โดย...ทันตแพทย์อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ
ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ/โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“คุณลุงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 แล้วครับ” คุณหมอบอกด้วยน้ำเสียงที่แสดงความประหลาดใจ หลังจากได้ส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว “คงต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและอาจต้องให้ยาเคมีบำบัดเสริมด้วย คุณลุงพร้อมเข้ารับการผ่าตัดเมื่อไรครับ” คุณลุงหูอื้อและรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงของคุณหมอแว่วมาจากที่ใดสักแห่งไกลออกไป
ลุงสมพงษ์ เป็นพ่อค้าเร่ อายุเลยวัยเกษียณมาหลายปี ลูกๆ แยกย้ายไปมีครอบครัวของตัวเองหลังจากป้าลิ้นจี่เสียไปได้ไม่นาน ชีวิตดูเหมือนไม่มีอะไรให้กังวลแล้ว แต่การรู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งก็อดที่จะใจเสียไม่ได้ มีคำถามมากมายวนเวียนอยู่ในใจตลอดเวลา ลูกสาวลุงเพิ่งตั้งท้องได้ 2 เดือน ถ้าเข้ารับการรักษาแล้วจะมีโอกาสหายมาเลี้ยงหลานไหม ค่าใช้จ่ายจะทำอย่างไร เงินเก็บที่มีอยู่แค่เลี้ยงตัวเองไปวันๆ ก็แย่แล้ว และ….
แต่ละวัน มีผู้ป่วยจำนวนมากที่พบว่าตนเองเป็นโรคร้าย ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับคุณลุงสมพงษ์ ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยความวิตกกังวลจากความไม่รู้ รวมทั้งขาดที่พึ่งด้านจิตใจ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่อาจใช้เวลาในการแนะนำได้อย่างที่ผู้ป่วยคาดหวัง จึงเกิดการรวมกลุ่มของผู้ป่วยและอาสาสมัครที่ได้รับบริการรักษาโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง” เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริการที่มีผู้ป่วยและผู้รับบริการมีส่วนร่วม จนเกิดรูปธรรมของการดำเนินงานที่เรียกว่า “ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด” ในปี 2546 เน้นให้หน่วยบริการที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เปิดพื้นที่และมีระบบให้ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและอาสาสมัครได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานบริการสุขภาพ พร้อมทั้งศึกษาโครงสร้าง รูปแบบและระบบในการจัดและให้บริการร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและอาสาสมัครผู้ป่วย
จากจุดเริ่มต้นในปี 2546 ปัจจุบันศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัดได้ขยายความครอบคลุมไปยังโรงพยาบาลในทุกระดับมากกว่า 250 แห่งทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด และขยายผลการดำเนินงานไปสู่กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรังรวมถึงผู้ป่วยระยะสุดท้ายอื่นๆ เน้นการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้เกิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanized Health Care) ในหน่วยบริการ โดยมีผู้ป่วยและอาสาสมัครที่มีจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการบริการในกิจกรรมต่างๆ เช่น การพบปะ พูดคุย แนะนำช่วยเหลือและเข้าเยี่ยมผู้ป่วยทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง การที่ผู้ป่วยได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการยอมรับและผ่อนคลายจากความเครียดที่เกิดจากความไม่รู้ ตลอดจนได้กำลังใจจากเพื่อนมนุษย์ที่เข้าใจและพร้อมให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข
ปีนี้เป็นปีที่ 10 ของการดำเนินงานมิตรภาพบำบัดในประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพจึงได้จัดงาน “รวมพลังพื้นที่ รวมพลคนจิตอาสา ร่วมสร้างหลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน” ขึ้นในวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 เริ่มงานในเวลา 8:00 น.ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ในงานประกอบด้วยการบรรยายพิเศษโดยนายแพทย์ประเวศ วะสี การปาฐกถาเกียรติยศ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ครั้งที่ 5 โดย นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน การมอบรางวัลให้แก่องค์กรและจิตอาสาที่ได้รับรางวัลมิตรภาพบำบัดดีเด่นประจำปี 2555 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการเสวนา การบรรยายเคล้าเสียงเพลง “เส้นทางสายมิตรภาพ” โดย ศุ บุญเลี้ยง และอื่นๆ อีกมากมาย
คุณลุงสมพงษ์อาการดีขึ้นมากแล้ว ด้วยฝีมือการผ่าตัดที่ยอดเยี่ยมของทีมแพทย์ พยาบาล รวมทั้งได้กำลังใจอย่างเต็มเปี่ยมจากจิตอาสาในโครงการมิตรภาพบำบัด ตั้งใจว่าจะมาร่วมงานในวันพุธที่ 27 กุมภานี้ให้จงได้ และจะขอสมัครเป็นหนึ่งในจิตอาสาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์และร่วมดูแลผู้ป่วยคนอื่นให้ผ่านช่วงเวลาที่เลวร้าย เพราะรู้ดีว่าหัวใจที่เข้มแข็งเท่านั้นจึงจะสามารถควบคุมร่างกายที่อ่อนล้าได้
ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ/โฆษกสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
“คุณลุงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 2 แล้วครับ” คุณหมอบอกด้วยน้ำเสียงที่แสดงความประหลาดใจ หลังจากได้ส่องกล้องและตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว “คงต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดและอาจต้องให้ยาเคมีบำบัดเสริมด้วย คุณลุงพร้อมเข้ารับการผ่าตัดเมื่อไรครับ” คุณลุงหูอื้อและรู้สึกเหมือนได้ยินเสียงของคุณหมอแว่วมาจากที่ใดสักแห่งไกลออกไป
ลุงสมพงษ์ เป็นพ่อค้าเร่ อายุเลยวัยเกษียณมาหลายปี ลูกๆ แยกย้ายไปมีครอบครัวของตัวเองหลังจากป้าลิ้นจี่เสียไปได้ไม่นาน ชีวิตดูเหมือนไม่มีอะไรให้กังวลแล้ว แต่การรู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งก็อดที่จะใจเสียไม่ได้ มีคำถามมากมายวนเวียนอยู่ในใจตลอดเวลา ลูกสาวลุงเพิ่งตั้งท้องได้ 2 เดือน ถ้าเข้ารับการรักษาแล้วจะมีโอกาสหายมาเลี้ยงหลานไหม ค่าใช้จ่ายจะทำอย่างไร เงินเก็บที่มีอยู่แค่เลี้ยงตัวเองไปวันๆ ก็แย่แล้ว และ….
แต่ละวัน มีผู้ป่วยจำนวนมากที่พบว่าตนเองเป็นโรคร้าย ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับคุณลุงสมพงษ์ ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยความวิตกกังวลจากความไม่รู้ รวมทั้งขาดที่พึ่งด้านจิตใจ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่อาจใช้เวลาในการแนะนำได้อย่างที่ผู้ป่วยคาดหวัง จึงเกิดการรวมกลุ่มของผู้ป่วยและอาสาสมัครที่ได้รับบริการรักษาโรคหัวใจและโรคมะเร็ง ภายใต้ชื่อ “เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง” เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบบริการที่มีผู้ป่วยและผู้รับบริการมีส่วนร่วม จนเกิดรูปธรรมของการดำเนินงานที่เรียกว่า “ศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัด” ในปี 2546 เน้นให้หน่วยบริการที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เปิดพื้นที่และมีระบบให้ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยและอาสาสมัครได้เข้ามามีส่วนร่วมในงานบริการสุขภาพ พร้อมทั้งศึกษาโครงสร้าง รูปแบบและระบบในการจัดและให้บริการร่วมกัน ระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการและอาสาสมัครผู้ป่วย
จากจุดเริ่มต้นในปี 2546 ปัจจุบันศูนย์ส่งเสริมมิตรภาพบำบัดได้ขยายความครอบคลุมไปยังโรงพยาบาลในทุกระดับมากกว่า 250 แห่งทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด และขยายผลการดำเนินงานไปสู่กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรังรวมถึงผู้ป่วยระยะสุดท้ายอื่นๆ เน้นการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้เกิดการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (Humanized Health Care) ในหน่วยบริการ โดยมีผู้ป่วยและอาสาสมัครที่มีจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมในการบริการในกิจกรรมต่างๆ เช่น การพบปะ พูดคุย แนะนำช่วยเหลือและเข้าเยี่ยมผู้ป่วยทั้งในโรงพยาบาลและที่บ้านเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง การที่ผู้ป่วยได้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการยอมรับและผ่อนคลายจากความเครียดที่เกิดจากความไม่รู้ ตลอดจนได้กำลังใจจากเพื่อนมนุษย์ที่เข้าใจและพร้อมให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีเงื่อนไข
ปีนี้เป็นปีที่ 10 ของการดำเนินงานมิตรภาพบำบัดในประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพจึงได้จัดงาน “รวมพลังพื้นที่ รวมพลคนจิตอาสา ร่วมสร้างหลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน” ขึ้นในวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 เริ่มงานในเวลา 8:00 น.ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ ถนนแจ้งวัฒนะ ในงานประกอบด้วยการบรรยายพิเศษโดยนายแพทย์ประเวศ วะสี การปาฐกถาเกียรติยศ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ครั้งที่ 5 โดย นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน การมอบรางวัลให้แก่องค์กรและจิตอาสาที่ได้รับรางวัลมิตรภาพบำบัดดีเด่นประจำปี 2555 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการเสวนา การบรรยายเคล้าเสียงเพลง “เส้นทางสายมิตรภาพ” โดย ศุ บุญเลี้ยง และอื่นๆ อีกมากมาย
คุณลุงสมพงษ์อาการดีขึ้นมากแล้ว ด้วยฝีมือการผ่าตัดที่ยอดเยี่ยมของทีมแพทย์ พยาบาล รวมทั้งได้กำลังใจอย่างเต็มเปี่ยมจากจิตอาสาในโครงการมิตรภาพบำบัด ตั้งใจว่าจะมาร่วมงานในวันพุธที่ 27 กุมภานี้ให้จงได้ และจะขอสมัครเป็นหนึ่งในจิตอาสาเพื่อแบ่งปันประสบการณ์และร่วมดูแลผู้ป่วยคนอื่นให้ผ่านช่วงเวลาที่เลวร้าย เพราะรู้ดีว่าหัวใจที่เข้มแข็งเท่านั้นจึงจะสามารถควบคุมร่างกายที่อ่อนล้าได้