ตามคาด! สิทธิข้าราชการใช้บริการฉุกเฉิน 3 กองทุน มากสุด 49% พบขาประจำ 1 ราย ใช้บริการสูงสุด 15 ครั้ง สปสช.เผย จ่ายเงินชดเชยแล้ว 254 ล้านบาท พร้อมสำรองจ่ายแทน สปส.และกรมบัญชีกลางอีก 121 ล้านบาท แต่ยังไม่ได้เงินคืนเหตุติดกฎระเบียบ
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการรายงานผลการดำเนินงานระบบบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินของ 3 กองทุน ในที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า มีสิ่งที่น่าสนใจ 4 ส่วน คือ 1.ประชาชนประมาณร้อยละ 40 ไม่เข้าใจสิทธิประโยชน์อย่างชัดเจนถึงคำว่าเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทำให้มีปัญหาเบิกค่าใช้จ่ายไม่ได้ ตรงนี้ต้องมีการแก้ไขให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น 2.อัตราค่าเบิกจ่าย แม้ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก แต่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาต้นทุน 3.ให้โรงพยาบาลแจ้งสิทธิให้ผู้ป่วยทราบ หากพบว่าผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิกรณีฉุกเฉินได้ เพื่อลดปัญหาประชาชนไม่ทราบสิทธิ และต้องจ่ายเงินไปก่อนแล้วมาขอคืนทีหลัง ซึ่งบางครั้งอาจเรียกคืนได้ไม่เท่าจำนวนที่จ่ายไป และ 4.การส่งต่อผู้ป่วยกรณีพ้นภาวะวิกฤต จะมีการสำรองเตียงไว้ในส่วนของโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงจะติดต่อประสานงานให้โรงพยาบาลสังกัด กทม.มีการสำรองเตียงด้วย เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการหลักในเขต กทม.
ด้าน ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำเสนอผลการดำเนินงานระบบบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินของ 3 กองทุน ในการประชุมบอร์ด สปสช.ว่า ผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-31 ธ.ค.2555 พบว่า มีจำนวนการรับบริการทั้งสิ้น 14,525 คน 15,708 ครั้ง แยกเป็น สิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 7,731 ครั้ง หรือร้อยละ 49 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง 6,878 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 44 ประกันสังคม 1,063 ครั้ง หรือร้อยละ 7 และอื่นๆ 36 ครั้ง ทั้งนี้ มีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการมากกว่า 5 ครั้ง จำนวน 10 ราย โดยผู้ป่วยที่เข้ารับบริการมากสุด คือ 15 ครั้ง จำนวน 1 ราย รองลงมา 14 ครั้ง จำนวน 1 ราย 9 ครั้ง จำนวน 1 ราย 7 ครั้ง จำนวน 3 ราย และ 6 ครั้ง จำนวน 4 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยกลุ่มอาการหลักที่เข้ารับบริการ 6 อันดับแรก คือ โรคระบบทางเดินหายใจ อาการฉุกเฉินปวดท้องรุนแรง ถ่ายท้อง ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ อาการฉุกเฉินอื่นๆ เช่น หมดสติ ไม่หายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด อาการฉุกเฉินไข้สูง อ่อนเพลียมาก และโรคระบบสมอง ระบบประสาท
ภญ.เนตรนภิส กล่าวอีกว่า สำหรับการเบิกชดเชยค่าบริการฉุกเฉินของ 3 กองทุน มีการจ่ายเงินชดเชยไปแล้วราว 254 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31 จากจำนวนค่ารักษาที่เรียกเก็บเข้ามาประมาณ 813 ล้านบาท หากพิจารณาเฉพาะในส่วนของการเรียกเก็บจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม โดยภาพรวม สปสช.ได้สำรองค่าใช้จ่ายให้กับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและประกันสังคมไปแล้ว 121 ล้านบาท ยังไม่ได้รับเงินชดเชยจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง เนื่องจากอยู่ระหว่างการรอปรับแก้กฎระเบียบ ส่วนโรงพยาบาลที่ได้รับการชดเชยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ รพ.รามคำแหง จ่ายชดเชยประมาณ 18 ล้านบาท รพ.ธนบุรี ราว 10 ล้านบาท และ รพ.เกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์ ประมาณ 7 ล้านบาท
“ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องติดตามแก้ไข ประกอบด้วย การทำความชัดเจนเกี่ยวกับนิยามการเจ็บป่วยฉุกเฉิน การจัดการปัญหาประชาชนถูกเรียกเก็บเงิน การจัดระบบสำรองเตียงโดยเฉพาะในเขตกทม.และปริมณฑล เพื่อแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเมื่อพ้นภาวะวิกฤต และทบทวนอัตราจ่ายตามข้อเสนอของโรงพยาบาลเอกชน” ผช.เลขาธิการ สปสช.กล่าว
อนึ่ง การเจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึงการได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตและการทำงานของอวัยวะ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการ และการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บ หรืออาการเจ็บป่วยนั้น โดยมีระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 2 ระดับ ได้แก่ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ หรือ สีแดง และผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน หรือ สีเหลือง
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า จากการรายงานผลการดำเนินงานระบบบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินของ 3 กองทุน ในที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า มีสิ่งที่น่าสนใจ 4 ส่วน คือ 1.ประชาชนประมาณร้อยละ 40 ไม่เข้าใจสิทธิประโยชน์อย่างชัดเจนถึงคำว่าเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทำให้มีปัญหาเบิกค่าใช้จ่ายไม่ได้ ตรงนี้ต้องมีการแก้ไขให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้น 2.อัตราค่าเบิกจ่าย แม้ยังไม่ใช่ประเด็นสำคัญนัก แต่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาต้นทุน 3.ให้โรงพยาบาลแจ้งสิทธิให้ผู้ป่วยทราบ หากพบว่าผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิกรณีฉุกเฉินได้ เพื่อลดปัญหาประชาชนไม่ทราบสิทธิ และต้องจ่ายเงินไปก่อนแล้วมาขอคืนทีหลัง ซึ่งบางครั้งอาจเรียกคืนได้ไม่เท่าจำนวนที่จ่ายไป และ 4.การส่งต่อผู้ป่วยกรณีพ้นภาวะวิกฤต จะมีการสำรองเตียงไว้ในส่วนของโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงจะติดต่อประสานงานให้โรงพยาบาลสังกัด กทม.มีการสำรองเตียงด้วย เนื่องจากเป็นผู้ให้บริการหลักในเขต กทม.
ด้าน ภญ.เนตรนภิส สุชนวนิช ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำเสนอผลการดำเนินงานระบบบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินของ 3 กองทุน ในการประชุมบอร์ด สปสช.ว่า ผลการดำเนินงานในรอบ 9 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-31 ธ.ค.2555 พบว่า มีจำนวนการรับบริการทั้งสิ้น 14,525 คน 15,708 ครั้ง แยกเป็น สิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 7,731 ครั้ง หรือร้อยละ 49 หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือบัตรทอง 6,878 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 44 ประกันสังคม 1,063 ครั้ง หรือร้อยละ 7 และอื่นๆ 36 ครั้ง ทั้งนี้ มีผู้ป่วยที่เข้ารับบริการมากกว่า 5 ครั้ง จำนวน 10 ราย โดยผู้ป่วยที่เข้ารับบริการมากสุด คือ 15 ครั้ง จำนวน 1 ราย รองลงมา 14 ครั้ง จำนวน 1 ราย 9 ครั้ง จำนวน 1 ราย 7 ครั้ง จำนวน 3 ราย และ 6 ครั้ง จำนวน 4 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยกลุ่มอาการหลักที่เข้ารับบริการ 6 อันดับแรก คือ โรคระบบทางเดินหายใจ อาการฉุกเฉินปวดท้องรุนแรง ถ่ายท้อง ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ อาการฉุกเฉินอื่นๆ เช่น หมดสติ ไม่หายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด อาการฉุกเฉินไข้สูง อ่อนเพลียมาก และโรคระบบสมอง ระบบประสาท
ภญ.เนตรนภิส กล่าวอีกว่า สำหรับการเบิกชดเชยค่าบริการฉุกเฉินของ 3 กองทุน มีการจ่ายเงินชดเชยไปแล้วราว 254 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31 จากจำนวนค่ารักษาที่เรียกเก็บเข้ามาประมาณ 813 ล้านบาท หากพิจารณาเฉพาะในส่วนของการเรียกเก็บจากสิทธิสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม โดยภาพรวม สปสช.ได้สำรองค่าใช้จ่ายให้กับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและประกันสังคมไปแล้ว 121 ล้านบาท ยังไม่ได้รับเงินชดเชยจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง เนื่องจากอยู่ระหว่างการรอปรับแก้กฎระเบียบ ส่วนโรงพยาบาลที่ได้รับการชดเชยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ รพ.รามคำแหง จ่ายชดเชยประมาณ 18 ล้านบาท รพ.ธนบุรี ราว 10 ล้านบาท และ รพ.เกษมราษฎร์รัตนาธิเบศร์ ประมาณ 7 ล้านบาท
“ปัญหาเร่งด่วนที่ต้องติดตามแก้ไข ประกอบด้วย การทำความชัดเจนเกี่ยวกับนิยามการเจ็บป่วยฉุกเฉิน การจัดการปัญหาประชาชนถูกเรียกเก็บเงิน การจัดระบบสำรองเตียงโดยเฉพาะในเขตกทม.และปริมณฑล เพื่อแก้ปัญหาการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเมื่อพ้นภาวะวิกฤต และทบทวนอัตราจ่ายตามข้อเสนอของโรงพยาบาลเอกชน” ผช.เลขาธิการ สปสช.กล่าว
อนึ่ง การเจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึงการได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตและการทำงานของอวัยวะ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน การจัดการ และการบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บ หรืออาการเจ็บป่วยนั้น โดยมีระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 2 ระดับ ได้แก่ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ หรือ สีแดง และผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน หรือ สีเหลือง