กรมวิทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล เพื่อให้มีโอกาสขยายตลาดสู่อาเซียน เพิ่มรายได้ให้กับกลู่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ตามนโยบายของรัฐบาล
นายมงคล เจนจิตติกุล รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้มแข็งสู่การพัฒนาสินค้าคุณภาพระดับมาตรฐานสากล ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ว่า จากฐานข้อมูลการคัดสรรผลิตภัณฑ์ชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2553 มีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพและผ่านการคัดสรรรับ 1 ดาว - 5 ดาว จำนวนทั้งสิ้น 3,773 รายการ แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร 2,677 รายการ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม 619 รายการ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 477 รายการ ซึ่งที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ OTOP จากกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ เชื้อโรคอาหารเป็นพิษและพบวัตถุกันเสียเกินมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งบ่งชี้ว่ากลุ่มแม่บ้านและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังมีสุขลักษณะการผลิตที่ไม่ดีและขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้วัตถุกันเสีย รวมทั้งขาดความรู้ด้านการส่งเสริมการตลาด เนื่องจากพบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สวยงามและไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน ก้าวไปสู่การขยายตลาดสินค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มอบหมายให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งบูรณาการงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบเรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการให้ความรู้ด้านสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร การใช้สารเคมีวัตถุเจือปนอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การเพิ่มช่องทางจำหน่ายและร่วมกันคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุนชนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล เพื่อให้มีโอกาสขยายตลาดสู่อาเซียนซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ตามนโยบายรัฐบาล
น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 สมุทรสงคราม กล่าวเพิ่มเติมว่า ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดสมุทรสงครามประกอบอาชีพเกษตรกรม จึงมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวนมากทั้งประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกต่างๆ เช่น กล้วยเบรกระเบิด ส้มโอปลอดสารพิษ น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลสด และแชมพูสมุนไพร เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์OTOPในจังหวัดสมุทรสงครามได้มีการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 สมุทรสงคราม จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย เช่นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำนักงานเกษตรจังหวัด เป็นต้น จัดอบรมเสริมมสร้างศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในจังหวัดสมุทรสงครามขึ้น โดยมีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้าร่วมอบรมกว่า 200 คน และชุมชนได้ร่วมกันคัดเลือก “น้ำตาลมะพร้าว” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการเตรียมความพร้อมสู่การขยายโอกาสในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป
นายมงคล เจนจิตติกุล รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดโครงการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้มแข็งสู่การพัฒนาสินค้าคุณภาพระดับมาตรฐานสากล ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสงคราม ว่า จากฐานข้อมูลการคัดสรรผลิตภัณฑ์ชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชน ปี 2553 มีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่เป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพและผ่านการคัดสรรรับ 1 ดาว - 5 ดาว จำนวนทั้งสิ้น 3,773 รายการ แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร 2,677 รายการ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม 619 รายการ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร 477 รายการ ซึ่งที่ผ่านมากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ OTOP จากกลุ่มแม่บ้านและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ เชื้อโรคอาหารเป็นพิษและพบวัตถุกันเสียเกินมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งบ่งชี้ว่ากลุ่มแม่บ้านและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนยังมีสุขลักษณะการผลิตที่ไม่ดีและขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้วัตถุกันเสีย รวมทั้งขาดความรู้ด้านการส่งเสริมการตลาด เนื่องจากพบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สวยงามและไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐาน ก้าวไปสู่การขยายตลาดสินค้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มอบหมายให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งบูรณาการงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบเรื่องผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการให้ความรู้ด้านสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร การใช้สารเคมีวัตถุเจือปนอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การเพิ่มช่องทางจำหน่ายและร่วมกันคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุนชนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล เพื่อให้มีโอกาสขยายตลาดสู่อาเซียนซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ตามนโยบายรัฐบาล
น.ส.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 สมุทรสงคราม กล่าวเพิ่มเติมว่า ประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดสมุทรสงครามประกอบอาชีพเกษตรกรม จึงมีผลิตภัณฑ์ OTOP จำนวนมากทั้งประเภทอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกต่างๆ เช่น กล้วยเบรกระเบิด ส้มโอปลอดสารพิษ น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลสด และแชมพูสมุนไพร เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์OTOPในจังหวัดสมุทรสงครามได้มีการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4 สมุทรสงคราม จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย เช่นสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำนักงานเกษตรจังหวัด เป็นต้น จัดอบรมเสริมมสร้างศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตภัณฑ์สุขภาพในจังหวัดสมุทรสงครามขึ้น โดยมีผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้าร่วมอบรมกว่า 200 คน และชุมชนได้ร่วมกันคัดเลือก “น้ำตาลมะพร้าว” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการเตรียมความพร้อมสู่การขยายโอกาสในตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป