สพฐ.เตรียมตั้งศูนย์ STEM พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ในเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ พร้อมจับมือ มรภ.วไลยอลงกรณ์ ทำหลักสูตรพัฒนาครูวิทย์ระดับประถม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่จบตรงสาขาให้มีความมั่นใจในการสอน หลังวิเคราะห์แล้วพบความไม่พร้อมของครูและสื่อมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของเด็ก
วันนี้ (18 ธ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สพฐ.ได้เตรียมการเพื่อยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยจะร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ทำหลักสูตรพัฒนาครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะครูที่ไม่ได้จบวุฒิการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ ให้มีความรู้และความมั่นใจในการสอนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ทุกหัวข้อที่สอนในระดับประถมตอนต้นและตอนปลายมาคลี่ดูว่าจุดใดมีปัญหาเพื่อนำมาจัดทำเครื่องมือ ชุดอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน รวมทั้งเครื่องมือชุดปฏิบัติการในการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่ออบรมครู ทั้งนี้ คาดว่าจะมีครูประถมจากโรงเรียน 10,000 โรง ที่ได้รับการอบรมครั้งนี้ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่คร่ำหวอดมาให้การอบรมครู
“วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียน ซึ่งที่ผ่านมา สพฐ.ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนให้สูงขึ้น ซึ่งเมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าเป็นเพราะปัจจัยความพร้อมของครูและสื่อการสอนที่ไม่ตอบสนอง ดังนั้น หากมีการเทรนครูผู้สอน โดยเฉพาะคนที่จบไม่ตรงวุฒิได้มีความพร้อมและมั่นใจในการสอนและการทดลองก็จะทำให้เด็กได้สนุกที่จะเรียนรู้ ไม่ต้องเรียนแบบแห้งและจินตนาการถึงการทดลองต่างๆ เช่นที่ผ่านมา ฉะนั้นเมื่อจับจุดปัญหาได้และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดก็จะส่งผลดีต่อเด็กในอนาคร” นายชินภัทร กล่าว
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เมื่อเร็วๆ นี้ ประธานบอร์ด สสวท.ได้เสนอว่าต่อไป สสวท.และ สพฐ.ควรจะร่วมมือในการยกระดับเรื่องวิทยาศาศตร์มากขึ้นกว่านี้ โดยเสนอให้มีการตั้งศูนย์ STEM (Science and Technology Engineering and Methermatic) ขึ้นในทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะคล้ายกับศูนย์ ERIC ของ สพฐ.ที่เน้นพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่ศูนย์ STEM จะเน้นพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม คาดว่า ในปี 2556 จะเริ่มตั้งศูนย์ดังกล่าวได้ในเขตพื้นที่ฯที่มีความพร้อม ขณะเดียวกัน สพฐ.จะเตรียมการตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ตามนโยบายของ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ให้ครบทั้ง 225 เขตพื้นที่การศึกษาทั้งเขตประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แต่จะเริ่มดำเนินการในเขตที่มีความพร้อมก่อน ซึ่งทั้งเขตพื้นที่ประถมและมัธยมศึกษาจะต้องไปทำการคัดเลือกโรงเรียนในเขตที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสูงที่จะเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ ประสานข้อมูลแก่โรงเรียนในเครือข่าย ซึ่งตั้งเป้าไว้ที่ 1:10 ให้มีความรู้ความเข้าใจ ด้านอาเซียน ส่วน สพฐ.ก็มีหน้าที่สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้เขตพื้นที่ฯและศูนย์อาเซียนต่อไป
วันนี้ (18 ธ.ค.) นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า สพฐ.ได้เตรียมการเพื่อยกระดับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยจะร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ทำหลักสูตรพัฒนาครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะครูที่ไม่ได้จบวุฒิการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ ให้มีความรู้และความมั่นใจในการสอนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์ทุกหัวข้อที่สอนในระดับประถมตอนต้นและตอนปลายมาคลี่ดูว่าจุดใดมีปัญหาเพื่อนำมาจัดทำเครื่องมือ ชุดอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน รวมทั้งเครื่องมือชุดปฏิบัติการในการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่ออบรมครู ทั้งนี้ คาดว่าจะมีครูประถมจากโรงเรียน 10,000 โรง ที่ได้รับการอบรมครั้งนี้ โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ที่คร่ำหวอดมาให้การอบรมครู
“วิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียน ซึ่งที่ผ่านมา สพฐ.ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการยกระดับผลสัมฤทธิ์นักเรียนให้สูงขึ้น ซึ่งเมื่อวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าเป็นเพราะปัจจัยความพร้อมของครูและสื่อการสอนที่ไม่ตอบสนอง ดังนั้น หากมีการเทรนครูผู้สอน โดยเฉพาะคนที่จบไม่ตรงวุฒิได้มีความพร้อมและมั่นใจในการสอนและการทดลองก็จะทำให้เด็กได้สนุกที่จะเรียนรู้ ไม่ต้องเรียนแบบแห้งและจินตนาการถึงการทดลองต่างๆ เช่นที่ผ่านมา ฉะนั้นเมื่อจับจุดปัญหาได้และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดก็จะส่งผลดีต่อเด็กในอนาคร” นายชินภัทร กล่าว
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เมื่อเร็วๆ นี้ ประธานบอร์ด สสวท.ได้เสนอว่าต่อไป สสวท.และ สพฐ.ควรจะร่วมมือในการยกระดับเรื่องวิทยาศาศตร์มากขึ้นกว่านี้ โดยเสนอให้มีการตั้งศูนย์ STEM (Science and Technology Engineering and Methermatic) ขึ้นในทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะคล้ายกับศูนย์ ERIC ของ สพฐ.ที่เน้นพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่ศูนย์ STEM จะเน้นพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม คาดว่า ในปี 2556 จะเริ่มตั้งศูนย์ดังกล่าวได้ในเขตพื้นที่ฯที่มีความพร้อม ขณะเดียวกัน สพฐ.จะเตรียมการตั้งศูนย์อาเซียนศึกษา ตามนโยบายของ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ให้ครบทั้ง 225 เขตพื้นที่การศึกษาทั้งเขตประถมศึกษาและมัธยมศึกษา แต่จะเริ่มดำเนินการในเขตที่มีความพร้อมก่อน ซึ่งทั้งเขตพื้นที่ประถมและมัธยมศึกษาจะต้องไปทำการคัดเลือกโรงเรียนในเขตที่มีความพร้อมและมีศักยภาพสูงที่จะเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ ประสานข้อมูลแก่โรงเรียนในเครือข่าย ซึ่งตั้งเป้าไว้ที่ 1:10 ให้มีความรู้ความเข้าใจ ด้านอาเซียน ส่วน สพฐ.ก็มีหน้าที่สนับสนุนงบประมาณเพื่อให้เขตพื้นที่ฯและศูนย์อาเซียนต่อไป