สรุปยอด 7 วันอันตรายช่วงปีใหม่ 2556 พบตายจากอุบัติเหตุ 365 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 29 ราย เกินกว่าเป้าที่กำหนดไว้ 9% อึ้ง! ตายคาที่มากถึง 70% ขณะที่ผู้บาดเจ็บถูกพาส่งโรงพยาบาลโดยหน่วยแพทย์กู้ชีพฉุกเฉินน้อยเพียง 11% สธ.เล็งพัฒนามูลนิธิอาสาสมัครกู้ชีพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมตั้งโครงการ 1 ตำบล 1 กู้ชีพกู้ภัย เชื่อลดตายและพิการได้
วันนี้ (3 ม.ค.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการแถลงข่าว “ผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 ในช่วง 7 วันรณรงค์” ว่า จากการประเมินผลในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ 2556 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั้งหมด 365 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุร้อยละ 70 เสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาลร้อยละ 10 และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลร้อยละ 20 ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและถูกวิธีจะสามารถลดความสูญเสียได้ ขณะเดียวกัน พบว่า ในกลุ่มผู้บาดเจ็บถูกนำส่งโดยมูลนิธิอาสาสมัครร้อยละ 50 ถูกนำส่งโดยผู้ประสบเหตุ หรือญาติร้อยละ 32 และนำส่งโดยทีมหน่วยแพทย์กู้ชีพฉุกเฉินผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1669 เพียงร้อยละ 11
“ปี 2556 สธ.มีนโยบายพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการตายหรือพิการหลังบาดเจ็บให้เป็นศูนย์ โดยจะอบรมมูลนิธิอาสาสมัครกู้ภัยต่างๆ และขึ้นทะเบียนให้เป็นเครือข่ายของ 1669 ทุกพื้นที่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และจะร่วมกับกระทรวงมหาดไทยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่กู้ชีพ ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งกู้ชีพกู้ภัย และสนับสนุนรถ เครื่องมืออุปกรณ์การช่วยชีวิตที่จำเป็น เพื่อให้เป็นทีมกู้ชีพชุดแรกที่เข้าไปให้การช่วยเหลือยังที่เกิดเหตุอย่างน้อยตำบลละ 1 ทีม ซึ่งมั่นใจว่าเมื่อระบบการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในมาตรฐานและเป็นเครือข่ายเดียวกัน จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทันท่วงที จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้มากขึ้น” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอด 7 วันที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุอันดับ 1 ของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมาจากการเมาสุราเกือบร้อยละ 40 โดยผลการออกตรวจของทีมเฉพาะกิจ จากสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค จำนวน 4 ทีม ได้ออกตรวจทั้งหมด 731 ราย พบการกระทำผิดและดำเนินคดี 108 ราย ความผิดมากอันดับ 1 คือ การโฆษณาส่งเสริมการขายและขายโดยวิธีห้ามขาย เช่น ลด แลก แจก แถม รวม 76 ราย รองลงมาคือ ขายในสถานที่ต้องห้าม เช่น ปั๊มน้ำมัน สถานที่ราชการ ร้านขายยา 13 ราย ขายโดยไม่มีใบอนุญาต 10 ราย ขายให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี 5 ราย ขายผิดเวลาและขายบนไหล่ทางรวม 4 ราย สธ.จะทำการควบคุมการจำหน่ายให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดมากตลอดปี เพื่อลดปัญหาสังคมให้มากที่สุด ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ห้ามให้ประชาชนดื่มเหล้า แต่เมื่อดื่มแล้วต้องไม่ก่อปัญหาสังคม
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สำหรับสถิติอุบัติเหตุประจำวันที่ 2 มกราคม 2556 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ เกิดอุบัติเหตุ 293 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 56 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 34 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 13 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 293 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 34 คน ส่วนสรุปอุบัติเหตุทางท้องถนนรวม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2556 เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งสิ้น 3,176 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 83 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 365 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 29 ราย และมีผู้บาดเจ็บรวม 3,329 คน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 46 คน ส่วนจังหวัดที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลยคือ จ.ตราด
วันนี้ (3 ม.ค.) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวในการแถลงข่าว “ผลการปฏิบัติงานป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2556 ในช่วง 7 วันรณรงค์” ว่า จากการประเมินผลในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ 2556 พบว่า มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั้งหมด 365 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุร้อยละ 70 เสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาลร้อยละ 10 และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลร้อยละ 20 ซึ่งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและถูกวิธีจะสามารถลดความสูญเสียได้ ขณะเดียวกัน พบว่า ในกลุ่มผู้บาดเจ็บถูกนำส่งโดยมูลนิธิอาสาสมัครร้อยละ 50 ถูกนำส่งโดยผู้ประสบเหตุ หรือญาติร้อยละ 32 และนำส่งโดยทีมหน่วยแพทย์กู้ชีพฉุกเฉินผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1669 เพียงร้อยละ 11
“ปี 2556 สธ.มีนโยบายพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการตายหรือพิการหลังบาดเจ็บให้เป็นศูนย์ โดยจะอบรมมูลนิธิอาสาสมัครกู้ภัยต่างๆ และขึ้นทะเบียนให้เป็นเครือข่ายของ 1669 ทุกพื้นที่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ และจะร่วมกับกระทรวงมหาดไทยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่กู้ชีพ ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งกู้ชีพกู้ภัย และสนับสนุนรถ เครื่องมืออุปกรณ์การช่วยชีวิตที่จำเป็น เพื่อให้เป็นทีมกู้ชีพชุดแรกที่เข้าไปให้การช่วยเหลือยังที่เกิดเหตุอย่างน้อยตำบลละ 1 ทีม ซึ่งมั่นใจว่าเมื่อระบบการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในมาตรฐานและเป็นเครือข่ายเดียวกัน จะช่วยให้ผู้บาดเจ็บได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทันท่วงที จะเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้มากขึ้น” รมช.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอด 7 วันที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุอันดับ 1 ของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมาจากการเมาสุราเกือบร้อยละ 40 โดยผลการออกตรวจของทีมเฉพาะกิจ จากสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค จำนวน 4 ทีม ได้ออกตรวจทั้งหมด 731 ราย พบการกระทำผิดและดำเนินคดี 108 ราย ความผิดมากอันดับ 1 คือ การโฆษณาส่งเสริมการขายและขายโดยวิธีห้ามขาย เช่น ลด แลก แจก แถม รวม 76 ราย รองลงมาคือ ขายในสถานที่ต้องห้าม เช่น ปั๊มน้ำมัน สถานที่ราชการ ร้านขายยา 13 ราย ขายโดยไม่มีใบอนุญาต 10 ราย ขายให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี 5 ราย ขายผิดเวลาและขายบนไหล่ทางรวม 4 ราย สธ.จะทำการควบคุมการจำหน่ายให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดมากตลอดปี เพื่อลดปัญหาสังคมให้มากที่สุด ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ห้ามให้ประชาชนดื่มเหล้า แต่เมื่อดื่มแล้วต้องไม่ก่อปัญหาสังคม
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า สำหรับสถิติอุบัติเหตุประจำวันที่ 2 มกราคม 2556 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ เกิดอุบัติเหตุ 293 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 56 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 34 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 13 ราย และมีผู้บาดเจ็บ 293 คน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 34 คน ส่วนสรุปอุบัติเหตุทางท้องถนนรวม 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2555 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2556 เกิดอุบัติเหตุรวมทั้งสิ้น 3,176 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 83 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 365 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 29 ราย และมีผู้บาดเจ็บรวม 3,329 คน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 46 คน ส่วนจังหวัดที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลยคือ จ.ตราด