“หมอพรเทพ” คิกขุ เปลี่ยนภาพลักษณ์กรมควบคุมโรคเป็นดั่งแมลงเต่าทองสีชมพู ที่อยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่างๆได้ ชี้เปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ ปชช.จนอยู่ร่วมกับกับโรคต่างๆ และป้องกันตัวเองเป็น หวังโลโก้ใหม่ดึงดูดใจ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานลดโรค บอกเป็นการทำงานเชิงรุก
วันนี้ (7 มี.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ คร.ได้สร้างแบรนด์หรือตราสัญลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ในการทำงานของการควบคุมโรค โดยใช้รูปเต่าทองสีชมพู เพราะเต่าทองเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ซึ่งจะออกหากินตั้งแต่เช้าจนค่ำ ไม่มีพิษภัย และสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ เปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ของ คร.รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขทุกคน ที่มีภารกิจในการนำเสนอข้อมูลสำคัญ ทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งอาจมีโทษ แต่จะสามารถป้องกันตัวเองได้ นอกจากนี้ ปีกของเต่าทองยังสามารถใช้สื่อสารถึงการกระจายตัว บินเผยแพร่ความรู้ในการส่งเสริมป้องกันโรคไปยังทุกพื้นที่อีกด้วย ส่วนสีชมพูคือ สีประจำของกรมฯ ทั้งนี้ การสร้างแบรนด์ดังกล่าว เป็นการปรับเปลี่ยนการทำงานเชิงรุกที่ใช้ตราสัญลักษณ์ดึงดูดความสนใจของคน ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัจจุบันการจะส่งเสริมป้องกันโรค หากขาดจุดดึงดูดย่อมไม่เป็นที่น่าสนใจ
“การสร้างแบรนด์ครั้งนี้เป็นกลยุทธ์ดึงความสนใจจากประชาชนว่า สัญลักษณ์นี้คืออะไร และรูปลักษณ์ที่ออกแนวน่ารักจะเชิญชวนกลุ่มเด็กๆ หันมาสนใจด้วย พอเริ่มสนใจแบรนด์ก็จะทำให้เข้ามาหาเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคมากขึ้น และจะทำให้เราได้สื่อสาร สร้างความเข้าใจกับประชาชนได้ง่ายกว่าเดิม สามารถแนะนำส่งเสริมป้องกันโรคต่างๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันได้กระจายแบรนด์ดังกล่าวไปยังภูมิภาคต่างๆ แล้ว ส่วนผลตอบลัพธ์จะเป็นอย่างไรจะมีการประเมินการเข้าถึงและการทำงานเชิงรุกต่อไป” อธิบดี คร.กล่าวและว่า แบรนด์ดังกล่าวไม่ใช่ตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ใหม่ของ คร.ยังคงใช้โลโก้เหมือนเดิมคือ งูพันคบเพลิง เพียงแต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่เข้าถึงทุกกลุ่มด้วย
วันนี้ (7 มี.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ คร.ได้สร้างแบรนด์หรือตราสัญลักษณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ในการทำงานของการควบคุมโรค โดยใช้รูปเต่าทองสีชมพู เพราะเต่าทองเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ซึ่งจะออกหากินตั้งแต่เช้าจนค่ำ ไม่มีพิษภัย และสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ เปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ของ คร.รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขทุกคน ที่มีภารกิจในการนำเสนอข้อมูลสำคัญ ทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งอาจมีโทษ แต่จะสามารถป้องกันตัวเองได้ นอกจากนี้ ปีกของเต่าทองยังสามารถใช้สื่อสารถึงการกระจายตัว บินเผยแพร่ความรู้ในการส่งเสริมป้องกันโรคไปยังทุกพื้นที่อีกด้วย ส่วนสีชมพูคือ สีประจำของกรมฯ ทั้งนี้ การสร้างแบรนด์ดังกล่าว เป็นการปรับเปลี่ยนการทำงานเชิงรุกที่ใช้ตราสัญลักษณ์ดึงดูดความสนใจของคน ซึ่งต้องยอมรับว่า ปัจจุบันการจะส่งเสริมป้องกันโรค หากขาดจุดดึงดูดย่อมไม่เป็นที่น่าสนใจ
“การสร้างแบรนด์ครั้งนี้เป็นกลยุทธ์ดึงความสนใจจากประชาชนว่า สัญลักษณ์นี้คืออะไร และรูปลักษณ์ที่ออกแนวน่ารักจะเชิญชวนกลุ่มเด็กๆ หันมาสนใจด้วย พอเริ่มสนใจแบรนด์ก็จะทำให้เข้ามาหาเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคมากขึ้น และจะทำให้เราได้สื่อสาร สร้างความเข้าใจกับประชาชนได้ง่ายกว่าเดิม สามารถแนะนำส่งเสริมป้องกันโรคต่างๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันได้กระจายแบรนด์ดังกล่าวไปยังภูมิภาคต่างๆ แล้ว ส่วนผลตอบลัพธ์จะเป็นอย่างไรจะมีการประเมินการเข้าถึงและการทำงานเชิงรุกต่อไป” อธิบดี คร.กล่าวและว่า แบรนด์ดังกล่าวไม่ใช่ตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ใหม่ของ คร.ยังคงใช้โลโก้เหมือนเดิมคือ งูพันคบเพลิง เพียงแต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานที่เข้าถึงทุกกลุ่มด้วย