นิด้าโพล ระบุ นักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยไว้ผมยาว ช่วยให้ไม่รู้สึกอึดอัดกับกฎระเบียบ ส่วนลดการบ้าน นักเรียนไม่เห็นด้วย เพราะการบ้านเป็นการฝึกทักษะเด็ก
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เด็กและเยาวชนไทยคิดอย่างไรกับการปล่อยผม ลดการบ้าน ปลดภาระการเรียน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2556 จากเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาค เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อกระทรวงศึกษาธิการมีมติอนุญาตให้เด็กนักเรียนสามารถไว้ผมยาวได้ และลดการบ้านลงเพื่อเป็นการลดภาระของเด็ก
จากการสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 48.88 ระบุว่า เห็นด้วยกับการให้เด็กนักเรียนสามารถไว้ผมยาวได้ เพราะทำให้เด็กรู้สึกไม่อึดอัดในกฎระเบียบ และผลการเรียนไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรงผม และร้อยละ 42.41 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะการตัดผมสั้นมีส่วนช่วยในการรักษากฎระเบียบและดูเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานภาพการเป็นนักเรียน ส่วนการลดการบ้านเด็กนักเรียนนั้น พบว่า เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 55.43 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะการบ้านถือเป็นการฝึกทักษะอย่างหนึ่งของเด็กและทำให้เด็กมีความรับผิดชอบ และ ร้อยละ 34.74 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะทำให้เด็กรู้สึกไม่เครียด ผ่อนคลาย บางครั้งครูก็ให้การบ้านเยอะเกินไป
ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับลดภาระการเรียนว่าจะช่วยพัฒนาเด็กไทยให้มีโอกาสเรียนรู้และทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากขึ้นได้หรือไม่ พบว่า เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 41.77 ระบุว่า ช่วยได้ เพราะเด็กจะได้มีเวลาในการพัฒนาฝึกฝนทักษะในด้านอื่นๆ มากขึ้น โดยเฉพาะการทำกิจกรรมนอกห้องที่เน้นการปฏิบัติ การสนทนาอภิปรายกลุ่ม และร้อยละ 31.79 ระบุว่า ช่วยไม่ได้ เพราะเกรงว่าเด็กจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่น เช่น เล่นเกม เที่ยวเตร่ และปกติเด็กก็ไม่ใส่ใจการเรียนอยู่แล้ว
ผศ.ดร.อาแว มะแส อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้เพิ่มเติมว่า “ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงความกดดันของวัยรุ่นที่มีต่อกฏระเบียบเดิมโดยเฉพาะวัยรุ่นตอนปลาย ที่ยังอยู่ในช่วงวัยรักสวยรักงาม ขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็ยังมองว่ากฏระเบียบเดิมนั้น จะเป็นตัวช่วยกำหนดหรือควบคุมพฤติกรรมของเด็กให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่อยู่นอกลู่นอกทาง ส่วนตัวมองว่า อาจจะช่วยได้ในบางกรณี เช่น หากเด็กหนีเที่ยวในช่วงเวลาเรียน ทรงผมก็จะช่วยบ่งชี้ถึงสถานภาพความเป็นนักเรียน ง่ายต่อการสังเกต เด็กก็ไม่กล้าที่จะกระทำผิด
สำหรับการบ้านที่เป็นภาระของเด็กนั้น ตนมองว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเป็นการบ้านที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การจดจำ เช่น การคำนวณ การท่องคำศัพท์ การวาดภาพศิลปะ โดยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมด้วยก็จะเกิดผลดี แต่ถ้าหากเป็นการบ้านที่ไม่เหมาะสมกับวัย หรือบางอย่างยากเกินไปก็ไม่ดีสำหรับเด็ก แต่การบ้านก็ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กในช่วงมัธยมตอนปลายที่จะต้องเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงความสมดุลกันของเนื้อหาสาระที่เด็กจะได้รับ ส่วนการทำรายงานต้องยอมรับว่าทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เด็กบางคนสามารถสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เนตและคัดลอกข้อความมาตัดแปะไว้ในรายงานอย่างงายดาย หากเป็นไปได้ที่โรงเรียนควรเพิ่มการฝึกฝนทักษะที่เน้นการปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จับกลุ่มอภิปราย แสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มให้มากขึ้น แต่ต้องพยายามเริ่มต้นตั้งแต่ในวัยเด็ก”
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “เด็กและเยาวชนไทยคิดอย่างไรกับการปล่อยผม ลดการบ้าน ปลดภาระการเรียน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2556 จากเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ จำนวน 1,252 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาค เกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อกระทรวงศึกษาธิการมีมติอนุญาตให้เด็กนักเรียนสามารถไว้ผมยาวได้ และลดการบ้านลงเพื่อเป็นการลดภาระของเด็ก
จากการสำรวจพบว่า เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 48.88 ระบุว่า เห็นด้วยกับการให้เด็กนักเรียนสามารถไว้ผมยาวได้ เพราะทำให้เด็กรู้สึกไม่อึดอัดในกฎระเบียบ และผลการเรียนไม่ได้ขึ้นอยู่กับทรงผม และร้อยละ 42.41 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะการตัดผมสั้นมีส่วนช่วยในการรักษากฎระเบียบและดูเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะสมกับสถานภาพการเป็นนักเรียน ส่วนการลดการบ้านเด็กนักเรียนนั้น พบว่า เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 55.43 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะการบ้านถือเป็นการฝึกทักษะอย่างหนึ่งของเด็กและทำให้เด็กมีความรับผิดชอบ และ ร้อยละ 34.74 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะทำให้เด็กรู้สึกไม่เครียด ผ่อนคลาย บางครั้งครูก็ให้การบ้านเยอะเกินไป
ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับลดภาระการเรียนว่าจะช่วยพัฒนาเด็กไทยให้มีโอกาสเรียนรู้และทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากขึ้นได้หรือไม่ พบว่า เด็กและเยาวชนไทย ร้อยละ 41.77 ระบุว่า ช่วยได้ เพราะเด็กจะได้มีเวลาในการพัฒนาฝึกฝนทักษะในด้านอื่นๆ มากขึ้น โดยเฉพาะการทำกิจกรรมนอกห้องที่เน้นการปฏิบัติ การสนทนาอภิปรายกลุ่ม และร้อยละ 31.79 ระบุว่า ช่วยไม่ได้ เพราะเกรงว่าเด็กจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่น เช่น เล่นเกม เที่ยวเตร่ และปกติเด็กก็ไม่ใส่ใจการเรียนอยู่แล้ว
ผศ.ดร.อาแว มะแส อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับผลการสำรวจในครั้งนี้เพิ่มเติมว่า “ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงความกดดันของวัยรุ่นที่มีต่อกฏระเบียบเดิมโดยเฉพาะวัยรุ่นตอนปลาย ที่ยังอยู่ในช่วงวัยรักสวยรักงาม ขณะที่อีกส่วนหนึ่งก็ยังมองว่ากฏระเบียบเดิมนั้น จะเป็นตัวช่วยกำหนดหรือควบคุมพฤติกรรมของเด็กให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่อยู่นอกลู่นอกทาง ส่วนตัวมองว่า อาจจะช่วยได้ในบางกรณี เช่น หากเด็กหนีเที่ยวในช่วงเวลาเรียน ทรงผมก็จะช่วยบ่งชี้ถึงสถานภาพความเป็นนักเรียน ง่ายต่อการสังเกต เด็กก็ไม่กล้าที่จะกระทำผิด
สำหรับการบ้านที่เป็นภาระของเด็กนั้น ตนมองว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเป็นการบ้านที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ การจดจำ เช่น การคำนวณ การท่องคำศัพท์ การวาดภาพศิลปะ โดยให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมด้วยก็จะเกิดผลดี แต่ถ้าหากเป็นการบ้านที่ไม่เหมาะสมกับวัย หรือบางอย่างยากเกินไปก็ไม่ดีสำหรับเด็ก แต่การบ้านก็ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กในช่วงมัธยมตอนปลายที่จะต้องเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงความสมดุลกันของเนื้อหาสาระที่เด็กจะได้รับ ส่วนการทำรายงานต้องยอมรับว่าทุกวันนี้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เด็กบางคนสามารถสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เนตและคัดลอกข้อความมาตัดแปะไว้ในรายงานอย่างงายดาย หากเป็นไปได้ที่โรงเรียนควรเพิ่มการฝึกฝนทักษะที่เน้นการปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จับกลุ่มอภิปราย แสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มให้มากขึ้น แต่ต้องพยายามเริ่มต้นตั้งแต่ในวัยเด็ก”