“พงศ์เทพ” ย้ำรับ นร.ยึดนโยบาย สพฐ.ระบุเปลี่ยนบ่อยจะทำให้กระทบต่อเด็ก ยันจำเป็นต้องใช้คะแนน O-Net 20% พิจารณาจบช่วงชั้น ชี้ช่วยกระตุ้นให้เด็กสนใจเรียนในห้องเรียน
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า นโยบายการรับนักเรียนปีการศึกษา 2556 จะยึดตามแนวปฏิบัติการที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกาศไว้ ส่วนกรณีที่เคยปัญหาการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2555 ในส่วนของชั้นมัธยมศึกษา (ม.) ปีที่ 3 ขึ้น ม.4 ในโรงเรียนเดิมนั้น ทราบว่าในปีนี้ สพฐ.ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบใหม่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่จบ ม.3 เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนเดิมง่ายขึ้นซึ่งคาดว่าปัญหาเดิมจะลดลงได้ แต่อาจจะมีปัญหาอื่นๆ เช่น ในเรื่องของความพร้อมในการเรียนต่อสายสามัญ ที่เด็กบางคนเลือกเรียนทั้งที่ไม่มีความถนัด สุดท้ายก็จะเป็นปัญหาในการเรียนของตัวเด็กเอง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุนี้ทำให้ ศธ.พยายามส่งเสริมให้เด็กเรียนสายอาชีพมากขึ้น แต่ยืนยันว่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรในเวลานี้ เพราะการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจะทำให้เด็กเสียหาย
“ศธ.พยายามส่งเสริมเรียนอาชีวะมากขึ้น แต่การจะปรับเปลี่ยนอะไรต้องดูภาพรวมทั้งระบบ ที่สำคัญต้องเข้าใจด้วยบางครั้งผู้ปกครองและเด็กเองก็คาดหวัง และเด็กก็คิดว่าคะแนนที่เขาทำได้มีผลต่อการเรียนต่อได้ เราต้องเข้าใจว่าการศึกษาจะมัวมาเปลี่ยนแปลงอะไรบ่อยๆ ไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่กำลังทำอยู่หรือที่ทำไปแล้วปีที่ผ่านมาจะทำให้มองออกว่าผลออกมารูปแบบใด เพราะฉะนั้น เวลานี้ไม่ใช่เวลาของการมาปรับเปลี่ยนเพราะจะส่งผลเสียหาย และการเปลี่ยนใดๆ ก็ตามจะต้องบอกล่วงหน้า” นายพงศ์เทพ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ส่วนการใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) 20% มาถ่วงน้ำหนักคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ในการจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ป.6, ม.3 และ ม.6 นั้นยืนยันว่ายังคงใช้อยู่แม้จะเกิดปัญหาการจัดทดสอบ O-Net ระดับม.6 ที่ผ่านมามีความผิดพลาดแต่ก็พบว่าไม่ใช่ความผิดพลาดที่ข้อสอบ ทั้งนี้ยังจำเป็นต้องใช้ O-Net เพราะหากเรามองว่าวิชาที่ให้เด็กเรียนนั้นมีความสำคัญ และต้องการให้เด็กสนใจก็ต้องมีตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและใส่ใจต่อการเรียนในห้องมากขึ้น เหมือนที่มีการนำคะแนน O-Net มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งทำให้เด็กสนใจเรียนในห้องเรียนมากขึ้น
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า นโยบายการรับนักเรียนปีการศึกษา 2556 จะยึดตามแนวปฏิบัติการที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกาศไว้ ส่วนกรณีที่เคยปัญหาการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2555 ในส่วนของชั้นมัธยมศึกษา (ม.) ปีที่ 3 ขึ้น ม.4 ในโรงเรียนเดิมนั้น ทราบว่าในปีนี้ สพฐ.ได้มีการปรับเปลี่ยนระบบใหม่เปิดโอกาสให้นักเรียนที่จบ ม.3 เรียนต่อ ม.4 โรงเรียนเดิมง่ายขึ้นซึ่งคาดว่าปัญหาเดิมจะลดลงได้ แต่อาจจะมีปัญหาอื่นๆ เช่น ในเรื่องของความพร้อมในการเรียนต่อสายสามัญ ที่เด็กบางคนเลือกเรียนทั้งที่ไม่มีความถนัด สุดท้ายก็จะเป็นปัญหาในการเรียนของตัวเด็กเอง อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุนี้ทำให้ ศธ.พยายามส่งเสริมให้เด็กเรียนสายอาชีพมากขึ้น แต่ยืนยันว่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรในเวลานี้ เพราะการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาจะทำให้เด็กเสียหาย
“ศธ.พยายามส่งเสริมเรียนอาชีวะมากขึ้น แต่การจะปรับเปลี่ยนอะไรต้องดูภาพรวมทั้งระบบ ที่สำคัญต้องเข้าใจด้วยบางครั้งผู้ปกครองและเด็กเองก็คาดหวัง และเด็กก็คิดว่าคะแนนที่เขาทำได้มีผลต่อการเรียนต่อได้ เราต้องเข้าใจว่าการศึกษาจะมัวมาเปลี่ยนแปลงอะไรบ่อยๆ ไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่กำลังทำอยู่หรือที่ทำไปแล้วปีที่ผ่านมาจะทำให้มองออกว่าผลออกมารูปแบบใด เพราะฉะนั้น เวลานี้ไม่ใช่เวลาของการมาปรับเปลี่ยนเพราะจะส่งผลเสียหาย และการเปลี่ยนใดๆ ก็ตามจะต้องบอกล่วงหน้า” นายพงศ์เทพ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ส่วนการใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) 20% มาถ่วงน้ำหนักคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ในการจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ป.6, ม.3 และ ม.6 นั้นยืนยันว่ายังคงใช้อยู่แม้จะเกิดปัญหาการจัดทดสอบ O-Net ระดับม.6 ที่ผ่านมามีความผิดพลาดแต่ก็พบว่าไม่ใช่ความผิดพลาดที่ข้อสอบ ทั้งนี้ยังจำเป็นต้องใช้ O-Net เพราะหากเรามองว่าวิชาที่ให้เด็กเรียนนั้นมีความสำคัญ และต้องการให้เด็กสนใจก็ต้องมีตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจและใส่ใจต่อการเรียนในห้องมากขึ้น เหมือนที่มีการนำคะแนน O-Net มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยซึ่งทำให้เด็กสนใจเรียนในห้องเรียนมากขึ้น