กลายเป็นโรคที่สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้กับผู้คนไปแล้ว สำหรับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หลังจากที่มีดาราคนดังบางคน เจ็บป่วยด้วยโรคนี้ แต่แค่กลัว ไม่เพียงพอต่อการป้องกันและรักษา เพราะความรู้เท่านั้นที่จะทำให้เราเท่าทันโรคชนิดนี้หรือแม้แต่โรคแบบอื่นๆ
พล.ต.ญ.ศ.คลินิก จิตถนอม สุวรรณเตมีย์ ที่ปรึกษาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า สาเหตุของกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ มัยแอสทีเนีย กราวิส (MG, Myasthenia Gravis) มักจะพบในผู้หญิงวัยประมาณ 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ชายจะอยู่ในช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป
“อาการหลักๆ ก็คือ หนังตาตก มองเห็นภาพซ้อน เคี้ยวอาหารลำบาก พูดไม่ค่อยชัด หรือพูดเหมือนเสียงขึ้นจมูก บางรายอาจจะมีหน้าเบี้ยวนิดหน่อย กลืนอาหารลำบาก อ่อนแรงได้ง่าย เมื่อยล้าได้เร็ว แต่อาการเหล่านี้จะเป็นพักๆ เช่น ตอนเช้าดูมีแรงดี แต่ตกบ่าย เริ่มไม่มีแรงแล้ว และถ้าหากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรงด้วย คนไข้ก็อาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก บางรายอาจจะหายใจล้มเหลวและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นหนักๆ อาจจะทำให้เสียชีวิตได้” พล.ต.ญ.ศ.คลินิก จิตถนอม กล่าว
แต่ใครก็ตามที่เป็นแล้ว ปัจจุบันมีวิธีการรักษาดังนี้ คือ 1.การให้ยาต้านฤทธิ์ของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ทำให้สารอะซิติลโคลีนไม่ถูกทำลาย และการที่มีสารนี้อยู่นานขึ้น ก็สามารถจับกับตัวรับได้มากขึ้น ช่วยให้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น 2.การให้ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยให้อาการดีขึ้นหรืออาการหายขาดได้มากถึงร้อยละ 75 ของผู้ป่วยทั้งหมด 3.การให้ยากดภูมิคุ้มกัน3.การให้ยาอิมมูโนโกลบูลินชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด 4.การผ่าตัดต่อมไธมัส 5.การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา 6.การรักษาทางกายภาพบำบัดในการป้องกันปัญหาข้อติดและช่วยฝึกการหายใจ
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ไม่เป็น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีปฏิบัติตนไว้ 3 ข้อ ประกอบด้วย
1.โภชนาการ ควรจะเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ครบห้าหมู่ อย่ารับประทานของหวานมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็นเบาหวานได้ และคนที่เป็นเบาหวาน ก็อาจจะทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เช่นกัน
2.ออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ออกกำลังกายพอสมควร ไม่หักโหมมากเกินไป
3.ระวังตัวเอง ถ้าสงสัยว่ามีอะไรผิดปกติ ดีที่สุดก็คือการไปหาแพทย์ นั่นก็คือการป้องกันตัวเอง
แน่นอนว่า สำหรับคนที่เป็นแล้วและได้รับการรักษาเป็นที่เรียบร้อย พล.ต.ญ.ศ.คลินิก จิตถนอม ให้ความรู้ว่า สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เหมือนเดิม แต่ก็มีข้อที่พึงระวัง
“เมื่อเรารู้ว่าเรามีโรคนี้อยู่ เราอาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังตัวเองว่า ทำอะไรๆ ได้ แต่อย่าหักโหมมากเกินไป และเวลาที่รักษาไปแล้ว อาจจะทำให้อาการของโรคสงบไปได้นานๆ ก็ระวังรักษาสุขภาพ อย่าให้มีการเจ็บป่วยบ่อย อย่าให้มีการติดเชื้อ เพราะว่าถ้ามีอาการติดเชื้อหรือว่าร่างกายอ่อนแอ “อาจจะ” เป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นมา แต่ว่าถ้าร่างกายเราแข็งแรงดีอยู่ โรคนี้ก็จะสงบไปได้นานๆ” พล.ต.ญ.ศ.คลินิก จิตถนอม กล่าวทิ้งท้าย
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo
พล.ต.ญ.ศ.คลินิก จิตถนอม สุวรรณเตมีย์ ที่ปรึกษาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กล่าวว่า สาเหตุของกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ มัยแอสทีเนีย กราวิส (MG, Myasthenia Gravis) มักจะพบในผู้หญิงวัยประมาณ 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ชายจะอยู่ในช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป
“อาการหลักๆ ก็คือ หนังตาตก มองเห็นภาพซ้อน เคี้ยวอาหารลำบาก พูดไม่ค่อยชัด หรือพูดเหมือนเสียงขึ้นจมูก บางรายอาจจะมีหน้าเบี้ยวนิดหน่อย กลืนอาหารลำบาก อ่อนแรงได้ง่าย เมื่อยล้าได้เร็ว แต่อาการเหล่านี้จะเป็นพักๆ เช่น ตอนเช้าดูมีแรงดี แต่ตกบ่าย เริ่มไม่มีแรงแล้ว และถ้าหากกล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรงด้วย คนไข้ก็อาจจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่สะดวก บางรายอาจจะหายใจล้มเหลวและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นหนักๆ อาจจะทำให้เสียชีวิตได้” พล.ต.ญ.ศ.คลินิก จิตถนอม กล่าว
แต่ใครก็ตามที่เป็นแล้ว ปัจจุบันมีวิธีการรักษาดังนี้ คือ 1.การให้ยาต้านฤทธิ์ของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ทำให้สารอะซิติลโคลีนไม่ถูกทำลาย และการที่มีสารนี้อยู่นานขึ้น ก็สามารถจับกับตัวรับได้มากขึ้น ช่วยให้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น 2.การให้ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยให้อาการดีขึ้นหรืออาการหายขาดได้มากถึงร้อยละ 75 ของผู้ป่วยทั้งหมด 3.การให้ยากดภูมิคุ้มกัน3.การให้ยาอิมมูโนโกลบูลินชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด 4.การผ่าตัดต่อมไธมัส 5.การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา 6.การรักษาทางกายภาพบำบัดในการป้องกันปัญหาข้อติดและช่วยฝึกการหายใจ
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ไม่เป็น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีปฏิบัติตนไว้ 3 ข้อ ประกอบด้วย
1.โภชนาการ ควรจะเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ครบห้าหมู่ อย่ารับประทานของหวานมากเกินไป เพราะจะทำให้เป็นเบาหวานได้ และคนที่เป็นเบาหวาน ก็อาจจะทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เช่นกัน
2.ออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ออกกำลังกายพอสมควร ไม่หักโหมมากเกินไป
3.ระวังตัวเอง ถ้าสงสัยว่ามีอะไรผิดปกติ ดีที่สุดก็คือการไปหาแพทย์ นั่นก็คือการป้องกันตัวเอง
แน่นอนว่า สำหรับคนที่เป็นแล้วและได้รับการรักษาเป็นที่เรียบร้อย พล.ต.ญ.ศ.คลินิก จิตถนอม ให้ความรู้ว่า สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เหมือนเดิม แต่ก็มีข้อที่พึงระวัง
“เมื่อเรารู้ว่าเรามีโรคนี้อยู่ เราอาจจะต้องเพิ่มความระมัดระวังตัวเองว่า ทำอะไรๆ ได้ แต่อย่าหักโหมมากเกินไป และเวลาที่รักษาไปแล้ว อาจจะทำให้อาการของโรคสงบไปได้นานๆ ก็ระวังรักษาสุขภาพ อย่าให้มีการเจ็บป่วยบ่อย อย่าให้มีการติดเชื้อ เพราะว่าถ้ามีอาการติดเชื้อหรือว่าร่างกายอ่อนแอ “อาจจะ” เป็นตัวกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นมา แต่ว่าถ้าร่างกายเราแข็งแรงดีอยู่ โรคนี้ก็จะสงบไปได้นานๆ” พล.ต.ญ.ศ.คลินิก จิตถนอม กล่าวทิ้งท้าย
ขอบคุณข้อมูล : รายการ “Health Line สายตรงสุขภาพ” รายการที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคภัยไข้เจ็บ ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.00-8.00 น.ทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี และสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ www.manager.co.th/vdo