อย.ดำเนินคดีผู้กระทำผิด พ.ร.บ.ที่ดูแล เดือน พ.ย.2555 รวม 91 ราย มูลค่ารวมกว่า 1.1 ล้านบาท เตือน ปชช.ระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพโฆษณาสรรพคุณโอ้อวดเกินจริง เสี่ยงอันตราย ลดโอกาสการรักษา ย้ำ ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อ
วันนี้ (30 ม.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการที่ อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่างๆ ในช่วงเดือน พ.ย.2555 พบว่า ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 59 ราย พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 17 ราย พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2531 จำนวน 10 ราย และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 จำนวน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 91 ราย คิดเป็นมูลค่า 1,155,000 บาท โดยในส่วนของ พ.ร.บ.อาหาร ได้เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดในกรณีต่างๆ เช่น อาหารนำเข้าจากต่างประเทศพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักผลไม้ต่างๆ จึงดำเนินคดีในข้อหานำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน พบวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล โซเดียมไซคลาเมตในมะเขือเทศอบแห้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งมีความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า ขณะที่การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆ พบว่า ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นโฆษณาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงและไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โฆษณาอวดอ้างช่วยลดน้ำหนัก ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ภูมิแพ้ โรคหอบหืด โลหิตจาง เป็นต้น เข้าข่ายโฆษณาที่หลอกลวงโอ้อวดเกินจริง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีสรรพคุณในทางยาดังที่โฆษณา จากการตรวจสอบ พบว่า มีการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวมากถึง 40 ราย สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทผ่านผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้า เครื่องนวดไฟฟ้า โดยโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 10 ราย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จำนวน 4 ราย
“ขอเตือนประชาชนอย่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้ขออนุญาตจาก อย.ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่ได้ผลตามที่โฆษณาอวดอ้าง ที่สำคัญ อาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง” เลขาธิการ อย.กล่าว
ทั้งนี้ อย.ได้มีการดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ในความรับผิดชอบของ อย.เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้กระทำผิดพร้อมรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th คลิก “ผลการดำเนินคดี” เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและหากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องขออนุญาตจาก อย.แต่ไม่ขออนุญาต หรือพบการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย.โทร.1556 เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
วันนี้ (30 ม.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากการที่ อย.ได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่างๆ ในช่วงเดือน พ.ย.2555 พบว่า ผิด พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 จำนวน 59 ราย พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 จำนวน 17 ราย พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2531 จำนวน 10 ราย และ พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 จำนวน 5 ราย รวมทั้งสิ้น 91 ราย คิดเป็นมูลค่า 1,155,000 บาท โดยในส่วนของ พ.ร.บ.อาหาร ได้เปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดในกรณีต่างๆ เช่น อาหารนำเข้าจากต่างประเทศพบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักผลไม้ต่างๆ จึงดำเนินคดีในข้อหานำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหารผิดมาตรฐาน พบวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล โซเดียมไซคลาเมตในมะเขือเทศอบแห้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นต้น ซึ่งมีความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า ขณะที่การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง และเครื่องมือแพทย์ทางสื่อต่างๆ พบว่า ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นโฆษณาในลักษณะโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงและไม่ได้ขออนุญาตโฆษณา เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โฆษณาอวดอ้างช่วยลดน้ำหนัก ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ภูมิแพ้ โรคหอบหืด โลหิตจาง เป็นต้น เข้าข่ายโฆษณาที่หลอกลวงโอ้อวดเกินจริง เพราะผลิตภัณฑ์อาหารไม่มีสรรพคุณในทางยาดังที่โฆษณา จากการตรวจสอบ พบว่า มีการโฆษณาในลักษณะดังกล่าวมากถึง 40 ราย สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นเส้นประสาทผ่านผิวหนังด้วยกระแสไฟฟ้า เครื่องนวดไฟฟ้า โดยโฆษณาเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 10 ราย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โฆษณาโดยใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จำนวน 4 ราย
“ขอเตือนประชาชนอย่าได้ซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้ขออนุญาตจาก อย.ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และอย่าหลงเชื่อการโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองเงินทองโดยไม่ได้ผลตามที่โฆษณาอวดอ้าง ที่สำคัญ อาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือเสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง” เลขาธิการ อย.กล่าว
ทั้งนี้ อย.ได้มีการดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ในความรับผิดชอบของ อย.เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยผู้สนใจสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้กระทำผิดพร้อมรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ www.fda.moph.go.th คลิก “ผลการดำเนินคดี” เพื่อเป็นข้อมูลในการเฝ้าระวังและหากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องขออนุญาตจาก อย.แต่ไม่ขออนุญาต หรือพบการโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ขอให้ร้องเรียนมายังสายด่วน อย.โทร.1556 เพื่อ อย.จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป