สวนดุสิตโพลเผยผลสำรวจคนกรุงที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ระบุคนกรุงสนใจนโยบายฯ ที่คิดว่าน่าเป็นไปได้จริง 61.04% รองลงมาดูกระแสตอบรับของคนส่วนใหญ่ พบการหาเสียงของผู้สมัครผ่านสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่มีการแข่งขันกันอย่างมากทั้งในแง่ของการหาเสียง การนำเสนอนโยบายและการมุ่งหาคะแนนนิยมให้กับผู้สมัครแต่ละคน เพื่อที่จะรู้ถึงพฤติกรรมของคน กทม. กรณีการเลือกตั้งและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะการเปลี่ยนใจเมื่อมีการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละคน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้ง 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 1,250 คน ระหว่างวันที่ 28 ม.ค. - 2 ก.พ. 2556 เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้สมัคร และสื่อมวลชน ในการที่จะตอบสนองผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ตรงกับความต้องการ สรุปผลได้ ดังนี้
ปัจจัยใดบ้างที่มีผลทำให้คนกรุงเทพฯ เปลี่ยนใจเลือกผู้สมัครคนใหม่จากเดิมที่ตั้งใจไว้ อันดับ 1ผู้สมัครคนอื่นมีนโยบายที่น่าสนใจกว่า เมื่อฟังแล้วรู้สึกถูกใจและคิดว่าน่าจะเป็นไปได้จริง 61.04% อันดับ 2 ดูจากกระแสหรือการตอบรับของคนส่วนใหญ่/ผู้สมัครมีผลงานดีขึ้นเรื่อยๆ 17.60% อันดับ 3 ดูจากบุคลิกลักษณะ ความน่าเชื่อถือ/ผู้ที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในสังคมรับประกัน 12.35% อันดับ 4 มีประวัติเสื่อมเสีย ด่างพร้อย พัวพันการทุจริตคอร์รัปชันหรือยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 5.24% อันดับ 5 การพูดใส่ร้ายคนอื่น คอยแต่หาเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง 3.77%
การหาเสียงผู้ว่าฯ กทม.ครั้งก่อน กับครั้งนี้ต่างกันหรือไม่ อันดับ 1 ไม่ต่างกัน 59.54% เพราะ ยังคงเป็นการแข่งขันกันระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่, เน้นการลงพื้นที่และชูนโยบายที่เอาใจคนกรุงเทพฯ เหมือนเดิม ฯลฯ อันดับ 2 ต่างกัน 40.46% เพราะผู้สมัครครั้งนี้ต่างเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มาจากหลากหลายอาชีพ เป็นคนคุณภาพที่อาสาเข้ามาทำงาน, รูปแบบการหาเสียงเน้นผ่านสังคมออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ฯลฯ
การนำเสนอข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ของสื่อมวลชนทั้งทีวี วิทยุ นสพ.ที่คนกรุงเทพฯชื่นชอบ คือ อันดับ 1 การสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้สมัครเบอร์ต่างๆ เปิดโอกาสให้นำเสนอนโยบายแสดงวิสัยทัศน์ได้อย่างอิสระ 53.81% อันดับ 2 เกาะติดสถานการณ์ นำเสนอข่าวรวดเร็ว/รายงานความเคลื่อนไหวหรือมีข่าวให้ติดตามตลอดทั้งวัน 27.94% อันดับ 3 การนำเสนอผลหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลข จัดอันดับเปรียบเทียบที่ดูเข้าใจง่าย มีภาพหรือกราฟิกประกอบ 18.25%
การนำเสนอข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ของสื่อมวลชนทั้งทีวี วิทยุ นสพ.ที่คนกรุงเทพฯ ไม่ชอบ/เบื่อหน่าย คือ อันดับ 1 นำเสนอข่าวไม่เป็นกลาง ลำเอียง เลือกข้าง เลือกนำเสนอเฉพาะบางคน 38.36% อันดับ 2 นำเสนอข่าวเกินความเป็นจริง ตีไข่ใส่สีให้ทะเลาะกัน/ขุดคุ้ยเรื่องเก่ามาโจมตี ใส่ร้ายผู้สมัคร 31.48% อันดับ 3 นำเสนอข่าวเพียงด้านเดียว ไม่ได้นำเสนอทั้งหมด/เลือกเฉพาะประเด็นที่คิดว่าขายได้เท่านั้น 30.16%
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่มีการแข่งขันกันอย่างมากทั้งในแง่ของการหาเสียง การนำเสนอนโยบายและการมุ่งหาคะแนนนิยมให้กับผู้สมัครแต่ละคน เพื่อที่จะรู้ถึงพฤติกรรมของคน กทม. กรณีการเลือกตั้งและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะการเปลี่ยนใจเมื่อมีการหาเสียงของผู้สมัครแต่ละคน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้ง 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 1,250 คน ระหว่างวันที่ 28 ม.ค. - 2 ก.พ. 2556 เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้สมัคร และสื่อมวลชน ในการที่จะตอบสนองผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ตรงกับความต้องการ สรุปผลได้ ดังนี้
ปัจจัยใดบ้างที่มีผลทำให้คนกรุงเทพฯ เปลี่ยนใจเลือกผู้สมัครคนใหม่จากเดิมที่ตั้งใจไว้ อันดับ 1ผู้สมัครคนอื่นมีนโยบายที่น่าสนใจกว่า เมื่อฟังแล้วรู้สึกถูกใจและคิดว่าน่าจะเป็นไปได้จริง 61.04% อันดับ 2 ดูจากกระแสหรือการตอบรับของคนส่วนใหญ่/ผู้สมัครมีผลงานดีขึ้นเรื่อยๆ 17.60% อันดับ 3 ดูจากบุคลิกลักษณะ ความน่าเชื่อถือ/ผู้ที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในสังคมรับประกัน 12.35% อันดับ 4 มีประวัติเสื่อมเสีย ด่างพร้อย พัวพันการทุจริตคอร์รัปชันหรือยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 5.24% อันดับ 5 การพูดใส่ร้ายคนอื่น คอยแต่หาเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง 3.77%
การหาเสียงผู้ว่าฯ กทม.ครั้งก่อน กับครั้งนี้ต่างกันหรือไม่ อันดับ 1 ไม่ต่างกัน 59.54% เพราะ ยังคงเป็นการแข่งขันกันระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่, เน้นการลงพื้นที่และชูนโยบายที่เอาใจคนกรุงเทพฯ เหมือนเดิม ฯลฯ อันดับ 2 ต่างกัน 40.46% เพราะผู้สมัครครั้งนี้ต่างเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มาจากหลากหลายอาชีพ เป็นคนคุณภาพที่อาสาเข้ามาทำงาน, รูปแบบการหาเสียงเน้นผ่านสังคมออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ฯลฯ
การนำเสนอข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ของสื่อมวลชนทั้งทีวี วิทยุ นสพ.ที่คนกรุงเทพฯชื่นชอบ คือ อันดับ 1 การสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้สมัครเบอร์ต่างๆ เปิดโอกาสให้นำเสนอนโยบายแสดงวิสัยทัศน์ได้อย่างอิสระ 53.81% อันดับ 2 เกาะติดสถานการณ์ นำเสนอข่าวรวดเร็ว/รายงานความเคลื่อนไหวหรือมีข่าวให้ติดตามตลอดทั้งวัน 27.94% อันดับ 3 การนำเสนอผลหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลข จัดอันดับเปรียบเทียบที่ดูเข้าใจง่าย มีภาพหรือกราฟิกประกอบ 18.25%
การนำเสนอข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ของสื่อมวลชนทั้งทีวี วิทยุ นสพ.ที่คนกรุงเทพฯ ไม่ชอบ/เบื่อหน่าย คือ อันดับ 1 นำเสนอข่าวไม่เป็นกลาง ลำเอียง เลือกข้าง เลือกนำเสนอเฉพาะบางคน 38.36% อันดับ 2 นำเสนอข่าวเกินความเป็นจริง ตีไข่ใส่สีให้ทะเลาะกัน/ขุดคุ้ยเรื่องเก่ามาโจมตี ใส่ร้ายผู้สมัคร 31.48% อันดับ 3 นำเสนอข่าวเพียงด้านเดียว ไม่ได้นำเสนอทั้งหมด/เลือกเฉพาะประเด็นที่คิดว่าขายได้เท่านั้น 30.16%