กมธ.วิสามัญศึกษาสลากเสนอ สำนักงานสลากฯ เปลี่ยนปรัชญาทำงานเพื่อพัฒนาสังคมมากกว่าหารายได้เข้ารัฐ แนะปรับการขายขาดให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด หลังพบเป็นต้นเหตุลอตเตอรี่แพง ด้าน ก.คลังรับปากแก้ปัญหา
ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทย วุฒิสภา นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้เข้าชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมาธิการฯ กรณีปัญหาการจำหน่ายสลากเกินราคาที่มีมานาน และหลายรัฐบาลได้พยายามแก้แต่ไม่สำเร็จ โดยนายคำนูณ สิทธิสมาน คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอให้ ทบทวนปรัชญาการดำเนินงานของสำนักงานสลากฯ ให้เป็นไปเพื่อสังคมมากกว่าการมุ่งหารายได้เข้ารัฐ โดยเริ่มต้นจากการปรับรูปแบบการจำหน่ายที่กองสลากขายขาดแก่ผู้ค้าโดยไม่รับซื้อคืน ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสลากเกินราคา ให้เป็นการจำหน่ายตามความต้องการที่แท้จริงของตลาด ซึ่งหากทำได้นอกจากจะสามารถแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาแล้วยังเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลอีกด้วย
ด้านนายมณเฑียร บุญตัน ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า แนวทางการจัดสรรเงินรายได้จากสลากผ่านกองทุนด้านการพัฒนาสังคมเป็นสิ่งที่สำนักงานสลากฯ ควรต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม โดยควรกำหนดให้เป็นปรัชญาหลักในการดำเนินงาน ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางของนานาประเทศในการบริหารจัดการสลาก
ทั้งนี้ ในที่ประชุม นายทนุศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลจะรับข้อเสนอของกรรมาธิการไปพิจารณา ส่วนการจัดสรรเงินรายได้จากสลากนั้น แต่เดิมสำนักงานสลากฯ ก็พยายามจะจัดสรรเงินมาช่วยสังคมอยู่แล้ว ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ ให้จัดสรรรายได้ไปสู่กองทุนเพื่อการพัฒนาสังคมนั้น ยินดีรับไปพิจารณาความเป็นไปได้ เพราะเป็นแนวทางที่สอดคล้องกันแต่เดิมอยู่แล้ว
ด้าน พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องกำหนดให้การจัดสรรรายได้ไปสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมถึงผู้ที่ได้รับกระทบจากปัญหาการพนันในสังคมด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ซักถามเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 ที่ ส.ส.กลุ่มหนึ่งดำเนินการอยู่ โดยได้แสดงข้อกังวลต่อการแก้ไขกฎหมายนี้หลายประการ โดยเฉพาะมาตรา 5 ที่ระบุถึงรูปแบบสลากประเภทใหม่ๆ ที่สำนักงานสลากฯ สามารถออกได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งสลากตัวเลข สลากกีฬา สลากรู้ผลทันที ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มการพนัน ดึงดูดให้ประชาชนเสียเงินมากขึ้น และมาตรา 22 ว่าด้วยการจัดสรรเงินได้จากสลากเหล่านี้ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการขัดต่อหลักกธรรมาภิบาล ซึ่งในวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ คณะกรรมาธิการจะได้จัดการสัมมนา เรื่อง “ปรัชญาและแนวทางปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากเพื่อพัฒนาสังคมไทย” เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจำหน่ายสลาก ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 306-308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2
ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทย วุฒิสภา นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และ พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์ ธารีฉัตร ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้เข้าชี้แจงและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมาธิการฯ กรณีปัญหาการจำหน่ายสลากเกินราคาที่มีมานาน และหลายรัฐบาลได้พยายามแก้แต่ไม่สำเร็จ โดยนายคำนูณ สิทธิสมาน คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอให้ ทบทวนปรัชญาการดำเนินงานของสำนักงานสลากฯ ให้เป็นไปเพื่อสังคมมากกว่าการมุ่งหารายได้เข้ารัฐ โดยเริ่มต้นจากการปรับรูปแบบการจำหน่ายที่กองสลากขายขาดแก่ผู้ค้าโดยไม่รับซื้อคืน ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสลากเกินราคา ให้เป็นการจำหน่ายตามความต้องการที่แท้จริงของตลาด ซึ่งหากทำได้นอกจากจะสามารถแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาแล้วยังเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลอีกด้วย
ด้านนายมณเฑียร บุญตัน ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า แนวทางการจัดสรรเงินรายได้จากสลากผ่านกองทุนด้านการพัฒนาสังคมเป็นสิ่งที่สำนักงานสลากฯ ควรต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม โดยควรกำหนดให้เป็นปรัชญาหลักในการดำเนินงาน ซึ่งจะสอดคล้องกับแนวทางของนานาประเทศในการบริหารจัดการสลาก
ทั้งนี้ ในที่ประชุม นายทนุศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลจะรับข้อเสนอของกรรมาธิการไปพิจารณา ส่วนการจัดสรรเงินรายได้จากสลากนั้น แต่เดิมสำนักงานสลากฯ ก็พยายามจะจัดสรรเงินมาช่วยสังคมอยู่แล้ว ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ ให้จัดสรรรายได้ไปสู่กองทุนเพื่อการพัฒนาสังคมนั้น ยินดีรับไปพิจารณาความเป็นไปได้ เพราะเป็นแนวทางที่สอดคล้องกันแต่เดิมอยู่แล้ว
ด้าน พล.ต.ต.อรรถกฤษณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องกำหนดให้การจัดสรรรายได้ไปสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมถึงผู้ที่ได้รับกระทบจากปัญหาการพนันในสังคมด้วย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ซักถามเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 ที่ ส.ส.กลุ่มหนึ่งดำเนินการอยู่ โดยได้แสดงข้อกังวลต่อการแก้ไขกฎหมายนี้หลายประการ โดยเฉพาะมาตรา 5 ที่ระบุถึงรูปแบบสลากประเภทใหม่ๆ ที่สำนักงานสลากฯ สามารถออกได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งสลากตัวเลข สลากกีฬา สลากรู้ผลทันที ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มการพนัน ดึงดูดให้ประชาชนเสียเงินมากขึ้น และมาตรา 22 ว่าด้วยการจัดสรรเงินได้จากสลากเหล่านี้ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการขัดต่อหลักกธรรมาภิบาล ซึ่งในวันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ คณะกรรมาธิการจะได้จัดการสัมมนา เรื่อง “ปรัชญาและแนวทางปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากเพื่อพัฒนาสังคมไทย” เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจำหน่ายสลาก ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ หมายเลข 306-308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2