สถาบันวัคซีนฯเปิดหลักสูตรอบรมเจ้าหน้าที่ให้บริการฉีดวัคซีน หลังพบขาดการถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างมีมาตรฐาน เสี่ยงขาดประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันโรค
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การให้บริการวัคซีนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับประชาชน แต่ประเทศไทยยังมีปัญหาด้านมาตรฐานของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการให้บริการวัคซีนที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการหลายด้าน เช่น ไม่ทราบข้อกำหนดในการให้วัคซีนแต่ละชนิด การนับระยะห่างระหว่างเข็มไม่ถูกต้อง ไม่มีการจัดทำทะเบียนติดตามผู้รับบริการ ไม่ใส่ใจในการดูแลรักษาคุณภาพของวัคซีน บันทึกอุณหภูมิตู้เย็นไม่ต่อเนื่อง ขาดคู่มือ กลัวความไม่ปลอดภัยจากสถานการณ์ ฯลฯ อีกทั้งประเทศไทยยังขาดแคลนวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ด้านวัคซีนให้แก่เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติตามพื้นที่ต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงเพราะถ้ามีวัคซีนแล้ว แต่การนำไปสู่ผู้รับไม่ถูกต้องตามมาตรฐานจะทำให้การควบคุมป้องกันโรคขาดประสิทธิภาพ และจะกระทบต่อคุณภาพของการให้บริการวัคซีนในกลุ่มเป้าหมาย และกระทบต่อแผนงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศด้วย แม้หน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดอบรมให้ความรู้แต่ยังไม่สามารถครอบคลุมบุคลากรในระบบการให้บริการวัคซีนในทุกระดับอย่างเพียงพอ
นพ.จรุง กล่าวต่อว่า เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในผู้ให้บริการวัคซีน ทั้งแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุข ควรต้องมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถให้บริการวัคซีนได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด ให้การใช้วัคซีนเกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงได้จัดการอบรม “หลักสูตรเชิงปฏิบัติการการเป็นวิทยากรสำหรับเจ้าหน้าที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” ขึ้นเป็นครั้งแรกและรุ่นแรกของประเทศไทย เป็นหลักสูตรการสร้างวิทยากรรุ่นใหม่ที่ได้มาตรฐานสากล และสถาบันวัคซีนแห่งชาติให้การรับรองว่าผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการสามารถนำไปใช้ในการให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้องมีมาตรฐานตามหลักสาธารณสุข
ทั้งนี้การจัดอบรมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อปลายเดือนมกราคม 2556 ที่ผ่านมา โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานด้านวัคซีนจัดทำเป็นหลักสูตร 5 วัน และมีการกำหนดประเด็นสำคัญต่างๆไว้ในหลักสูตรด้วย เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การจัดทำรายงาน การระวังอาการข้างเคียงจากวัคซีน วัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น ฯลฯ นับเป็นหลักสูตรเชิงบริการที่ร้อยเรียงเนื้อหาความรู้ขั้นพื้นฐานที่ผู้ให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคควรต้องรับรู้ รับทราบ โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆทั้งหน่วยงานการศึกษา มหาวิทยาลัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วประเทศเข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น 34 คน
“หากเจ้าหน้าที่ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ จะสามารถปฏิบัติงานให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง จะช่วยลดปัญหาการเกิดอาการข้างเคียง และสร้างความมั่นใจว่าการให้วัคซีนมีความปลอดภัย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค ไม่ให้เกิดโรค นอกจากนี้ยังเป็นการรวบรวมหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสากลให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำบทเรียนที่ได้ไปถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานที่ตนสังกัดหรือเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้” นพ.จรุง กล่าว
ด้าน ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายด้านวัคซีน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวเสริมว่า ผู้ที่เข้ารับการอบรมทั้งหมดจะได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวัคซีน และเทคนิคต่างๆ ในการบริหารจัดการและการให้บริการวัคซีนโดยเฉพาะวัคซีนจำเป็นพื้นฐาน 10 โรค ได้แก่ วัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ตับอักเสบบี และไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งการอบรมนี้จะต้องเข้มข้นทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการถ่ายทอดความรู้ เพราะผู้เข้าอบรมจะเป็นวิทยากรรุ่นใหม่ที่นำความรู้เหล่านี้ไปเผยแพร่กับกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการวัคซีนทั่วประเทศต่อไป ระหว่างการอบรมได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมซักถามข้อสงสัย และให้ข้อคิดเห็นสำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาหลักสูตรต่อไป โดยภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมจะมีการมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติ คือคะแนนทดสอบก่อน-หลังการอบรม และคะแนนสาธิตการสอน สถาบันวัคซีนแห่งชาติจะ นำรายชื่อผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรขึ้นทะเบียนไว้เป็นเครือข่ายบุคลากรด้านวัคซีนที่มีศักยภาพในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริการวัคซีนให้แก่หน่วยงานผู้รับผิดชอบต่อไป
“ทั้งนี้การเตรียมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ให้บริการวัคซีนทั้งการซักประวัติ การสังเกตอาการสำคัญของผู้รับบริการก่อนให้วัคซีน การเตรียมวัคซีนและเทคนิควิธีการให้วัคซีนอย่างถูกต้อง ตลอดจนการสังเกตความผิดปกติหลังการรับวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ให้บริการวัคซีนต้องทราบถึง เพื่อการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการป้องกันโรค” ดร.อัญชลี กล่าว
นางสุภาณี โมรา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี หนึ่งในผู้ผ่านการอบรมฯกล่าวว่า อุปสรรคในการทำงานที่ผ่านมา ก็คือความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในการให้วัคซีนยังไม่ชัดเจนแต่หลังเข้ารับการอบรมทำให้เข้าใจงานการให้บริการวัคซีนมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้ทราบถึงวิธีการใช้และให้บริการวัคซีนอย่างถูกต้อง เช่น วิธีการฉีด การสังเกตปริมาณวัคซีน การเก็บรักษา การประมาณการณ์วัคซีนที่ต้องใช้ในแต่ละชนิด อัตราการสูญเสีย ซึ่งเดิมไม่เคยได้ทำมาก่อนหรืออาจทำไม่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ จึงอยากให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติพิจารณาจัดการอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานในระดับสถานีอนามัยด้วย เพราะกลุ่มผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากยังไม่ทราบถึงหลักการที่ถูกต้องในการให้บริการวัคซีน และในตอนนี้ทางสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีได้วางแผนที่จะทำการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการอบรมส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป
นพ.จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า การให้บริการวัคซีนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับประชาชน แต่ประเทศไทยยังมีปัญหาด้านมาตรฐานของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการวัคซีน เนื่องจากส่วนใหญ่ยังไม่เคยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการให้บริการวัคซีนที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการหลายด้าน เช่น ไม่ทราบข้อกำหนดในการให้วัคซีนแต่ละชนิด การนับระยะห่างระหว่างเข็มไม่ถูกต้อง ไม่มีการจัดทำทะเบียนติดตามผู้รับบริการ ไม่ใส่ใจในการดูแลรักษาคุณภาพของวัคซีน บันทึกอุณหภูมิตู้เย็นไม่ต่อเนื่อง ขาดคู่มือ กลัวความไม่ปลอดภัยจากสถานการณ์ ฯลฯ อีกทั้งประเทศไทยยังขาดแคลนวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ด้านวัคซีนให้แก่เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติตามพื้นที่ต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงเพราะถ้ามีวัคซีนแล้ว แต่การนำไปสู่ผู้รับไม่ถูกต้องตามมาตรฐานจะทำให้การควบคุมป้องกันโรคขาดประสิทธิภาพ และจะกระทบต่อคุณภาพของการให้บริการวัคซีนในกลุ่มเป้าหมาย และกระทบต่อแผนงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศด้วย แม้หน่วยงานภาครัฐจะมีการจัดอบรมให้ความรู้แต่ยังไม่สามารถครอบคลุมบุคลากรในระบบการให้บริการวัคซีนในทุกระดับอย่างเพียงพอ
นพ.จรุง กล่าวต่อว่า เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในผู้ให้บริการวัคซีน ทั้งแพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุข ควรต้องมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถให้บริการวัคซีนได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนด ให้การใช้วัคซีนเกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรด้านวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงได้จัดการอบรม “หลักสูตรเชิงปฏิบัติการการเป็นวิทยากรสำหรับเจ้าหน้าที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค” ขึ้นเป็นครั้งแรกและรุ่นแรกของประเทศไทย เป็นหลักสูตรการสร้างวิทยากรรุ่นใหม่ที่ได้มาตรฐานสากล และสถาบันวัคซีนแห่งชาติให้การรับรองว่าผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการสามารถนำไปใช้ในการให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้องมีมาตรฐานตามหลักสาธารณสุข
ทั้งนี้การจัดอบรมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อปลายเดือนมกราคม 2556 ที่ผ่านมา โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานด้านวัคซีนจัดทำเป็นหลักสูตร 5 วัน และมีการกำหนดประเด็นสำคัญต่างๆไว้ในหลักสูตรด้วย เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การจัดทำรายงาน การระวังอาการข้างเคียงจากวัคซีน วัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น ฯลฯ นับเป็นหลักสูตรเชิงบริการที่ร้อยเรียงเนื้อหาความรู้ขั้นพื้นฐานที่ผู้ให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคควรต้องรับรู้ รับทราบ โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆทั้งหน่วยงานการศึกษา มหาวิทยาลัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วประเทศเข้ารับการอบรมรวมทั้งสิ้น 34 คน
“หากเจ้าหน้าที่ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ จะสามารถปฏิบัติงานให้บริการวัคซีนแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง จะช่วยลดปัญหาการเกิดอาการข้างเคียง และสร้างความมั่นใจว่าการให้วัคซีนมีความปลอดภัย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค ไม่ให้เกิดโรค นอกจากนี้ยังเป็นการรวบรวมหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานสากลให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถนำบทเรียนที่ได้ไปถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานที่ตนสังกัดหรือเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องได้” นพ.จรุง กล่าว
ด้าน ดร.อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายด้านวัคซีน สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวเสริมว่า ผู้ที่เข้ารับการอบรมทั้งหมดจะได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวัคซีน และเทคนิคต่างๆ ในการบริหารจัดการและการให้บริการวัคซีนโดยเฉพาะวัคซีนจำเป็นพื้นฐาน 10 โรค ได้แก่ วัณโรค คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ หัด หัดเยอรมัน คางทูม ตับอักเสบบี และไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งการอบรมนี้จะต้องเข้มข้นทั้งด้านเนื้อหาและกระบวนการถ่ายทอดความรู้ เพราะผู้เข้าอบรมจะเป็นวิทยากรรุ่นใหม่ที่นำความรู้เหล่านี้ไปเผยแพร่กับกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการวัคซีนทั่วประเทศต่อไป ระหว่างการอบรมได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมซักถามข้อสงสัย และให้ข้อคิดเห็นสำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาหลักสูตรต่อไป โดยภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมจะมีการมอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติ คือคะแนนทดสอบก่อน-หลังการอบรม และคะแนนสาธิตการสอน สถาบันวัคซีนแห่งชาติจะ นำรายชื่อผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรขึ้นทะเบียนไว้เป็นเครือข่ายบุคลากรด้านวัคซีนที่มีศักยภาพในการเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริการวัคซีนให้แก่หน่วยงานผู้รับผิดชอบต่อไป
“ทั้งนี้การเตรียมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ให้บริการวัคซีนทั้งการซักประวัติ การสังเกตอาการสำคัญของผู้รับบริการก่อนให้วัคซีน การเตรียมวัคซีนและเทคนิควิธีการให้วัคซีนอย่างถูกต้อง ตลอดจนการสังเกตความผิดปกติหลังการรับวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ให้บริการวัคซีนต้องทราบถึง เพื่อการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในการป้องกันโรค” ดร.อัญชลี กล่าว
นางสุภาณี โมรา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี หนึ่งในผู้ผ่านการอบรมฯกล่าวว่า อุปสรรคในการทำงานที่ผ่านมา ก็คือความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปฏิบัติในการให้วัคซีนยังไม่ชัดเจนแต่หลังเข้ารับการอบรมทำให้เข้าใจงานการให้บริการวัคซีนมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้ทราบถึงวิธีการใช้และให้บริการวัคซีนอย่างถูกต้อง เช่น วิธีการฉีด การสังเกตปริมาณวัคซีน การเก็บรักษา การประมาณการณ์วัคซีนที่ต้องใช้ในแต่ละชนิด อัตราการสูญเสีย ซึ่งเดิมไม่เคยได้ทำมาก่อนหรืออาจทำไม่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติ จึงอยากให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติพิจารณาจัดการอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานในระดับสถานีอนามัยด้วย เพราะกลุ่มผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากยังไม่ทราบถึงหลักการที่ถูกต้องในการให้บริการวัคซีน และในตอนนี้ทางสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีได้วางแผนที่จะทำการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการอบรมส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป