ปลัด กทม.ออก ว.8 ไฟเขียวให้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.เข้าไปหาเสียงในสถานที่ราชการในสังกัดได้ แต่ต้องไม่รบกวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย ย้ำ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเร่งตรวจสอบบัญชีรายชื่อหลังประกาศ 5 ก.พ.เพื่อขอเพิ่มหรือถอนชื่อปลอมออกจากทะเบียนบ้าน
นายสมชัย สุรกาญจน์กุล ผู้อำนวยการส่วนการปกครองและเลือกตั้ง สำนักงานปกครองและทะเบียน กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทม.ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 25 ราย ว่า มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้หรือไม่ ซึ่ง กทม.ได้ส่งไปตรวจสอบกว่า 10 หน่วยงานแล้ว โดยทุกหน่วยงานจะต้องตอบกลับ กทม.ภายในวันที่ 30 มกราคม นี้ เพื่อที่ กทม.จะได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครที่ได้สมัครรับเลือกตั้งและไม่ได้รับสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งหากพบว่าผู้สมัครรายใดคุณสมบัติไม่ผ่านสามารถขอยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อวินิจฉัยภายใน 3 วัน นับแต่วันประกาศรายชื่อผู้สมัคร ขณะเดียวกัน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็สามารถยื่นคัดค้านผู้สมัครหลังจากที่ได้ประกาศรายชื่อไปได้ภายใน 20 วัน คือสามารถยื่นร้องได้จนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 อย่างไรก็ตาม หากบางหน่วยงานส่งผลการตรวจสอบกลับมาไม่ทัน กทม.ก็สามารถดำเนินการประกาศรายชื่อผู้สมัครไปก่อนแล้วค่อยประกาศเพิกถอนภายหลังได้
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนการกำหนดหน่วยเลือกตั้งนั้น ต้องรอให้มีการประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อที่จะได้กำหนดหน่วยเลือกตั้งที่ชัดเจนโดย 1 หน่วยจะมีจำนวนผู้สิทธิเลือกตั้ง 800 คน ทั้งนี้ กทม.ยังคงยืนพื้นจำนวนหน่วยเลือกตั้งที่ 6,548 หน่วย ซึ่งหากต้องเพิ่มหน่วยเลือกตั้ง กทม.จะต้องจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมซึ่งค่อนข้างหายาก และต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว กทม.จะจัดพิมพ์หนังสือแจ้งเจ้าบ้านแล้วดำเนินการจัดส่งทางไปรษณีย์ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ดังนั้น หากประชาชนผู้มีทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯได้ตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว และพบว่าชื่อตกหล่น หรือมีรายชื่อแปลกปลอมก็ขอให้ไปแจ้งเพิ่มหรือถอนชื่อได้ที่สำนักงานเขตไม่เกินวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้เท่านั้น สำหรับผู้ที่มั่นใจว่าจะไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ก็ให้ไปแจ้งที่เขตได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ของ กกต.ทั้งนี้ แม้จะแจ้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า แต่เมื่อถึงวันเลือกตั้งก็ยังสามารถเข้าคูหาเลือกตั้งได้ตามปกติโดยไม่ถือว่าเสียสิทธิแต่อย่างใด
ส่วนผู้ที่เคยแจ้งชื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ต่างจังหวัด เช่น ทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพฯ แต่แจ้งขอใช้สิทธิที่จ.เชียงรายและตอนนี้กลับมาอยู่ กทม.ตามเดิม ก็สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ได้ตามปกติเนื่องจากเป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเวลา 15.30 น.นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม.ได้ออก ว.8 ให้ทุกหน่วยงานในสังกัด กทม.รับทราบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทุกคนสามารถเข้าไปแนะนำตัวในสถานที่ราชการของ กทม.ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่รบกวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย เป็นต้น
นายสมชัย สุรกาญจน์กุล ผู้อำนวยการส่วนการปกครองและเลือกตั้ง สำนักงานปกครองและทะเบียน กรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กทม.ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 25 ราย ว่า มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้หรือไม่ ซึ่ง กทม.ได้ส่งไปตรวจสอบกว่า 10 หน่วยงานแล้ว โดยทุกหน่วยงานจะต้องตอบกลับ กทม.ภายในวันที่ 30 มกราคม นี้ เพื่อที่ กทม.จะได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครที่ได้สมัครรับเลือกตั้งและไม่ได้รับสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งหากพบว่าผู้สมัครรายใดคุณสมบัติไม่ผ่านสามารถขอยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อวินิจฉัยภายใน 3 วัน นับแต่วันประกาศรายชื่อผู้สมัคร ขณะเดียวกัน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็สามารถยื่นคัดค้านผู้สมัครหลังจากที่ได้ประกาศรายชื่อไปได้ภายใน 20 วัน คือสามารถยื่นร้องได้จนถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 อย่างไรก็ตาม หากบางหน่วยงานส่งผลการตรวจสอบกลับมาไม่ทัน กทม.ก็สามารถดำเนินการประกาศรายชื่อผู้สมัครไปก่อนแล้วค่อยประกาศเพิกถอนภายหลังได้
นายสมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนการกำหนดหน่วยเลือกตั้งนั้น ต้องรอให้มีการประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อที่จะได้กำหนดหน่วยเลือกตั้งที่ชัดเจนโดย 1 หน่วยจะมีจำนวนผู้สิทธิเลือกตั้ง 800 คน ทั้งนี้ กทม.ยังคงยืนพื้นจำนวนหน่วยเลือกตั้งที่ 6,548 หน่วย ซึ่งหากต้องเพิ่มหน่วยเลือกตั้ง กทม.จะต้องจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมซึ่งค่อนข้างหายาก และต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว กทม.จะจัดพิมพ์หนังสือแจ้งเจ้าบ้านแล้วดำเนินการจัดส่งทางไปรษณีย์ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ดังนั้น หากประชาชนผู้มีทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯได้ตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว และพบว่าชื่อตกหล่น หรือมีรายชื่อแปลกปลอมก็ขอให้ไปแจ้งเพิ่มหรือถอนชื่อได้ที่สำนักงานเขตไม่เกินวันที่ 20 กุมภาพันธ์นี้เท่านั้น สำหรับผู้ที่มั่นใจว่าจะไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ก็ให้ไปแจ้งที่เขตได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ของ กกต.ทั้งนี้ แม้จะแจ้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า แต่เมื่อถึงวันเลือกตั้งก็ยังสามารถเข้าคูหาเลือกตั้งได้ตามปกติโดยไม่ถือว่าเสียสิทธิแต่อย่างใด
ส่วนผู้ที่เคยแจ้งชื่อไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่ต่างจังหวัด เช่น ทะเบียนบ้านอยู่กรุงเทพฯ แต่แจ้งขอใช้สิทธิที่จ.เชียงรายและตอนนี้กลับมาอยู่ กทม.ตามเดิม ก็สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ได้ตามปกติเนื่องจากเป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเวลา 15.30 น.นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัด กทม.ได้ออก ว.8 ให้ทุกหน่วยงานในสังกัด กทม.รับทราบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ทุกคนสามารถเข้าไปแนะนำตัวในสถานที่ราชการของ กทม.ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่รบกวนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย เป็นต้น