โดย...รศ.คลินิก พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ
นายกมะเร็งวิทยาสมาคม่แห่งประเทศไทย
โรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ ซึ่งถื่อเป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อยเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งของระบบทางเดินอาหารชนิดอื่น โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งจีสต์ปีละประมาณ 250 ราย และมีอัตราการเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ซึ่งจะพบในเพศชายและเพศหญิงในอัตราส่วนเท่าๆ กัน โดยพบมากในผู้ป่วยทีมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป โดยมะเร็งจีสต์จะแตกต่างจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารอื่น คือ มะเร็งจีสต์เกิดจากเซลล์ที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ เพราะฉะนั้นจึงสามารถพบได้ตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่หลอดอาหารไปจนถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือ กระเพาะอาหารประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ลำไส้เล็ก ประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์
ในโอกาส 1 ทศวรรษแห่งความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งจีสต์ มีการพัฒนายา Targeted Therapy หรือยาที่มุ่งเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ ยาอิมมาตินิบ โดยทางการแพทย์พบว่า อิมมาตินิบสามารถควบคุมโรคได้ดี ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจีสต์มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อติดตามผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณ 9 ปี พบว่า ผู้ป่วยประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ยังคงมีชีวิตอยู่รอดนับตั้งแต่เข้าร่วมการศึกษา และนอกจากนั้นมีผู้ป่วยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ยังคงมีชีวิตอยู่รอดและยังได้รับยาอิมมาตินิบต่อไป และในปัจจุบันการติดตามการศึกษานี้กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 เช่นเดียวกับคนไข้ที่จะมีชีวิตอยู่รอดได้มากกว่า 10 ปี
โดยมะเร็งจีสต์ จัดเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่ยากต่อการวินิจฉัยและการรักษา เนื่องจากในช่วงแรกอาจจะตรวจพบเนื้องอกอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งในช่องท้อง และมักจะไม่แสดงอาการให้เห็น เช่น ที่กระเพาะอาหาร ซึ่งมะเร็งชนิดจีสต์ที่ยังคงอยู่บริเวณเดิมนั้น เราเรียกว่าการเกิดเนื้องอกเฉพาะที่ (Local Tumor) และเมื่อเนื้องอกจีสต์ เกิดการลุกลามขึ้น เกิดการแพร่กระจายของโรคไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนกลายเป็นเนื้องอกจีสต์ในระยะแพร่กระจาย ซึ่งบ่อยครั้งที่เราจะพบว่าเนื้องอกจีสต์เจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่ ก่อนที่จะถูกตรวจพบและเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ และเยื่อบุช่องท้อง เพราะฉะนั้นการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ในปัจจุบัน เรายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งจีสต์ จึงยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคนี้ สำหรับอาการของมะเร็งจีสต์นั้น จะมีความคล้ายคลึงกับมะเร็งทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยบางรายอาจคลำพบก้อนในท้อง ซึ่งหากก้อนมะเร็งจีสต์อยู่ในกระเพาะอาหาร ก็อาจจะทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยเลือดจะปะปนออกมากับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีสีดำ และหากมีเลือดออกในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาเป็นเลือดได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยก็มักจะมีอาการอ่อนเพลีย และซีดร่วมด้วย
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งจีสต์นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ดูก้อนในท้อง หรือการส่องกล้องเข้าไปดูก้อนในกระเพาะอาหาร โดยในการส่องกล้องเราสามารถตัดชิ้นเนื้อบางส่วนมาตรวจเพื่อยืนยันได้ด้วยว่าใช่มะเร็งจีสต์หรือไม่ หากเป็นมะเร็งจีสต์ที่มีลักษณะเป็นก้อนอยู่บริเวณเดียว ถือว่าเป็นโรคระยะเริ่มแรก แพทย์สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดและมีโอกาสที่จะหายขาดได้มาก แต่อย่างไรก็ตาม หลังรับการผ่าตัดผู้ป่วยยังคงมีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความเสี่ยงไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับลักษณะของโรค แต่หากโรคได้แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นแล้ว การรักษาโรคให้หายขาดก็จะยากยิ่งขึ้น
สำหรับการป้องกัน เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทำจิตใจให้ผ่องใสไม่เครียด ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันโรคนี้ได้ รวมทั้งหมั่นสังเกตตนเอง หากพบอาการผิดปกติ มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือคลำพบก้อนในท้อง ก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
นายกมะเร็งวิทยาสมาคม่แห่งประเทศไทย
โรคมะเร็งทางเดินอาหารชนิดจีสต์ ซึ่งถื่อเป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อยเมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งของระบบทางเดินอาหารชนิดอื่น โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งจีสต์ปีละประมาณ 250 ราย และมีอัตราการเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี ซึ่งจะพบในเพศชายและเพศหญิงในอัตราส่วนเท่าๆ กัน โดยพบมากในผู้ป่วยทีมีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป โดยมะเร็งจีสต์จะแตกต่างจากมะเร็งระบบทางเดินอาหารอื่น คือ มะเร็งจีสต์เกิดจากเซลล์ที่ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ เพราะฉะนั้นจึงสามารถพบได้ตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่หลอดอาหารไปจนถึงลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย โดยตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด คือ กระเพาะอาหารประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ลำไส้เล็ก ประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์
ในโอกาส 1 ทศวรรษแห่งความก้าวหน้าในการรักษาโรคมะเร็งจีสต์ มีการพัฒนายา Targeted Therapy หรือยาที่มุ่งเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ ยาอิมมาตินิบ โดยทางการแพทย์พบว่า อิมมาตินิบสามารถควบคุมโรคได้ดี ทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจีสต์มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อติดตามผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณ 9 ปี พบว่า ผู้ป่วยประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ยังคงมีชีวิตอยู่รอดนับตั้งแต่เข้าร่วมการศึกษา และนอกจากนั้นมีผู้ป่วยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ยังคงมีชีวิตอยู่รอดและยังได้รับยาอิมมาตินิบต่อไป และในปัจจุบันการติดตามการศึกษานี้กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 เช่นเดียวกับคนไข้ที่จะมีชีวิตอยู่รอดได้มากกว่า 10 ปี
โดยมะเร็งจีสต์ จัดเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่ยากต่อการวินิจฉัยและการรักษา เนื่องจากในช่วงแรกอาจจะตรวจพบเนื้องอกอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งในช่องท้อง และมักจะไม่แสดงอาการให้เห็น เช่น ที่กระเพาะอาหาร ซึ่งมะเร็งชนิดจีสต์ที่ยังคงอยู่บริเวณเดิมนั้น เราเรียกว่าการเกิดเนื้องอกเฉพาะที่ (Local Tumor) และเมื่อเนื้องอกจีสต์ เกิดการลุกลามขึ้น เกิดการแพร่กระจายของโรคไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนกลายเป็นเนื้องอกจีสต์ในระยะแพร่กระจาย ซึ่งบ่อยครั้งที่เราจะพบว่าเนื้องอกจีสต์เจริญเติบโตจนมีขนาดใหญ่ ก่อนที่จะถูกตรวจพบและเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ และเยื่อบุช่องท้อง เพราะฉะนั้นการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ในปัจจุบัน เรายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งจีสต์ จึงยังไม่มีวิธีการป้องกันโรคนี้ สำหรับอาการของมะเร็งจีสต์นั้น จะมีความคล้ายคลึงกับมะเร็งทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยบางรายอาจคลำพบก้อนในท้อง ซึ่งหากก้อนมะเร็งจีสต์อยู่ในกระเพาะอาหาร ก็อาจจะทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยเลือดจะปะปนออกมากับอุจจาระ ทำให้อุจจาระมีสีดำ และหากมีเลือดออกในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาเป็นเลือดได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยก็มักจะมีอาการอ่อนเพลีย และซีดร่วมด้วย
วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งจีสต์นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ดูก้อนในท้อง หรือการส่องกล้องเข้าไปดูก้อนในกระเพาะอาหาร โดยในการส่องกล้องเราสามารถตัดชิ้นเนื้อบางส่วนมาตรวจเพื่อยืนยันได้ด้วยว่าใช่มะเร็งจีสต์หรือไม่ หากเป็นมะเร็งจีสต์ที่มีลักษณะเป็นก้อนอยู่บริเวณเดียว ถือว่าเป็นโรคระยะเริ่มแรก แพทย์สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดและมีโอกาสที่จะหายขาดได้มาก แต่อย่างไรก็ตาม หลังรับการผ่าตัดผู้ป่วยยังคงมีความเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความเสี่ยงไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับลักษณะของโรค แต่หากโรคได้แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นแล้ว การรักษาโรคให้หายขาดก็จะยากยิ่งขึ้น
สำหรับการป้องกัน เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากเรารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทำจิตใจให้ผ่องใสไม่เครียด ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยป้องกันโรคนี้ได้ รวมทั้งหมั่นสังเกตตนเอง หากพบอาการผิดปกติ มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรือคลำพบก้อนในท้อง ก็ให้รีบไปพบแพทย์ทันที