สธ.เผยผลการตรวจเครื่องสำอางสมุนไพรไทยปี 55 พบตกเกณฑ์มาตรฐาน 14% พบเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา และคลอสตริเดียม สูงกว่ามาตรฐาน 8-50,000 เท่าตัว พบสารปรอทมากสุด 38% กระทุ้งกรมวิทย์ บริการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ทั่วประเทศ ลดอันตรายจากเครื่องสำอางไร้มาตรฐาน
วันนี้ (16 ม.ค.) ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน จ.นนทบุรี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดนิทรรศการสตรีไทยห่วงใยสุขภาพเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2556 ภายใต้แนวคิด “งามสมวัย อย่างปลอดภัย ใจไม่เครียด” ร่วมกับ นางสุพัฒนา อาทรไผท ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ว่า ปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรมากขึ้น ซึ่งมีการวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าพื้นบ้าน หรือสินค้าโอทอป (OTOP) ซึ่งผู้ใช้มั่นใจว่าปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี ทั้งนี้ สมุนไพรไทยที่นิยมนำมาใช้ในเครื่องสำอาง ได้แก่ ว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เปลือกมังคุด มะขาม ขิง มะกรูด ชุมเห็ดเทศ ใบบัวบก หัวไชเท้า ขมิ้นชัน ไพล แตงกวา และดอกอัญชัน เป็นต้น ส่วนมากจะนำมาเป็นส่วนผสมของแชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น/ครีมบำรุงผิว ครีมขัดเท้า นวดเท้า และขัดผิว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า จากการเฝ้าระวังโดยสำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เก็บตัวอย่างเครื่องสำอางสมุนไพรมาตรวจ จำนวน 527 ตัวอย่างในปี 2555 พบว่า ตกเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 72 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 14 โดยตรวจพบปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และรา และพบเชื้อคลอสตริเดียมด้วย มากถึง 28 ตัวอย่าง ปริมาณเชื้ออยู่ในช่วง 8,400-50,000,000 โคโลนีต่อกรัม ซึ่งนับว่าเกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2553 ถึง 8-50,000 เท่าตัว เกินกว่าที่กำหนดให้เครื่องสำอางสมุนไพร จะต้องไม่พบเชื้อ คลอสตริเดียม(Clostridium spp.) เนื่องจากเป็นเชื้ออันตรายก่อให้เกิดการอักเสบรุนแรง เป็นฝีหนอง และกำหนดปริมาณการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิด คือ แบคทีเรีย ยีสต์ และรา ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัม คาดว่า เป็นเพราะการผลิตผู้ประกอบการอาจขาดความรู้ ความเข้าใจในการผลิตและเกิดการปนเปื้อนระหว่างกระบวนการผลิต การบรรจุ
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า เพื่อเร่งยกมาตรฐานสินค้าเครื่องสำอางสมุนไพรพื้นบ้าน หรือOTOP ให้ปลอดภัย เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดบริการตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวง โดยติดต่อรับบริการได้ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หากพบว่ายังไม่ได้ตามเกณฑ์ จะมีการแนะนำเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เข้ามาตรฐาน
ด้าน นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในปี 2555 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางประเภทครีมและโลชั่น ที่มีสรรพคุณที่ทำให้ ใบหน้าขาว รักษาสิว ผ้า และกันแดด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้หญิงนิยมใช้มากที่สุด จำนวน 427 ตัวอย่างจาก 4 ภาค พบสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง 3 ชนิด จำนวน 162 ตัวอย่าง โดยพบสารปรอทแอมโมเนีย มากที่สุดร้อยละ 38 สารนี้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้ตับและไตอักเสบ เกิดโรคโลหิตจาง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ทำลายสีของผิวหนังและเล็บมือ ผิวหนังบางขึ้นเรื่อยๆ รองลงมาคือ สารไฮโดรควิโนน พบร้อยละ 29 สารชนิดนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองและจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย และพบกรดเรทิโนอิก ร้อยละ 2 ซึ่งมีความเป็นพิษคือ ทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง ระคายเคืองอักเสบ แพ้แสงแดดและแสงไฟง่ายขึ้น และยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย
นางจุรีภรณ์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด และจะให้ชมรมสตรีไทยห่วงใยสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งมีทุกจังหวัด รวม 84 ชมรม ประกอบด้วย กลุ่มภริยาหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด แม่บ้าน และกลุ่มสตรีต่างๆ เป็นต้น รณรงค์ให้ความรู้ผู้หญิง ในการเลือกใช้ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันและลดอันตรายจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ งานนิทรรศการสตรีไทยห่วงใยสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ จัดขึ้นเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธ.ค.2554 ซึ่งครั้งนี้จัดเป็นปีที่ 3 โดยงานจะมีตั้งแต่วันที่ 16-17 ม.ค.นี้ โดยจะมีการให้ความรู้ต่างๆ ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และเสริมความงามอย่างปลอดภัย เช่น โยคะ เพื่อสุขภาพและความงาม อันตรายจากการเสริมความงาม บริการให้คำแนะนำการใช้เครื่องสำอางและการดูแลสุขภาพผิวกายอย่างปลอดภัย การชะลอวัย ศัลยกรรมความงามและการใช้เครื่องมือ เช่น การเสริมจมูก เสริมเต้านม เลเซอร์ การใช้ยา และอาหารเสริมลดความอ้วน อีกทั้งยังมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร บริการตรวจสุขภาพ สาธิตการตรวจหาสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง และเปิดให้บริการตัดแว่นตาฟรี
วันนี้ (16 ม.ค.) ที่ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน จ.นนทบุรี นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดนิทรรศการสตรีไทยห่วงใยสุขภาพเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2556 ภายใต้แนวคิด “งามสมวัย อย่างปลอดภัย ใจไม่เครียด” ร่วมกับ นางสุพัฒนา อาทรไผท ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ว่า ปัจจุบันประชาชนหันมาสนใจใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรมากขึ้น ซึ่งมีการวางจำหน่ายในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าพื้นบ้าน หรือสินค้าโอทอป (OTOP) ซึ่งผู้ใช้มั่นใจว่าปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมี ทั้งนี้ สมุนไพรไทยที่นิยมนำมาใช้ในเครื่องสำอาง ได้แก่ ว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เปลือกมังคุด มะขาม ขิง มะกรูด ชุมเห็ดเทศ ใบบัวบก หัวไชเท้า ขมิ้นชัน ไพล แตงกวา และดอกอัญชัน เป็นต้น ส่วนมากจะนำมาเป็นส่วนผสมของแชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น/ครีมบำรุงผิว ครีมขัดเท้า นวดเท้า และขัดผิว
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า จากการเฝ้าระวังโดยสำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เก็บตัวอย่างเครื่องสำอางสมุนไพรมาตรวจ จำนวน 527 ตัวอย่างในปี 2555 พบว่า ตกเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 72 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 14 โดยตรวจพบปริมาณรวมของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ และรา และพบเชื้อคลอสตริเดียมด้วย มากถึง 28 ตัวอย่าง ปริมาณเชื้ออยู่ในช่วง 8,400-50,000,000 โคโลนีต่อกรัม ซึ่งนับว่าเกินมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2553 ถึง 8-50,000 เท่าตัว เกินกว่าที่กำหนดให้เครื่องสำอางสมุนไพร จะต้องไม่พบเชื้อ คลอสตริเดียม(Clostridium spp.) เนื่องจากเป็นเชื้ออันตรายก่อให้เกิดการอักเสบรุนแรง เป็นฝีหนอง และกำหนดปริมาณการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ 3 ชนิด คือ แบคทีเรีย ยีสต์ และรา ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยคือ ไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัม คาดว่า เป็นเพราะการผลิตผู้ประกอบการอาจขาดความรู้ ความเข้าใจในการผลิตและเกิดการปนเปื้อนระหว่างกระบวนการผลิต การบรรจุ
นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อไปว่า เพื่อเร่งยกมาตรฐานสินค้าเครื่องสำอางสมุนไพรพื้นบ้าน หรือOTOP ให้ปลอดภัย เพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดบริการตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนให้เป็นไปตามประกาศกระทรวง โดยติดต่อรับบริการได้ที่ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่ง หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หากพบว่ายังไม่ได้ตามเกณฑ์ จะมีการแนะนำเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เข้ามาตรฐาน
ด้าน นางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ในปี 2555 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางประเภทครีมและโลชั่น ที่มีสรรพคุณที่ทำให้ ใบหน้าขาว รักษาสิว ผ้า และกันแดด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้หญิงนิยมใช้มากที่สุด จำนวน 427 ตัวอย่างจาก 4 ภาค พบสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง 3 ชนิด จำนวน 162 ตัวอย่าง โดยพบสารปรอทแอมโมเนีย มากที่สุดร้อยละ 38 สารนี้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้ตับและไตอักเสบ เกิดโรคโลหิตจาง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ทำลายสีของผิวหนังและเล็บมือ ผิวหนังบางขึ้นเรื่อยๆ รองลงมาคือ สารไฮโดรควิโนน พบร้อยละ 29 สารชนิดนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองและจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หาย และพบกรดเรทิโนอิก ร้อยละ 2 ซึ่งมีความเป็นพิษคือ ทำให้หน้าแดง แสบร้อนรุนแรง ระคายเคืองอักเสบ แพ้แสงแดดและแสงไฟง่ายขึ้น และยังเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย
นางจุรีภรณ์ กล่าวต่อว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และประสานการทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการทางกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด และจะให้ชมรมสตรีไทยห่วงใยสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งมีทุกจังหวัด รวม 84 ชมรม ประกอบด้วย กลุ่มภริยาหัวหน้าส่วนราชการจังหวัด แม่บ้าน และกลุ่มสตรีต่างๆ เป็นต้น รณรงค์ให้ความรู้ผู้หญิง ในการเลือกใช้ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันและลดอันตรายจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน
ทั้งนี้ งานนิทรรศการสตรีไทยห่วงใยสุขภาพเฉลิมพระเกียรติฯ จัดขึ้นเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธ.ค.2554 ซึ่งครั้งนี้จัดเป็นปีที่ 3 โดยงานจะมีตั้งแต่วันที่ 16-17 ม.ค.นี้ โดยจะมีการให้ความรู้ต่างๆ ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และเสริมความงามอย่างปลอดภัย เช่น โยคะ เพื่อสุขภาพและความงาม อันตรายจากการเสริมความงาม บริการให้คำแนะนำการใช้เครื่องสำอางและการดูแลสุขภาพผิวกายอย่างปลอดภัย การชะลอวัย ศัลยกรรมความงามและการใช้เครื่องมือ เช่น การเสริมจมูก เสริมเต้านม เลเซอร์ การใช้ยา และอาหารเสริมลดความอ้วน อีกทั้งยังมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร บริการตรวจสุขภาพ สาธิตการตรวจหาสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง และเปิดให้บริการตัดแว่นตาฟรี