สสวท.ผุด “สะเต็มศึกษา” หวังพลิกโฉมการเรียนวิทย์-เทคโนโลยีของทุกระดับการศึกษาในไทย โละวิธีเรียนแบบท่องจำ เน้นบูรณาการด้วยการลงมือทำจริง เตรียมคัดเลือกทูตสะเต็มที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 100 คน ทำหน้าที่กระบอกเสียงแนะนำการสอนแก่ครู คาดนำร่อง 5-10 จ.เริ่มภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 นี้ ด้าน ประธานบอร์ด สสวท.ชี้หลายประเทศตื่นตัวเรื่องสะเต็มศึกษา เฉพาะจีนในปี 58 จะสามารถผลิตบัณฑิตในสาขาวิทย์-เทคโนฯ มากกว่า 3.5 ล้านคน เกินครึ่งกว่าหลายประเทศผลิตได้มารวมกัน โดยเฉพาะไทยตัวเลขบัณฑิตแทบไม่ติดกราฟ หวั่นตกขบวนหากเข้าสู่ AEC
วันนี้ (15 ม.ค.) ที่โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แถลงข่าว “สสวท.รุกตั้งสำนัก STEM ให้บริการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตรศึกษาครบวงจร” ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมบอร์ด สสวท.เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2556 ได้เห็นชอบให้ สสวท.ดำเนินการส่งเสริมให้เกิด “สะเต็มศึกษา” (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM Education) ขึ้นในประเทศไทย ซึ่ง สะเต็มศึกษา จะเป็นการบูรณาการการจัดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และรวมไปถึงการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ประชากรรุ่นใหม่ได้มีความรู้ และทักษะการเรียนรู้ในทางสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ที่โลกของเราสามารถติดต่อสื่อกันได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและสร้างทักษะการดำรงชีวิตเพื่อให้เยาวชนของไทยก้าวไปสู่การแข่งขันกับประชากรโลกได้ รวมทั้งเมื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
“สะเต็มศึกษา นั้นจะช่วยพลิกโฉมการเรียนวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา รวมถึงวิชาคณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสะเต็มศึกษานั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะเน้นการบูรณาการเรียนรู้ การนำไปใช้ และการฝึกคิดเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการใหม่ๆ ไม่ใช่เรียนแบบเน้นท่องจำ หรือเรียนเพื่อนำไปใช้สอบเท่านั้น ซึ่งการเรียนแบบสะเต็มศึกษานั้นจะเน้นการลงมือปฏิบัติจริง โดยครูผู้สอนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งคำถามให้เด็กสนใจและเรียนรู้ว่าสิ่งที่เรียนในห้องเรียนนั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้าง เช่น คำถามเกี่ยวกับวงกลม ก็ให้เด็กตอบว่ารอบตัวเขานั้นมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับวงกลม เป็นต้น ทั้งนี้ หากจะทำให้สะเต็มศึกษา มีความสมบูรณ์จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร เปลี่ยนวิธีการสอนและการประเมินผล”ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี กล่าว
ประธานบอร์ด สสวท. กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ มีความตื่นตัวในเรื่องสะเต็มศึกษากันมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อินเดีย ฯลฯฯ โดยมีการศึกษาข้อมูลพบว่าในปี 2558 ประเทศจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สะเต็มดีกรี (STEM Degree) ออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งไม่รวมในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ขณะเดียวกัน จำนวนบัณฑิตที่จีนจะผลิตออกมานั้นเกินครึ่งที่ทุกประเทศรวมกันผลิตออกมา ในขณะที่ประเทศไทยผลิตได้ตัวเลขในกราฟเกือบเป็น 0 ทั้งที่ เรากำลังจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี หากไทยยังไม่ตื่นตัวที่จะยกระดับคุณภาพ และเพิ่มจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ก็จะตกขบวน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำงาน สสวท.จะจัดตั้งสำนักสะเต็มศึกษาขึ้นใน สสวท.และทุกจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและให้ข้อมูล โดยจะมีการดำเนินโครงการนำร่องสะเต็มศึกษาขึ้นในโรงเรียนเครือข่าย สสวท.ที่มีความพร้อมประมาณ 5-10 จังหวัด ขณะเดียวกัน สสวท.จะคัดเลือกทูตสะเต็ม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ แพทย์ วิศวกร เป็นต้น มาเป็นผู้แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แก่ครู เพื่อต่อยอดในการสอนนักเรียนได้ โดยเบื้องต้นจะคัดเลือกทูตสเต็ม จำนวน 100 คน และคาดว่าสะเต็มศึกษาจะเริ่มได้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 นี้ และหากเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมก็จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศเป็นวาระแห่งชาติต่อไป
วันนี้ (15 ม.ค.) ที่โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) แถลงข่าว “สสวท.รุกตั้งสำนัก STEM ให้บริการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตรศึกษาครบวงจร” ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในการประชุมบอร์ด สสวท.เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2556 ได้เห็นชอบให้ สสวท.ดำเนินการส่งเสริมให้เกิด “สะเต็มศึกษา” (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM Education) ขึ้นในประเทศไทย ซึ่ง สะเต็มศึกษา จะเป็นการบูรณาการการจัดการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และรวมไปถึงการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ประชากรรุ่นใหม่ได้มีความรู้ และทักษะการเรียนรู้ในทางสร้างสรรค์แบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ที่โลกของเราสามารถติดต่อสื่อกันได้อย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและสร้างทักษะการดำรงชีวิตเพื่อให้เยาวชนของไทยก้าวไปสู่การแข่งขันกับประชากรโลกได้ รวมทั้งเมื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 (ค.ศ. 2015)
“สะเต็มศึกษา นั้นจะช่วยพลิกโฉมการเรียนวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา รวมถึงวิชาคณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสะเต็มศึกษานั้น เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาเหล่านี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะเน้นการบูรณาการเรียนรู้ การนำไปใช้ และการฝึกคิดเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการใหม่ๆ ไม่ใช่เรียนแบบเน้นท่องจำ หรือเรียนเพื่อนำไปใช้สอบเท่านั้น ซึ่งการเรียนแบบสะเต็มศึกษานั้นจะเน้นการลงมือปฏิบัติจริง โดยครูผู้สอนมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องตั้งคำถามให้เด็กสนใจและเรียนรู้ว่าสิ่งที่เรียนในห้องเรียนนั้นเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้าง เช่น คำถามเกี่ยวกับวงกลม ก็ให้เด็กตอบว่ารอบตัวเขานั้นมีอะไรที่เกี่ยวข้องกับวงกลม เป็นต้น ทั้งนี้ หากจะทำให้สะเต็มศึกษา มีความสมบูรณ์จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตร เปลี่ยนวิธีการสอนและการประเมินผล”ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี กล่าว
ประธานบอร์ด สสวท. กล่าวต่อว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ มีความตื่นตัวในเรื่องสะเต็มศึกษากันมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน อเมริกา อินเดีย ฯลฯฯ โดยมีการศึกษาข้อมูลพบว่าในปี 2558 ประเทศจีนจะผลิตบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สะเต็มดีกรี (STEM Degree) ออกมาประมาณ 3.5 ล้านคน ซึ่งไม่รวมในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ขณะเดียวกัน จำนวนบัณฑิตที่จีนจะผลิตออกมานั้นเกินครึ่งที่ทุกประเทศรวมกันผลิตออกมา ในขณะที่ประเทศไทยผลิตได้ตัวเลขในกราฟเกือบเป็น 0 ทั้งที่ เรากำลังจะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี หากไทยยังไม่ตื่นตัวที่จะยกระดับคุณภาพ และเพิ่มจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ก็จะตกขบวน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำงาน สสวท.จะจัดตั้งสำนักสะเต็มศึกษาขึ้นใน สสวท.และทุกจังหวัดเพื่อเป็นศูนย์ประสานงานและให้ข้อมูล โดยจะมีการดำเนินโครงการนำร่องสะเต็มศึกษาขึ้นในโรงเรียนเครือข่าย สสวท.ที่มีความพร้อมประมาณ 5-10 จังหวัด ขณะเดียวกัน สสวท.จะคัดเลือกทูตสะเต็ม ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิ แพทย์ วิศวกร เป็นต้น มาเป็นผู้แนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ แก่ครู เพื่อต่อยอดในการสอนนักเรียนได้ โดยเบื้องต้นจะคัดเลือกทูตสเต็ม จำนวน 100 คน และคาดว่าสะเต็มศึกษาจะเริ่มได้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 นี้ และหากเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมก็จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศเป็นวาระแห่งชาติต่อไป