ห่วง! วัยรุ่นฮิตแฟชั่นศัลยกรรมร้อยไหม เชื่อยิ่งร้อยเยอะยิ่งสวยใส เต่งตึง แพทย์ชี้อาจเกิดพังผืดจนผิวหน้ายุบผิดรูปได้ แฉมีการใช้ไหมทองในการร้อย ย้ำผิดกฎหมาย ไม่ผ่านการรับรองจาก อย.เล็งปรับเช็กลิสต์ MRI เจาะจงเคยทำไหมทองหรือไม่ สกัดโอกาสพลาดเข้าเครื่องจนหน้าเบิร์นหมดสวย!
นพ.สว่าง อัมพรพันธ์ กรรมการผู้จัดการดอกเตอร์ ยังเกอร์ คลินิก เปิดเผยว่า การทำศัลยกรรมด้วยวิธีการร้อยไหมมุ่งเน้นช่วยแก้ปัญหาการหย่อนคล้อยของใบหน้า ด้วยการยกกระชับผิวให้เต่งตึง แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ การร้อยไหมกลายเป็นกระแสหรือแฟชั่นโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ที่น่าเป็นห่วงคือมีความเชื่อว่ายิ่งร้อยมากยิ่งช่วยให้ผิวใส เต่งตึง และกระชับ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ใบหน้า ก่อให้เกิดการทำร้ายเนื้อเยื่อในชั้นผิวหนัง ทำให้เกิดแผลเป็นและพังผืด ซึ่งหากมีจำนวนมากอาจดึงรั้งผิวจนหน้าบุบหรือผิดรูปได้
“วัยรุ่นนิยมร้อยไหมละลายแบบไม่มีเขี้ยว ซึ่งหลักการสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้ผิวเต่งตึงหรือใสขึ้นได้ แต่ความเป็นจริงแล้วมีอีกหลายวิธีที่ช่วยให้ผิวใสโดยไม่ต้องนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ทั้งเลเซอร์ การทาครีมต่างเพื่อผลัดเซลล์ผิวหรือกันแดด ซึ่งปลอดภัยกว่า และที่น่าเป็นห่วงคือค่านิยมยิ่งร้อยเยอะยิ่งดี หากไปเจอสถานบริการที่ไม่มีจรรยาบรรณ นอกจากจะสิ้นเปลืองแล้ว ยังเสี่ยงปัยหาใบหน้าผิดรูปด้วย” นพ.สว่าง กล่าว
นพ.สว่าง กล่าวอีกว่า ไหมแบบไม่มีเขี้ยวไม่สามารถช่วยเรื่องยกกระชับได้ หากทำกับแพทย์ที่ไม่มีความรู้เรื่องการดีไซน์โครงสร้างใบหน้าก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาใบหน้าผิดรูป ผู้ที่ต้องการยกกระชับใบหน้าจริงๆ ควรเลือกใช้ไหมละลายแบบมีเขี้ยวมากกว่า ซึ่งการรักษาจะใช้ไหมมีเขี้ยวเกี่ยวชั้นใต้ผิวหนังและดึงขึ้นเพื่อล็อกเนื้อเยื่อ โดยใช้ปริมาณเต็มที่ไม่เกิน 10 เส้นก็สามารถปรับโครงสร้างใบหน้าได้ โดยไหมจะละลายในครึ่งปี ทำให้สามารถกลับมาทำซ้ำได้ ซึ่งตลอดเวลา 15 ปีที่มีการใช้ไหมแบบมีเขี้ยวในไทย ยังไม่พบปัญหาใดๆ ถือว่ามีความปลอดภัยระดับหนึ่ง
นพ.สว่าง กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ที่ต้องการร้อยไหมขอแนะนำให้สำรวจตัวเองว่า ผิวหน้ามีปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการร้อยไหมหรือไม่ เช่น วัยขึ้นเลขหลัก 3 ใบหน้าหย่อน ตก ไม่แน่นกระชับ และต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษา แต่ไม่ควรปรึกษาเพียงท่านเดียว ต้องมีการศึกษาข้อมูลความน่าเชื่อถือของแพทย์ด้วย โดยอาจดูจากใบประกาศนียบัตรการอบรม ซึ่งหากเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงจะเข้าใจปัญหาและจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนแก่คนไข้ เพื่อให้คนไข้เลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการร้อยไหมก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีการนำไหมทองมาใช้ในการร้อยไหมด้วย ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะไหมทองเป็นผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้ ยังมีราคาแพง มุ่งหวังผลทางการตลาดแต่ไม่หวังผลทางการรักษา ที่สำคัญถือเป็นโลหะทำให้เวลาตรวจร่างกายไม่สามารถเข้าเครื่อง MRI ในการตรวจรักษาโรคได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการรักษา
พญ.วิไล ธนสารอักษร อาจารย์พิเศษหน่วยโรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า ผู้ที่ร้อยไหมทองไม่สามารถเข้าเครื่อง MRI ได้ เนื่องจากทองถือเป็นโลหะ ซึ่งปกติการเข้าตรวจด้วยเครื่อง MRI ต้องถอดโลหะออกจากตัวทั้งหมด ถ้าไม่เอาออกเครื่องจะ Eject แต่สำหรับกรณีไหมทองหากผู้ป่วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่บอกแพทย์ว่าเคยร้อยไหมทองมาก่อน เมื่อเข้าเครื่อง MRI แล้ว อาจเกิดกรณีรังสีแม่เหล็กวิ่งเข้าสู่ทองซึ่งเป็นโลหะ ทำให้เกิดความร้อนจนไหม้ผิวที่อยู่ข้างในจนเกิดเป็นแผลเป็นและพังผืด หน้าก็จะหดรั้งลงมา รูปหน้าเปลี่ยน ตก หรือบุบลงไป ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
“ขณะนี้ได้มีการพูดคุยกับหมอเอกซ์เรย์ในกลุ่มโรงเรียนแพทย์แล้วว่า ควรมีการเพิ่มเช็กลิสต์โลหะก่อนเข้าเครื่อง MRI ด้วยการระบุเฉพาะเจาะจงเลยว่า เคยผ่านการทำร้อยไหมทองมาหรือไม่ เพื่อช่วยกระตุ้นความจำของผู้ป่วยบางรายที่เคยทำมาแต่อาจลืมไป หรือคิดไม่ถึงว่าทองถือเป็นโลหะอย่างหนึ่ง ซึ่งอนาคตการเพิ่มเช็กลิสต์นี้จะให้ใช้เป็นมาตรฐานทุกแห่ง ทั้งศูนย์เอกซ์เรย์ และโรงพยาบาลเอกชน” พญ.วิไล กล่าว
พญ.วิไล กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาเคยมีเคสผู้ร้อยไหมทองจากคลินิกหนึ่ง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปการยกกระชับให้ผลได้ไม่ดีเท่าเดิม ก็เปลี่ยนคลินิกใหม่โดยคลินิกที่สองไม่ทราบมาก่อนว่าเคยผ่านการร้อยไหมทองมาจึงให้ทำเลเซอร์ ส่งผลให้ทองละลายออกที่ใบหน้า และเสียแนวดึงรั้งจนใบหน้าหย่อนกว่าเดิมและผิดรูปจนต้องซ่อมรูปหน้าใหม่ จึงขอเตือนคนที่คิดจะทำให้พิจารณาความจำเป็น เพราะเมื่อเจ็บป่วยจำเป็นต้องใช้เครื่อง MRI ก็ไม่สามารถใช้ได้ และเมื่อจะทำอะไรที่หน้าต้องเจอกับเครื่องมือให้ความร้อนก็ต้องแจ้งทุกครั้งว่าตนทำไหมทองมาแล้ว
พญ.วิไล กล่าวด้วยว่า การร้อยไหมทองไม่สามารถแก้ไขหรือเอาออกได้ เนื่องจากทองถูกพังผืดยึดเอาไว้ หากไปดึงออกมาก็จะทำให้ผิวบุ๋มจนเสียโฉมได้ เหมือนดึงรากต้นไม้ขึ้นมาหน้าดินก็จะแตก นอกจากนี้ การร้อยไหมแบบถาวรก็ถือเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน เพราะจะก่อให้เกิดเนื้องอกของสิ่งแปลกปลอมได้ เนื่องจากรูปหน้าคนมีการเปลี่ยนแปลงทุกวินาที เมื่อร้อยไหมแบบถาวร หากวันหน้ามีการหย่อนคล้อยก็ต้องแก้ไปเรื่อยๆ สิ่งแปลกปลอมก็จะเยอะสะสมจนเป็นเนื้องอกขึ้น
นพ.สว่าง อัมพรพันธ์ กรรมการผู้จัดการดอกเตอร์ ยังเกอร์ คลินิก เปิดเผยว่า การทำศัลยกรรมด้วยวิธีการร้อยไหมมุ่งเน้นช่วยแก้ปัญหาการหย่อนคล้อยของใบหน้า ด้วยการยกกระชับผิวให้เต่งตึง แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือ การร้อยไหมกลายเป็นกระแสหรือแฟชั่นโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ที่น่าเป็นห่วงคือมีความเชื่อว่ายิ่งร้อยมากยิ่งช่วยให้ผิวใส เต่งตึง และกระชับ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ใบหน้า ก่อให้เกิดการทำร้ายเนื้อเยื่อในชั้นผิวหนัง ทำให้เกิดแผลเป็นและพังผืด ซึ่งหากมีจำนวนมากอาจดึงรั้งผิวจนหน้าบุบหรือผิดรูปได้
“วัยรุ่นนิยมร้อยไหมละลายแบบไม่มีเขี้ยว ซึ่งหลักการสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้ผิวเต่งตึงหรือใสขึ้นได้ แต่ความเป็นจริงแล้วมีอีกหลายวิธีที่ช่วยให้ผิวใสโดยไม่ต้องนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ทั้งเลเซอร์ การทาครีมต่างเพื่อผลัดเซลล์ผิวหรือกันแดด ซึ่งปลอดภัยกว่า และที่น่าเป็นห่วงคือค่านิยมยิ่งร้อยเยอะยิ่งดี หากไปเจอสถานบริการที่ไม่มีจรรยาบรรณ นอกจากจะสิ้นเปลืองแล้ว ยังเสี่ยงปัยหาใบหน้าผิดรูปด้วย” นพ.สว่าง กล่าว
นพ.สว่าง กล่าวอีกว่า ไหมแบบไม่มีเขี้ยวไม่สามารถช่วยเรื่องยกกระชับได้ หากทำกับแพทย์ที่ไม่มีความรู้เรื่องการดีไซน์โครงสร้างใบหน้าก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาใบหน้าผิดรูป ผู้ที่ต้องการยกกระชับใบหน้าจริงๆ ควรเลือกใช้ไหมละลายแบบมีเขี้ยวมากกว่า ซึ่งการรักษาจะใช้ไหมมีเขี้ยวเกี่ยวชั้นใต้ผิวหนังและดึงขึ้นเพื่อล็อกเนื้อเยื่อ โดยใช้ปริมาณเต็มที่ไม่เกิน 10 เส้นก็สามารถปรับโครงสร้างใบหน้าได้ โดยไหมจะละลายในครึ่งปี ทำให้สามารถกลับมาทำซ้ำได้ ซึ่งตลอดเวลา 15 ปีที่มีการใช้ไหมแบบมีเขี้ยวในไทย ยังไม่พบปัญหาใดๆ ถือว่ามีความปลอดภัยระดับหนึ่ง
นพ.สว่าง กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ที่ต้องการร้อยไหมขอแนะนำให้สำรวจตัวเองว่า ผิวหน้ามีปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขด้วยการร้อยไหมหรือไม่ เช่น วัยขึ้นเลขหลัก 3 ใบหน้าหย่อน ตก ไม่แน่นกระชับ และต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษา แต่ไม่ควรปรึกษาเพียงท่านเดียว ต้องมีการศึกษาข้อมูลความน่าเชื่อถือของแพทย์ด้วย โดยอาจดูจากใบประกาศนียบัตรการอบรม ซึ่งหากเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจริงจะเข้าใจปัญหาและจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนแก่คนไข้ เพื่อให้คนไข้เลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการร้อยไหมก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีการนำไหมทองมาใช้ในการร้อยไหมด้วย ถือเป็นเรื่องอันตรายมาก เพราะไหมทองเป็นผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นอกจากนี้ ยังมีราคาแพง มุ่งหวังผลทางการตลาดแต่ไม่หวังผลทางการรักษา ที่สำคัญถือเป็นโลหะทำให้เวลาตรวจร่างกายไม่สามารถเข้าเครื่อง MRI ในการตรวจรักษาโรคได้ ทำให้สูญเสียโอกาสในการรักษา
พญ.วิไล ธนสารอักษร อาจารย์พิเศษหน่วยโรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า ผู้ที่ร้อยไหมทองไม่สามารถเข้าเครื่อง MRI ได้ เนื่องจากทองถือเป็นโลหะ ซึ่งปกติการเข้าตรวจด้วยเครื่อง MRI ต้องถอดโลหะออกจากตัวทั้งหมด ถ้าไม่เอาออกเครื่องจะ Eject แต่สำหรับกรณีไหมทองหากผู้ป่วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่บอกแพทย์ว่าเคยร้อยไหมทองมาก่อน เมื่อเข้าเครื่อง MRI แล้ว อาจเกิดกรณีรังสีแม่เหล็กวิ่งเข้าสู่ทองซึ่งเป็นโลหะ ทำให้เกิดความร้อนจนไหม้ผิวที่อยู่ข้างในจนเกิดเป็นแผลเป็นและพังผืด หน้าก็จะหดรั้งลงมา รูปหน้าเปลี่ยน ตก หรือบุบลงไป ซึ่งถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
“ขณะนี้ได้มีการพูดคุยกับหมอเอกซ์เรย์ในกลุ่มโรงเรียนแพทย์แล้วว่า ควรมีการเพิ่มเช็กลิสต์โลหะก่อนเข้าเครื่อง MRI ด้วยการระบุเฉพาะเจาะจงเลยว่า เคยผ่านการทำร้อยไหมทองมาหรือไม่ เพื่อช่วยกระตุ้นความจำของผู้ป่วยบางรายที่เคยทำมาแต่อาจลืมไป หรือคิดไม่ถึงว่าทองถือเป็นโลหะอย่างหนึ่ง ซึ่งอนาคตการเพิ่มเช็กลิสต์นี้จะให้ใช้เป็นมาตรฐานทุกแห่ง ทั้งศูนย์เอกซ์เรย์ และโรงพยาบาลเอกชน” พญ.วิไล กล่าว
พญ.วิไล กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาเคยมีเคสผู้ร้อยไหมทองจากคลินิกหนึ่ง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปการยกกระชับให้ผลได้ไม่ดีเท่าเดิม ก็เปลี่ยนคลินิกใหม่โดยคลินิกที่สองไม่ทราบมาก่อนว่าเคยผ่านการร้อยไหมทองมาจึงให้ทำเลเซอร์ ส่งผลให้ทองละลายออกที่ใบหน้า และเสียแนวดึงรั้งจนใบหน้าหย่อนกว่าเดิมและผิดรูปจนต้องซ่อมรูปหน้าใหม่ จึงขอเตือนคนที่คิดจะทำให้พิจารณาความจำเป็น เพราะเมื่อเจ็บป่วยจำเป็นต้องใช้เครื่อง MRI ก็ไม่สามารถใช้ได้ และเมื่อจะทำอะไรที่หน้าต้องเจอกับเครื่องมือให้ความร้อนก็ต้องแจ้งทุกครั้งว่าตนทำไหมทองมาแล้ว
พญ.วิไล กล่าวด้วยว่า การร้อยไหมทองไม่สามารถแก้ไขหรือเอาออกได้ เนื่องจากทองถูกพังผืดยึดเอาไว้ หากไปดึงออกมาก็จะทำให้ผิวบุ๋มจนเสียโฉมได้ เหมือนดึงรากต้นไม้ขึ้นมาหน้าดินก็จะแตก นอกจากนี้ การร้อยไหมแบบถาวรก็ถือเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน เพราะจะก่อให้เกิดเนื้องอกของสิ่งแปลกปลอมได้ เนื่องจากรูปหน้าคนมีการเปลี่ยนแปลงทุกวินาที เมื่อร้อยไหมแบบถาวร หากวันหน้ามีการหย่อนคล้อยก็ต้องแก้ไปเรื่อยๆ สิ่งแปลกปลอมก็จะเยอะสะสมจนเป็นเนื้องอกขึ้น