สธ.ฟุ้ง อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นเป็น 47.5% หลังเดินหน้าพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กมานานเกือบ 10 ปี ประกาศนโยบายยกระดับคุณภาพสตรีและเด็กเพิ่ม ภายใต้การดำเนินงาน 9 ข้อ เน้นสร้างพ่อแม่คุณภาพผ่านโรงเรียน พ่อแม่ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเลี้ยงดูบุตร
วันนี้ (19 ก.พ.) เมื่อเวลา 13.30 น.ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประกาศนโยบายยกระดับคุณภาพสตรีและเด็ก ว่า จากการที่ สธ.พัฒนาคุณภาพประชากรกลุ่มแม่และเด็กไทยให้ดีขึ้น ด้วยการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการสาธารณสุข และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในรูปแบบชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.5 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 47.5 ในปี 2555 การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ 52 ในปี 2555 เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 70.3 ในปี 2550 สธ.จึงกำหนดนโยบายยกระดับคุณภาพสตรีขึ้น เพื่อให้แม่และเด็กมีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสังคม สานต่อนโยบายรัฐบาลที่ได้ยืนยันเจตนารมณ์ที่จะร่วมกับสหประชาชาติในการยกระดับคุณภาพสตรีและเด็ก เน้นการสร้างพ่อแม่คุณภาพ โดยผ่านโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อเตรียมความพร้อมความรู้การเลี้ยงดูบุตร การปลูกฝังภูมิคุ้มกันทั้งกายและใจ ปลูกฝังวินัยเชิงบวก เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ด้วยการรู้จักห่วงใยตนเอง พัฒนาทักษะชีวิตและสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้น เพื่อการเป็นพลเมืองที่ดีมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า การประกาศนโยบายยกระดับคุณภาพสตรีและเด็ก ประกอบด้วย 1.สร้างพ่อแม่คุณภาพก่อนมีบุตรเข้ารับบริการตรวจร่างกายและรับความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่ 2.สร้างการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียมโดยให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนฝากครรภ์เร็วและมาเป็นคู่ได้ทุกที่ทุกสิทธิ์ 3.สร้างเด็กปลอดโรคพันธุกรรมและโรคติดเชื้อโดยแม่ขณะตั้งครรภ์ได้รับการตรวจเลือด และเพื่อป้องกันโรคธาลัสซีเมีย เอดส์ เอ๋อ ได้รับยาเสริมไอโอดีนและวิตามินเสริมธาตุเหล็ก 4.สร้างภูมิต้านทานทางสังคมแก่เด็ก ผ่านการเลี้ยงดูของพ่อแม่ด้วยความรักความผูกพันได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดและอาหารตามวัย 5.สร้างเด็กฉลาดทางทางปัญญาและอารมณ์ด้วยการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ผ่านกระบวนการกิน กอด เล่น เล่า 6.เด็กได้รับการคัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการ หากพัฒนาการล่าช้าได้รับการแก้ไข 7.เด็กได้รับการฝึกทักษะชีวิตผ่านการจัดกิจกรรมในคลินิกเด็กดีและศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 8.สตรีและเด็กได้รับบริการ ฝากครรภ์คุณภาพ ห้องคลอดคุณภาพคลินิกเด็กดีคุณภาพและศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ และ 9.ชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างเด็กไทยแข็งแรง ฉลาด อารมณ์ดี และมีความสุขอันจะส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
วันนี้ (19 ก.พ.) เมื่อเวลา 13.30 น.ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประกาศนโยบายยกระดับคุณภาพสตรีและเด็ก ว่า จากการที่ สธ.พัฒนาคุณภาพประชากรกลุ่มแม่และเด็กไทยให้ดีขึ้น ด้วยการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการสาธารณสุข และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในรูปแบบชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 14.5 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 47.5 ในปี 2555 การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ 52 ในปี 2555 เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 70.3 ในปี 2550 สธ.จึงกำหนดนโยบายยกระดับคุณภาพสตรีขึ้น เพื่อให้แม่และเด็กมีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสังคม สานต่อนโยบายรัฐบาลที่ได้ยืนยันเจตนารมณ์ที่จะร่วมกับสหประชาชาติในการยกระดับคุณภาพสตรีและเด็ก เน้นการสร้างพ่อแม่คุณภาพ โดยผ่านโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อเตรียมความพร้อมความรู้การเลี้ยงดูบุตร การปลูกฝังภูมิคุ้มกันทั้งกายและใจ ปลูกฝังวินัยเชิงบวก เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ด้วยการรู้จักห่วงใยตนเอง พัฒนาทักษะชีวิตและสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้น เพื่อการเป็นพลเมืองที่ดีมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม
นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า การประกาศนโยบายยกระดับคุณภาพสตรีและเด็ก ประกอบด้วย 1.สร้างพ่อแม่คุณภาพก่อนมีบุตรเข้ารับบริการตรวจร่างกายและรับความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่ 2.สร้างการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียมโดยให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนฝากครรภ์เร็วและมาเป็นคู่ได้ทุกที่ทุกสิทธิ์ 3.สร้างเด็กปลอดโรคพันธุกรรมและโรคติดเชื้อโดยแม่ขณะตั้งครรภ์ได้รับการตรวจเลือด และเพื่อป้องกันโรคธาลัสซีเมีย เอดส์ เอ๋อ ได้รับยาเสริมไอโอดีนและวิตามินเสริมธาตุเหล็ก 4.สร้างภูมิต้านทานทางสังคมแก่เด็ก ผ่านการเลี้ยงดูของพ่อแม่ด้วยความรักความผูกพันได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดและอาหารตามวัย 5.สร้างเด็กฉลาดทางทางปัญญาและอารมณ์ด้วยการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสมของพ่อแม่ผ่านกระบวนการกิน กอด เล่น เล่า 6.เด็กได้รับการคัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการ หากพัฒนาการล่าช้าได้รับการแก้ไข 7.เด็กได้รับการฝึกทักษะชีวิตผ่านการจัดกิจกรรมในคลินิกเด็กดีและศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ 8.สตรีและเด็กได้รับบริการ ฝากครรภ์คุณภาพ ห้องคลอดคุณภาพคลินิกเด็กดีคุณภาพและศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ และ 9.ชุมชนท้องถิ่นร่วมสร้างเด็กไทยแข็งแรง ฉลาด อารมณ์ดี และมีความสุขอันจะส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน