คนไทยสูดบุหรี่มือสองจากตลาดสดมากสุด 68.8% ที่ทำงาน 30.5% กรมอนามัยจับมือกรมควบคุมโรคและเครือข่ายปลอดบุหรี่ ส่งเสริมทุกสถานพยาบาลควบคุมการบริโภคยาสูบ หวังบุคลากรและผู้มารับบริการมีชีวิตที่ดีขึ้น เผยครบ 61 ปีกรมอนามัยเล็งดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ วัยรุ่น และเออีซีเพิ่มเติม
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ในการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบ ว่า จากสถิติของสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค พบคนไทยมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยมีผู้สูบบุหรี่รวม 13 ล้านคน เป็นผู้ชายร้อยละ 46.6 ผู้หญิงร้อยละ 2.6 โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.1 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.7 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจยังพบว่ามีคนไทยที่สูดควันบุหรี่มือสองในตลาดสดหรือตลาดนัดมากที่สุดร้อยละ 68.8 ในบ้านร้อยละ 36 และในที่ทำงานร้อยละ 30.5 ดังนั้น โรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพทุกระดับ ซึ่งเป็นสถานที่แบบอย่างของการส่งเสริมสุขภาพ (Healthy Workplace) ที่สร้างและควบคุมไม่ให้เกิดสภาวะที่มีผลอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่ปฏิบัติงานและผู้มารับบริการ โดยเฉพาะจากควันบุหรี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะควันบุหรี่มีผลเสียต่อผู้สูบและผู้ไม่สูบ ทำให้เกิดมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ และโรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
“ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการแสดงพลังภาคีเครือข่าย ในการขับเคลื่อนการทำงาน และกลไกการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค โดยส่งเสริมให้ทุกสถานพยาบาลเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมายควบคุมยาสูบ โดยมีกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน และการเฝ้าระวัง รวมทั้งการบำบัดรักษาผู้ที่ติดสารนิโคตินให้เป็นไปตามแนวทางของเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ เพื่อให้โรงพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขเป็นองค์กรและบุคลากรต้นแบบในการเลิกสูบบุหรี่ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้มารับบริการและประชาชนทั่วไป” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า สำหรับวันที่ 12 มี.ค.นี้ ถือเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมอนามัยครบ 61 ปี ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ รวมทั้งการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยในอนาคตจะมีการดำเนินการและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพด้านต่างๆ เพิ่มเติม คือ 1.การผลักดันอำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว รองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งกลุ่มที่พึ่งตนเองได้เพื่อชะลอการเกิดโรคเรื้อรัง และกลุ่มที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นให้ได้รับการดูแลรักษาโรคและลดภาวะแทรกซ้อน 2.การเฝ้าระวังปัญหาท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น ให้โรงพยาบาลมีคลินิกวัยรุ่นที่เป็นมิตร ประสานกับสถาบันการศึกษาสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอนามัยการเจริญพันธุ์แก่วัยรุ่น และ 3.การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) ทั้งการจัดทำมาตรการส่งเสริมครัวไทยเป็นครัวโลก ดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย ผ่านมาตรฐานร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย รวมไปถึงตลาดสด น่าซื้อ ตลาดนัด น่าซื้อ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังพัฒนาส้วมสาธารณะให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อส่งเสริมสนับสนุนโรงพยาบาล/สถานพยาบาล ในการดำเนินงานควบคุมการบริโภคยาสูบ ว่า จากสถิติของสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค พบคนไทยมีแนวโน้มสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยมีผู้สูบบุหรี่รวม 13 ล้านคน เป็นผู้ชายร้อยละ 46.6 ผู้หญิงร้อยละ 2.6 โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.1 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.7 ล้านคน ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจยังพบว่ามีคนไทยที่สูดควันบุหรี่มือสองในตลาดสดหรือตลาดนัดมากที่สุดร้อยละ 68.8 ในบ้านร้อยละ 36 และในที่ทำงานร้อยละ 30.5 ดังนั้น โรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพทุกระดับ ซึ่งเป็นสถานที่แบบอย่างของการส่งเสริมสุขภาพ (Healthy Workplace) ที่สร้างและควบคุมไม่ให้เกิดสภาวะที่มีผลอันตรายต่อสุขภาพของผู้ที่ปฏิบัติงานและผู้มารับบริการ โดยเฉพาะจากควันบุหรี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะควันบุหรี่มีผลเสียต่อผู้สูบและผู้ไม่สูบ ทำให้เกิดมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด หัวใจตีบ และโรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
“ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการแสดงพลังภาคีเครือข่าย ในการขับเคลื่อนการทำงาน และกลไกการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมอนามัยและกรมควบคุมโรค โดยส่งเสริมให้ทุกสถานพยาบาลเป็นเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมายควบคุมยาสูบ โดยมีกระบวนการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน และการเฝ้าระวัง รวมทั้งการบำบัดรักษาผู้ที่ติดสารนิโคตินให้เป็นไปตามแนวทางของเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ เพื่อให้โรงพยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขเป็นองค์กรและบุคลากรต้นแบบในการเลิกสูบบุหรี่ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อผู้มารับบริการและประชาชนทั่วไป” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.เจษฎา กล่าวอีกว่า สำหรับวันที่ 12 มี.ค.นี้ ถือเป็นวันคล้ายวันสถาปนากรมอนามัยครบ 61 ปี ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ รวมทั้งการเฝ้าระวังด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยในอนาคตจะมีการดำเนินการและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพด้านต่างๆ เพิ่มเติม คือ 1.การผลักดันอำเภอสุขภาพดี 80 ปียังแจ๋ว รองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งกลุ่มที่พึ่งตนเองได้เพื่อชะลอการเกิดโรคเรื้อรัง และกลุ่มที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นให้ได้รับการดูแลรักษาโรคและลดภาวะแทรกซ้อน 2.การเฝ้าระวังปัญหาท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น ให้โรงพยาบาลมีคลินิกวัยรุ่นที่เป็นมิตร ประสานกับสถาบันการศึกษาสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอนามัยการเจริญพันธุ์แก่วัยรุ่น และ 3.การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (เออีซี) ทั้งการจัดทำมาตรการส่งเสริมครัวไทยเป็นครัวโลก ดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย ผ่านมาตรฐานร้านอาหารสะอาด รสชาติอร่อย รวมไปถึงตลาดสด น่าซื้อ ตลาดนัด น่าซื้อ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังพัฒนาส้วมสาธารณะให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ