม สะท้อนว่าไร้ร่องรอยการทำลายธรรมชาติ แต่กลับรุ่งเรืองและร่ำรวยด้วยทรัพยากรที่เกิดจาการสร้างและรักษา ทุกคนช่วยกันใช้แบบพอเพียง แต่มาตรฐานสังคม กรณีที่สภาพัฒน์ ระบุว่า ผู้ที่ไม่มีหลังคาบ้านที่มีมาตรฐานเพียงพอ ถือว่า ฐานะยากจน กลับผลกไสชนพื้นเมืองให้ต่ำต้อย ขณะที่สื่อและโฆษณาหลายอย่าง รวมทั้งโครงการขนาดใหญ่ ทั้งการสร้างเขื่อน การสร้างท่าเรือน้ำลึก พยายามจะยัดเยียดให้คนพื้นเมืองเห็นการเสพไฟฟ้า การเสพความสะดวกสบายแบบคนเมืองกลับคุกคามวิถีชีวิตคนกลุ่มนี้และกดดันกลุ่มชนให้อยู่ในฐานะระดับล่าง
“การสร้างวัฒนธรรมชุมชนพื้นเมืองที่เข้มแข็ง จึงต้องเริ่มจากการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสผลักดันให้คนรุ่นใหม่ หรือคนเมืองเข้าใจความเป็นชุมชนของคนพื้นเมืองมากขึ้น ไม่ใช่มีการแบ่งแยกชนชั้น และเหยียดสัญชาติ รวมทั้งมีการให้โอกาสเรื่องการขอคืนสัญชาติไทยให้กลุ่มคนเหล่านี้ด้วย เพราะพวกเขาล้วนเป็นคนของสังคมไทยที่มีส่วนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเคารพ โดยกระทรวงวัฒธรรรมควรที่จะส่งเสริมให้มากขึ้น มีงบประมาณการจัดการและแบ่งปันเขตวัฒนธรรมให้คนกลุ่มนี้แสดงออกอย่างเต็มที่ เช่น มติ คณะรัฐมนตรีเรื่องชาวเล ที่มีการตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูชีวิตชาวเล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธานก็ถือว่า เป็นสัญญาณที่ดี แต่ควรเร่งให้มีการจัดประชุมวางแผนการแก้ปัญหาจริงจัง ส่วนเรื่องกรณีชาวกะเหรี่ยง ก็มีการประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษขึ้นมา จำเป็นต้องดำเนินการต่อ โดยผลักดันให้คนพื้นเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการวัฒธรรมของตนมากขึ้น ไม่ใช่จัดการโดยคนนอก” นางเตือนใจ กล่าว
นางสาวิตรี สุวรรณสถิตย์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการวัฒธนธรรมแห่งชาติและอดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า สิ่งที่สังคมปัจจุบันต้องการ คือ การส่งเสริมการศึกษานอกห้องเรียน โดยปรับปรุงเรื่องการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้มากขึ้น ซึ่งขณะน้ามหลักสูตรขั้นพื้นฐานของไทยมีแค่ 20 % ที่เน้นเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งที่ในอดีตนั้นเคยมีการเสนอให้บรรจุหลักสูตรวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเคยตั้งเป้าหมายมากถึง 40% แต่พบว่าปัจจุบัน มีแค่บางพื้นที่เท่านั้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชน ส่วนการศึกษาแบบแข่งขันกันในขณะนี้หลายครอบครัว เลือกจะเสียค่าใช้จ่ายเพื่อเรียนเสริม ทั้งดนตรี ภาษา จากโลกภายนอก ส่วนโรงเรียนทั่วไปก็สอนแค่เรื่องพื้นฐาน แต่ความรู้ในท้องถิ่นไม่มีใครกล่าวถึงอย่างจริงจรัง เช่น ภาษาม้ง เย้า ปะกากะญอ เป็นต้น