โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
สุขภาพที่ดีนับเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสุขภาพของเหล่าเยาวชนวัยใส และจะดีเพียงไร หากพวกเขาดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้ รวมไปถึงรู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ หรือโทษต่อร่างกาย เพราะทุกวันนี้อันตรายจากของกินของใช้บางอย่างเรียกได้ว่า มีการเสนอขายถึงหน้าประตูบ้าน ประตูโรงเรียนกันเลยทีเดียว
สำหรับ ต.นาหนัง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่เด็กและเยาวชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องมาจากการดำเนินงานของ “ชมรม อย.น้อย” จาก ร.ร.นาหนังพัฒนศึกษา ซึ่งดูแลทั้งในเรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ เปรียบประหนึ่งเป็นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของ ต.นาหนัง ก็ว่าได้
น.ส.นิฤญา โคตรปะโค นักเรียนชั้น ม.5 ในฐานะเลขานุการชมรม อย.น้อย เล่าให้ฟังว่า การดำเนินงานหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การให้ความรู้และรณรงค์ความปลอดภัยด้านอาหารในโรงเรียน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอางอย่างปลอดภัย ที่ผ่านมามีวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมาให้ความรู้ และ อย.น้อยก็นำความรู้ตรงนี้ไปขยายต่อทั้งในระดับโรงเรียน เช่น การพูดหน้าเวที การจัดรายการเสียงตามสาย ระดับครอบครัว เพื่อนบ้าน และชุมชน
“อย่างนักเรียนจะรณรงค์ให้เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ปลอดภัย ไม่หลงเชื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งภายใน ร.ร.นาหนังฯ และ ร.ร.เครือข่ายแบบพี่สอนน้อง สำหรับผู้ใหญ่จะแนะนำให้เลือกใช้สิ่งของที่เป็นประโยชน์ อย่างการประกอบอาหารจะให้ใช้เกลือไอโอดีนแทนเกลือแกง เราต้องพยายามทำให้เขาเห็นข้อดีข้อเสีย เช่น ถ้าไม่อยากให้เด็กในบ้านไม่สมประกอบควรใช้เกลือไอโอดีนแทนเกลือแกง เป็นต้น”
น.ส.นิฤญา กล่าวอีกว่า และ 2.การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร อย่างอาหารภายใน ร.ร.จะตรวจสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยจากอาหารที่นักเรียนต้องรับประทานอยู่ทุกวัน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ค้าอย่างดี โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องมือในการตรวจจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ส่วนในตลาดสดจะตรวจสารปนเปื้อนในเนื้อสดและพืชผักต่างๆ เดือนละ 1-2 ครั้ง ซึ่งผลจากการดำเนินงานทำให้ไม่มีนักเรียนป่วยด้วยจากสารปนเปื้อนในอาหารแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังมีการตรวจฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย และตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วย
“รู้สึกดีใจที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของนักเรียนและคนในชุมชน เพราะการที่เรามีความรู้ในเรื่องอาหาร ยา และเครื่องสำอาง จะช่วยให้เราเลือกรับประทาน เลือกใช้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และสามารถแนะนำครอบครัวและผู้อื่นให้ปฏิบัติตามได้ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์”
จากการดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้ ร.ร.นาหนังฯ ได้รับรางวัล อย.น้อยดีเด่นระดับเขต ปี 2552 และรองชนะเลิศอันดับ 1 การนำเสนอกิจกรรม อย.น้อย ตั้งแต่ปี 2548-2555 โดย นายสมพร นนทะนำ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม อย.น้อย ร.ร.นาหนังฯ กล่าวว่า นักเรียนเป็นผู้ต้นคิดทำกิจกรรมในฐานะอาจารย์ก็มีหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมดีๆ ให้แก่นักเรียน เพราะเห็นเขาสนใจและต้องการที่จะจัดทำกิจกรรมที่ดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะนักเรียนมีสุขภาพดีสมองก็จะปลอดโปร่งส่งผลดีต่อการเรียนหนังสือ ที่สำคัญยังเป็นการบูรณาการความรู้จากวิชาที่เรียนมาใช้ประโยชน์ด้วย
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย.กล่าวว่า อย.จะสนับสนุนและขยายกิจกกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเยาวชนไทยให้สามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง ครอบครัว และสังคม ให้ปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง เชื่อว่า อีกไม่นานจะมี อย.น้อยทุกตำบล จนเป็นเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้มแข็งครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ
สุขภาพที่ดีนับเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะสุขภาพของเหล่าเยาวชนวัยใส และจะดีเพียงไร หากพวกเขาดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้ รวมไปถึงรู้จักแยกแยะว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ หรือโทษต่อร่างกาย เพราะทุกวันนี้อันตรายจากของกินของใช้บางอย่างเรียกได้ว่า มีการเสนอขายถึงหน้าประตูบ้าน ประตูโรงเรียนกันเลยทีเดียว
สำหรับ ต.นาหนัง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่เด็กและเยาวชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องมาจากการดำเนินงานของ “ชมรม อย.น้อย” จาก ร.ร.นาหนังพัฒนศึกษา ซึ่งดูแลทั้งในเรื่องอาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ เปรียบประหนึ่งเป็นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของ ต.นาหนัง ก็ว่าได้
น.ส.นิฤญา โคตรปะโค นักเรียนชั้น ม.5 ในฐานะเลขานุการชมรม อย.น้อย เล่าให้ฟังว่า การดำเนินงานหลักๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การให้ความรู้และรณรงค์ความปลอดภัยด้านอาหารในโรงเรียน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ยา และเครื่องสำอางอย่างปลอดภัย ที่ผ่านมามีวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมาให้ความรู้ และ อย.น้อยก็นำความรู้ตรงนี้ไปขยายต่อทั้งในระดับโรงเรียน เช่น การพูดหน้าเวที การจัดรายการเสียงตามสาย ระดับครอบครัว เพื่อนบ้าน และชุมชน
“อย่างนักเรียนจะรณรงค์ให้เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ปลอดภัย ไม่หลงเชื่อการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายทั้งภายใน ร.ร.นาหนังฯ และ ร.ร.เครือข่ายแบบพี่สอนน้อง สำหรับผู้ใหญ่จะแนะนำให้เลือกใช้สิ่งของที่เป็นประโยชน์ อย่างการประกอบอาหารจะให้ใช้เกลือไอโอดีนแทนเกลือแกง เราต้องพยายามทำให้เขาเห็นข้อดีข้อเสีย เช่น ถ้าไม่อยากให้เด็กในบ้านไม่สมประกอบควรใช้เกลือไอโอดีนแทนเกลือแกง เป็นต้น”
น.ส.นิฤญา กล่าวอีกว่า และ 2.การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร อย่างอาหารภายใน ร.ร.จะตรวจสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยจากอาหารที่นักเรียนต้องรับประทานอยู่ทุกวัน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ค้าอย่างดี โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องมือในการตรวจจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ส่วนในตลาดสดจะตรวจสารปนเปื้อนในเนื้อสดและพืชผักต่างๆ เดือนละ 1-2 ครั้ง ซึ่งผลจากการดำเนินงานทำให้ไม่มีนักเรียนป่วยด้วยจากสารปนเปื้อนในอาหารแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังมีการตรวจฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย และตรวจสอบโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วย
“รู้สึกดีใจที่มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของนักเรียนและคนในชุมชน เพราะการที่เรามีความรู้ในเรื่องอาหาร ยา และเครื่องสำอาง จะช่วยให้เราเลือกรับประทาน เลือกใช้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และสามารถแนะนำครอบครัวและผู้อื่นให้ปฏิบัติตามได้ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์”
จากการดำเนินงานดังกล่าวส่งผลให้ ร.ร.นาหนังฯ ได้รับรางวัล อย.น้อยดีเด่นระดับเขต ปี 2552 และรองชนะเลิศอันดับ 1 การนำเสนอกิจกรรม อย.น้อย ตั้งแต่ปี 2548-2555 โดย นายสมพร นนทะนำ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรม อย.น้อย ร.ร.นาหนังฯ กล่าวว่า นักเรียนเป็นผู้ต้นคิดทำกิจกรรมในฐานะอาจารย์ก็มีหน้าที่สนับสนุนกิจกรรมดีๆ ให้แก่นักเรียน เพราะเห็นเขาสนใจและต้องการที่จะจัดทำกิจกรรมที่ดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะนักเรียนมีสุขภาพดีสมองก็จะปลอดโปร่งส่งผลดีต่อการเรียนหนังสือ ที่สำคัญยังเป็นการบูรณาการความรู้จากวิชาที่เรียนมาใช้ประโยชน์ด้วย
ด้าน นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการ อย.กล่าวว่า อย.จะสนับสนุนและขยายกิจกกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเยาวชนไทยให้สามารถปกป้องคุ้มครองตนเอง ครอบครัว และสังคม ให้ปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพแข็งแรง เชื่อว่า อีกไม่นานจะมี อย.น้อยทุกตำบล จนเป็นเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้มแข็งครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ