ผศ.นพ.สุวิทย์ เจริญศักดิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ปัจจุบันมีการใช้ยาอัลปราโซแลม ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไปในทางที่ผิด เช่น นำไปใช้เป็นยานอนหลับอย่างแรงเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ หรือนำไปผสมในสารเสพติด แต่ในทางการแพทย์ การใช้ยาในทางที่ถูกต้องก็มีประโยชน์ ซึ่งยาชนิดนี้แพทย์จะนำมาใช้เพื่อการรักษาโดยมีข้อบ่งชี้หลายอย่าง
ยาอัลปราโซแลม มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น “ซาแน็กซ์โซแลม” ในทางการแพทย์เราใช้ยาอัลปราโซแลม เพื่อบรรเทาหรือรักษาอาการวิตกกังวลและอาการตื่นตระหนก หรือใช้เป็นยานอนหลับในกรณีที่จำเป็น ที่มีประสิทธิภาพดีในทางรักษา
สำหรับยาอัลปราโซแลมที่แพทย์ใช้มีอยู่ 3 ขนาด คือ 0.25 มิลลิกรัม 0.5 มิลิกรัม และขนาด 1 มิลลิกรัม โดยมีรูปร่างเม็ดรี สีที่เฉพาะตามขนาด คือสีขาว สีชมพู และสีม่วง ตามลำดับ
ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ยานี้ออกฤทธิ์เร็วหลังจากรับประทานไปประมาณ 20 นาที ดาบย่อมมีสองคมเช่นเดียวกันกับยาอัลปราโซแลม พบว่าผู้ที่ใช้ยาอาจมีอาการหลงลืม โดยจะจำเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้หลังจากที่รับประทานยาไป ทำให้เป็นที่มาในการใช้ยานี้เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ เพราะเหยื่อจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่ฤทธิ์ของยาจะคงอยู่ไม่เกิน 1 วัน และถ้าดื่มน้ำมากๆ ยาก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะจนหมด นอกจากนี้ การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติดยาได้ทั้งร่างกายและจิตใจ และหากหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา มีอาการคลื่นไส้ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้
และที่น่าเป็นห่วงคือ หากต้องรับประทานร่วมกับยาตัวอื่น เช่น ยากดหรือกระตุ้นประสาท ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะมียาหลายชนิดที่มีปฏิกิริยาต่อระดับอัลปราโซแลมในกระแสเลือดจนทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงได้ และหากรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาจะออกฤทธิ์ทำให้กดประสาทมากขึ้นและอาจกดการหายใจ ส่งผลให้หยุดหายใจได้
ดังนั้น การใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ที่เชี่ยวชาญ มีข้อบ่งชี้ในการใช้และติดตามว่ายังมีความจำเป็นในการใช้อยู่หรือไม่ หยุดใช้เมื่อเหมาะสม
ปัจจุบัน มีการควบคุมการใช้ยาอัลปราโซแลมอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิด ซึ่งหากอยู่ในมือของแพทย์ก็จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์ แต่หากอยู่ในมือของผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากผู้อื่นในทางมิชอบ ก็จะกลายเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน เนื่องจากยาอัลปราโซแลม เป็นสารประกอบที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ถ้านำไปผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ที่ดื่มมีอาการง่วงซึม มึนงง สูญเสียการทรงตัวและสูญเสียความทรงจำ ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มต้องระมัดระวังกันมากขึ้นนะครับ
----------------------------------------
ประชาสัมพันธ์แนบท้ายบทความ
ลดปัญหาเด็กติดเกม
คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญชวนพ่อแม่ผู้ปกครองร่วมอบรมในโครงการ “เกมสมดุล ชีวิตสมดุล” เพื่อปรับพฤติกรรมและลดปัญหาเด็กติดเกม ทุกวันเสาร์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2556 จำนวน 8 ครั้ง เวลา 09.00-11.30 น.หรือ 13.00-15.30 น.ณ โรงพยาบาล ศิริราช โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สมัครและสอบถามได้ที่ โทร.0 2419 4275, 08 5843 0220
ร่วมสัปดาห์ปฏิบัติธรรมวันมาฆบูชา
ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช ขอเชิญพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลสืบสานพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชา ระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00-18.00 น.ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ โทร.0-2419-9435, 0-2419-7426
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ปัจจุบันมีการใช้ยาอัลปราโซแลม ซึ่งเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไปในทางที่ผิด เช่น นำไปใช้เป็นยานอนหลับอย่างแรงเพื่อล่วงละเมิดทางเพศ หรือนำไปผสมในสารเสพติด แต่ในทางการแพทย์ การใช้ยาในทางที่ถูกต้องก็มีประโยชน์ ซึ่งยาชนิดนี้แพทย์จะนำมาใช้เพื่อการรักษาโดยมีข้อบ่งชี้หลายอย่าง
ยาอัลปราโซแลม มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น “ซาแน็กซ์โซแลม” ในทางการแพทย์เราใช้ยาอัลปราโซแลม เพื่อบรรเทาหรือรักษาอาการวิตกกังวลและอาการตื่นตระหนก หรือใช้เป็นยานอนหลับในกรณีที่จำเป็น ที่มีประสิทธิภาพดีในทางรักษา
สำหรับยาอัลปราโซแลมที่แพทย์ใช้มีอยู่ 3 ขนาด คือ 0.25 มิลลิกรัม 0.5 มิลิกรัม และขนาด 1 มิลลิกรัม โดยมีรูปร่างเม็ดรี สีที่เฉพาะตามขนาด คือสีขาว สีชมพู และสีม่วง ตามลำดับ
ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ยานี้ออกฤทธิ์เร็วหลังจากรับประทานไปประมาณ 20 นาที ดาบย่อมมีสองคมเช่นเดียวกันกับยาอัลปราโซแลม พบว่าผู้ที่ใช้ยาอาจมีอาการหลงลืม โดยจะจำเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้หลังจากที่รับประทานยาไป ทำให้เป็นที่มาในการใช้ยานี้เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ เพราะเหยื่อจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่ฤทธิ์ของยาจะคงอยู่ไม่เกิน 1 วัน และถ้าดื่มน้ำมากๆ ยาก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะจนหมด นอกจากนี้ การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติดยาได้ทั้งร่างกายและจิตใจ และหากหยุดยากระทันหันจะเกิดอาการขาดยา มีอาการคลื่นไส้ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้
และที่น่าเป็นห่วงคือ หากต้องรับประทานร่วมกับยาตัวอื่น เช่น ยากดหรือกระตุ้นประสาท ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะมียาหลายชนิดที่มีปฏิกิริยาต่อระดับอัลปราโซแลมในกระแสเลือดจนทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงได้ และหากรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาจะออกฤทธิ์ทำให้กดประสาทมากขึ้นและอาจกดการหายใจ ส่งผลให้หยุดหายใจได้
ดังนั้น การใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ที่เชี่ยวชาญ มีข้อบ่งชี้ในการใช้และติดตามว่ายังมีความจำเป็นในการใช้อยู่หรือไม่ หยุดใช้เมื่อเหมาะสม
ปัจจุบัน มีการควบคุมการใช้ยาอัลปราโซแลมอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิด ซึ่งหากอยู่ในมือของแพทย์ก็จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์ แต่หากอยู่ในมือของผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากผู้อื่นในทางมิชอบ ก็จะกลายเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน เนื่องจากยาอัลปราโซแลม เป็นสารประกอบที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ถ้านำไปผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ที่ดื่มมีอาการง่วงซึม มึนงง สูญเสียการทรงตัวและสูญเสียความทรงจำ ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มต้องระมัดระวังกันมากขึ้นนะครับ
----------------------------------------
ประชาสัมพันธ์แนบท้ายบทความ
ลดปัญหาเด็กติดเกม
คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญชวนพ่อแม่ผู้ปกครองร่วมอบรมในโครงการ “เกมสมดุล ชีวิตสมดุล” เพื่อปรับพฤติกรรมและลดปัญหาเด็กติดเกม ทุกวันเสาร์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2556 จำนวน 8 ครั้ง เวลา 09.00-11.30 น.หรือ 13.00-15.30 น.ณ โรงพยาบาล ศิริราช โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สมัครและสอบถามได้ที่ โทร.0 2419 4275, 08 5843 0220
ร่วมสัปดาห์ปฏิบัติธรรมวันมาฆบูชา
ชุมนุมพุทธธรรมศิริราช ขอเชิญพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมบำเพ็ญกุศลสืบสานพระพุทธศาสนาเนื่องในวันมาฆบูชา ระหว่างวันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 09.00-18.00 น.ณ โถงอาคาร ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ โทร.0-2419-9435, 0-2419-7426