มศว เสนอสร้าง ร.ร.ใช้งบน้อย ผลสัมฤทธิ์เลิศ หลังดูงานต่างแดน ชี้ ทางรัฐฯ ขอทุนคนรุ่นใหม่ไฟแรง ความคิดก้าวหน้า เปิด ร.ร.แข่งสพฐ.
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า มศว จะปฏิรูปการศึกษาศาสตร์และจะนำการศึกษาศาสตร์มาเป็นที่พึ่งให้กับวงการศึกษาของชาติ ตนเองจึงนำทีมโรงเรียนสาธิตในสังกัดมศว ทั้ง 5 คือ ร.ร.สาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ร.ร.สาธิต มศว ปทุมวัน ร.ร.สาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ร.ร.สาธิต มศว องครักษ์ ร.ร.สาธิต มศว สมเด็จย่า จ.เชียงใหม่ และสถาบันวิจัย พัฒนาและสาธิตการศึกษา ไปดูงานด้านการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไปดูงาน ร.ร.ในสังกัดรัฐบาล ที่ใช้บุคคลซึ่งมีแรงบันดาลใจอยากจะทำโรงเรียน มีความมุ่งมั่นและความพยายาม มีความคิดก้าวหน้า โดยใช้งบประมาณของรัฐบาลที่น้อยกว่าร.ร.ในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสหรัฐอเมริกา การที่รัฐบาลให้งบประมาณกลุ่มคนที่มีความตั้งใจอยากเห็นการศึกษาในสหรัฐฯ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำโรงเรียนภายใต้งบประมาณที่น้อยกว่า นั้นก็เพื่ออยากให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานของบุคลากรใน แวดวง ร.ร.การศึกษาขั้นพื้นฐานในสหรัฐอเมริกา เพื่อจะลดความคิดความเชื่อ ที่ว่าการจัดการศึกษาให้เกิดคุณภาพต้องใช้งบประมาณที่สูง เหมือนกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนเอกชน ซึ่งมีการลงทุนที่สูงมาก มีตึกหรูหรา เครื่องใช้ และอุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัย เราต้องการลดความเชื่อเหล่านี้
“กลุ่มคนหัวก้าวหน้ารุ่นใหม่ในรัฐเทกซัส จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า KIPP Public Charter Schools และ KIPP Explore ด้วยงบประมาณของรัฐบาลที่ใช้ไม่มาก ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ตึกและสนามที่สมบูรณ์ เพียบพร้อมจึงไม่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ที่ผมพาทีมงาน ร.ร.สาธิต มศว ทั้ง 5 แห่งไปดูงานเพราะต้องการล้มล้างความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า ร.ร.เอกชน หรือ ร.ร.ที่ใช้งบประมาณสูงริบเป็น ร.ร.ที่ดี มีคุณภาพ และต้องมีงบประมาณมาก สามารถคัดเด็กเก่งเข้าเรียนในโรงเรียนได้ เป็นลูกหลานของคนที่มีฐานะดี ร.ร.ที่ผมไปดูงานมานั้น ใช้งบประมาณน้อยและไม่เลือกเด็กเข้าเรียน เด็กๆ มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ทำให้เรารู้ว่าากระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดการในโรงเรียนสำคัญกว่า เด็กๆ ที่เรารับเข้าเรียน สิ่งนี้น่าจะเป็นกำลังใจให้ชาว มศว ได้ว่า ตัวนิสิตที่เรารับเข้ามาเรียน ไม่ใช่คนที่ทำคะแนนได้สูงเลิศในระดับประเทศ งบประมาณที่ มศว ได้รับก็ไม่มากเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยใหญ่ การจะทำให้ความสำเร็จในตัวเด็กเกิดขึ้นมาได้นั้น ต้องผ่านการทำงานหนักของครูภายในโรงเรียน กินข้าวกลางวันไม่เกิน 20 นาที ตอนเช้าต้องมาถึงโรงรียนในเวลา 07.00 น.กลับออกจากโรงเรียน 18.00 น.วันเสาร์-อาทิตย์ ต้องมาทำงาน เงินเดือนครูไม่มาก มีการสอบสัมภาษณ์ก่อนมาเป็นครูว่าต้องการเงินเดือนสูงหรือไม่ เขารับคนเข้าทำงานโดยไม่เรียกร้องเงินเดือนสูง แต่ต้องการคนที่มีอุดมการณ์ในการทำงาน อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา”
ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า สำหรับ KIPP Public Charter Schools เปิดมาแล้ว 10 ปี การทำงานหนักเอาจริงเอาจังของครูทำให้พบว่า การสอบวัดผลทางการศึกษาระดับรัฐเด็กได้คะแนนสูงขึ้น และผลการสอบเข้าศึกษาต่อเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย จากเดิมมีเพียง 6% เท่านั้น ตอนนี้สามารถส่งเด็กเข้าสู่ระบบศึกษาต่อ เทียบเท่ากับกลุ่มคนชั้นกลางที่มีโอกาสศึกษาต่อถึง 42% และทางโรงเรียนตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะสนับสนุนให้เด็กเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยเท่ากับกลุ่มคนชั้นสูงที่มีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัย คือ 80% ในอีกไม่ช้า
ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ตนเองอยากนำเสนอความคิดต่อรัฐบาล ว่า ลองให้งบประมาณกลุ่มคนที่มีความคิดก้าวหน้า และลองทำโรงเรียนที่คล้ายกับ Charter Schools โดยให้งบประมาณนิสิต นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา กศบ.5 ปี จากนั้นไปเรียนการจัดการบริหารเพื่อมาบริหารโรงเรียน ก่อนจะรับงบประมาณของรัฐบาล เพื่อเปิด Charter Schools และทำคู่ไปกับ ร.ร.ในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้งบประมาณที่น้อยกว่า แต่ต้องบริหารจัดการโรงเรียนให้ได้คุณภาพที่มากกว่า หากเราไม่ทดลอง การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาไทยก็ไม่เกิด ผมอยากเห็นรัฐบาลลองและให้โอกาสคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า เพื่อร่วมเปลี่ยนแปลงปฎิรูปการศึกษาของประเทศ ซึ่งตนเองยินดีช่วยเหลือและร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด
ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า มศว จะปฏิรูปการศึกษาศาสตร์และจะนำการศึกษาศาสตร์มาเป็นที่พึ่งให้กับวงการศึกษาของชาติ ตนเองจึงนำทีมโรงเรียนสาธิตในสังกัดมศว ทั้ง 5 คือ ร.ร.สาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ร.ร.สาธิต มศว ปทุมวัน ร.ร.สาธิต มศว ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ร.ร.สาธิต มศว องครักษ์ ร.ร.สาธิต มศว สมเด็จย่า จ.เชียงใหม่ และสถาบันวิจัย พัฒนาและสาธิตการศึกษา ไปดูงานด้านการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไปดูงาน ร.ร.ในสังกัดรัฐบาล ที่ใช้บุคคลซึ่งมีแรงบันดาลใจอยากจะทำโรงเรียน มีความมุ่งมั่นและความพยายาม มีความคิดก้าวหน้า โดยใช้งบประมาณของรัฐบาลที่น้อยกว่าร.ร.ในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสหรัฐอเมริกา การที่รัฐบาลให้งบประมาณกลุ่มคนที่มีความตั้งใจอยากเห็นการศึกษาในสหรัฐฯ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำโรงเรียนภายใต้งบประมาณที่น้อยกว่า นั้นก็เพื่ออยากให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานของบุคลากรใน แวดวง ร.ร.การศึกษาขั้นพื้นฐานในสหรัฐอเมริกา เพื่อจะลดความคิดความเชื่อ ที่ว่าการจัดการศึกษาให้เกิดคุณภาพต้องใช้งบประมาณที่สูง เหมือนกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนเอกชน ซึ่งมีการลงทุนที่สูงมาก มีตึกหรูหรา เครื่องใช้ และอุปกรณ์การเรียนที่ทันสมัย เราต้องการลดความเชื่อเหล่านี้
“กลุ่มคนหัวก้าวหน้ารุ่นใหม่ในรัฐเทกซัส จึงได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า KIPP Public Charter Schools และ KIPP Explore ด้วยงบประมาณของรัฐบาลที่ใช้ไม่มาก ข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ตึกและสนามที่สมบูรณ์ เพียบพร้อมจึงไม่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ที่ผมพาทีมงาน ร.ร.สาธิต มศว ทั้ง 5 แห่งไปดูงานเพราะต้องการล้มล้างความเชื่อเดิมๆ ที่ว่า ร.ร.เอกชน หรือ ร.ร.ที่ใช้งบประมาณสูงริบเป็น ร.ร.ที่ดี มีคุณภาพ และต้องมีงบประมาณมาก สามารถคัดเด็กเก่งเข้าเรียนในโรงเรียนได้ เป็นลูกหลานของคนที่มีฐานะดี ร.ร.ที่ผมไปดูงานมานั้น ใช้งบประมาณน้อยและไม่เลือกเด็กเข้าเรียน เด็กๆ มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ ทำให้เรารู้ว่าากระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดการในโรงเรียนสำคัญกว่า เด็กๆ ที่เรารับเข้าเรียน สิ่งนี้น่าจะเป็นกำลังใจให้ชาว มศว ได้ว่า ตัวนิสิตที่เรารับเข้ามาเรียน ไม่ใช่คนที่ทำคะแนนได้สูงเลิศในระดับประเทศ งบประมาณที่ มศว ได้รับก็ไม่มากเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยใหญ่ การจะทำให้ความสำเร็จในตัวเด็กเกิดขึ้นมาได้นั้น ต้องผ่านการทำงานหนักของครูภายในโรงเรียน กินข้าวกลางวันไม่เกิน 20 นาที ตอนเช้าต้องมาถึงโรงรียนในเวลา 07.00 น.กลับออกจากโรงเรียน 18.00 น.วันเสาร์-อาทิตย์ ต้องมาทำงาน เงินเดือนครูไม่มาก มีการสอบสัมภาษณ์ก่อนมาเป็นครูว่าต้องการเงินเดือนสูงหรือไม่ เขารับคนเข้าทำงานโดยไม่เรียกร้องเงินเดือนสูง แต่ต้องการคนที่มีอุดมการณ์ในการทำงาน อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา”
ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวอีกว่า สำหรับ KIPP Public Charter Schools เปิดมาแล้ว 10 ปี การทำงานหนักเอาจริงเอาจังของครูทำให้พบว่า การสอบวัดผลทางการศึกษาระดับรัฐเด็กได้คะแนนสูงขึ้น และผลการสอบเข้าศึกษาต่อเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย จากเดิมมีเพียง 6% เท่านั้น ตอนนี้สามารถส่งเด็กเข้าสู่ระบบศึกษาต่อ เทียบเท่ากับกลุ่มคนชั้นกลางที่มีโอกาสศึกษาต่อถึง 42% และทางโรงเรียนตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะสนับสนุนให้เด็กเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยเท่ากับกลุ่มคนชั้นสูงที่มีโอกาสเข้ามหาวิทยาลัย คือ 80% ในอีกไม่ช้า
ผศ.นพ.เฉลิมชัย กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ตนเองอยากนำเสนอความคิดต่อรัฐบาล ว่า ลองให้งบประมาณกลุ่มคนที่มีความคิดก้าวหน้า และลองทำโรงเรียนที่คล้ายกับ Charter Schools โดยให้งบประมาณนิสิต นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา กศบ.5 ปี จากนั้นไปเรียนการจัดการบริหารเพื่อมาบริหารโรงเรียน ก่อนจะรับงบประมาณของรัฐบาล เพื่อเปิด Charter Schools และทำคู่ไปกับ ร.ร.ในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้งบประมาณที่น้อยกว่า แต่ต้องบริหารจัดการโรงเรียนให้ได้คุณภาพที่มากกว่า หากเราไม่ทดลอง การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาไทยก็ไม่เกิด ผมอยากเห็นรัฐบาลลองและให้โอกาสคนรุ่นใหม่ที่มีความคิดก้าวหน้า เพื่อร่วมเปลี่ยนแปลงปฎิรูปการศึกษาของประเทศ ซึ่งตนเองยินดีช่วยเหลือและร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด