กู้ชีพเผยผู้ป่วยฉุกเฉินมีอัตราตายสูงเพราะ “ไทยมุง” สพฉ.ปิ๊งไอเดียดึงกู้ชีพอบรมครู ก.หวังถ่ายทอดความรู้ให้ ปชช.เป็นอาสาสมัครในการช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินให้รอดมากขึ้น เริ่มนำร่องในพื้นที่ กทม.
เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า การส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือเบื้องต้นด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ถือว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือชุมชน ก่อนที่ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินจะเข้าไปถึงและรับตัวผู้ป่วยส่งรักษาในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน แต่ประชาชนจำนวนมากยังไม่มีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่อาจจะช่วยยื้อชีวิตผู้ที่ประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ สพฉ.ซึ่งมีภาคีเครือข่ายเป็นเจ้าหน้าที่กู้ชีพหลากหลายมูลนิธิ จึงได้จัดโครงการอบรมครู ก. อาสาฉุกเฉินชุมชน ให้กับเจ้าหน้าที่กู้ชีพ เพื่อจะได้นำความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือชีวิตผู้ที่ประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินไปถ่ายทอดให้กับประชาชน นักเรียนนักศึกษาและเยาวชน เข้าร่วมเป็นอาสาฉุกเฉินชุมชนและสามารถช่วยชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้ โดยครู ก.จะเข้าไปให้ความรู้ 3 เรื่อง คือ 1.ขั้นตอนการแจ้งเหตุเพื่อของความช่วยเหลือ 1669 2.การปฐมพยาบาลเบื้องต้นตรงจุดเกิดเหตุ และ 3.การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
นายชัยณรงค์ บุ่งหวาย ผู้จัดการหน่วยกู้ชีพกูบแดง ที่เข้าร่วมอบรมครู ก อาสาฉุกเฉินชุมชน (อฉช.) กล่าวว่า การจัดโครงการอบรมครั้งนี้ถือเป็นเรื่องดี เพราะผู้เข้าร่วมอบรมแม้จะมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่จำนวนบุคลากรกู้ชีพอาจไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือ ที่สำคัญจะทำให้การทำงานช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่กู้ชีพในแต่ละครั้งจะพบปัญหาไทยมุงซึ่งไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ และหลายครั้งที่ผู้ประสบเหตุฉุกเฉินต้องเสียชีวิตจากการช่วยเหลือที่ผิดพลาดของผู้เข้าให้การช่วยเหลือที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการช่วยชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินในแต่ละประเภท โดยเฉพาะในการเกิดอุบัติเหตุเราจะพบผู้ประสบเหตุเสียชีวิตจากอาการคอหัก หลังหัก จากการดึงตัวของผู้ประสบเหตุออกจากรถโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากโครงการนี้จะทำให้มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่จะมีความรู้ในการช่วยเหลือชีวิตผู้ประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งจะเป็นผลดีกับทุกๆ คน
ด้าน นายธนพงษ์ เทศนิยม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า การถ่ายทอดความรู้เรื่องการกู้ชีพถือเป็นความรู้ที่ดีมาก เพราะถึงแม้จะได้เรียนมาในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เคยได้ลงปฏิบัติอย่างเป็นเรื่องเป็นราว การที่ สพฉ.และอาสามัครครู ก. มาถ่ายทอดความรู้ทำให้ได้ลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง ทำให้ได้ความรู้และวิธีการที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้ในหลายกรณี ทั้งการยกผู้บาดเจ็บออกจากอาคารหรือรถยนต์ที่เขาประสบเหตุ รวมทั้งการได้เรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำ CPR ด้วย เป็นความรู้ที่ได้มากกว่าในตำราจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก
เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา ผู้อำนวยการสำนักจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า การส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือเบื้องต้นด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ถือว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือชุมชน ก่อนที่ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินจะเข้าไปถึงและรับตัวผู้ป่วยส่งรักษาในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน แต่ประชาชนจำนวนมากยังไม่มีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่อาจจะช่วยยื้อชีวิตผู้ที่ประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ สพฉ.ซึ่งมีภาคีเครือข่ายเป็นเจ้าหน้าที่กู้ชีพหลากหลายมูลนิธิ จึงได้จัดโครงการอบรมครู ก. อาสาฉุกเฉินชุมชน ให้กับเจ้าหน้าที่กู้ชีพ เพื่อจะได้นำความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือชีวิตผู้ที่ประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินไปถ่ายทอดให้กับประชาชน นักเรียนนักศึกษาและเยาวชน เข้าร่วมเป็นอาสาฉุกเฉินชุมชนและสามารถช่วยชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินได้ โดยครู ก.จะเข้าไปให้ความรู้ 3 เรื่อง คือ 1.ขั้นตอนการแจ้งเหตุเพื่อของความช่วยเหลือ 1669 2.การปฐมพยาบาลเบื้องต้นตรงจุดเกิดเหตุ และ 3.การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
นายชัยณรงค์ บุ่งหวาย ผู้จัดการหน่วยกู้ชีพกูบแดง ที่เข้าร่วมอบรมครู ก อาสาฉุกเฉินชุมชน (อฉช.) กล่าวว่า การจัดโครงการอบรมครั้งนี้ถือเป็นเรื่องดี เพราะผู้เข้าร่วมอบรมแม้จะมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่จำนวนบุคลากรกู้ชีพอาจไม่เพียงพอต่อการช่วยเหลือ ที่สำคัญจะทำให้การทำงานช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ซึ่งในการปฏิบัติหน้าที่กู้ชีพในแต่ละครั้งจะพบปัญหาไทยมุงซึ่งไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้ และหลายครั้งที่ผู้ประสบเหตุฉุกเฉินต้องเสียชีวิตจากการช่วยเหลือที่ผิดพลาดของผู้เข้าให้การช่วยเหลือที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการช่วยชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินในแต่ละประเภท โดยเฉพาะในการเกิดอุบัติเหตุเราจะพบผู้ประสบเหตุเสียชีวิตจากอาการคอหัก หลังหัก จากการดึงตัวของผู้ประสบเหตุออกจากรถโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากโครงการนี้จะทำให้มีประชาชนจำนวนหนึ่งที่จะมีความรู้ในการช่วยเหลือชีวิตผู้ประสบเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งจะเป็นผลดีกับทุกๆ คน
ด้าน นายธนพงษ์ เทศนิยม นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า การถ่ายทอดความรู้เรื่องการกู้ชีพถือเป็นความรู้ที่ดีมาก เพราะถึงแม้จะได้เรียนมาในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่เคยได้ลงปฏิบัติอย่างเป็นเรื่องเป็นราว การที่ สพฉ.และอาสามัครครู ก. มาถ่ายทอดความรู้ทำให้ได้ลงมือปฏิบัติในสถานการณ์จริง ทำให้ได้ความรู้และวิธีการที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินได้ในหลายกรณี ทั้งการยกผู้บาดเจ็บออกจากอาคารหรือรถยนต์ที่เขาประสบเหตุ รวมทั้งการได้เรียนรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำ CPR ด้วย เป็นความรู้ที่ได้มากกว่าในตำราจึงถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก