“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจคนกรุงเตรียมไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.กว่าร้อยละ 95 ตัดสินใจเลือก “สุขุมพันธุ์” มาที่หนึ่งด้วยคะแนนร้อยละ 24 แต่ยังมีพลังเงียบอีกร้อยละ 40 ยังไม่ตัดสินใจเลือกใคร
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความนิยมของว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2555 ถึง 4 มกราคม 2556 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต จำนวน 3,356 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ จากการสำรวจพบว่า ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 95.35 ระบุว่าตั้งใจจะไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีเพียงร้อยละ 1.58 ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และอีกร้อยละ 3.07 ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ
และเมื่อถามว่าจะเลือกใครเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 24.08 ระบุว่า จะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รองลงมา ร้อยละ 17.52 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 9.48 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส และร้อยละ 40.46 ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใคร
เมื่อวิเคราะห์จำแนกตามพื้นที่พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีคะแนนความนิยมมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ โดยมีคะแนนความนิยมในกลุ่มกรุงเทพฯ กลาง ร้อยละ 25.78 กลุ่มกรุงเทพฯ ใต้ ร้อยละ 26.82 กลุ่มกรุงเทพฯ ตะวันออก ร้อยละ 23.74 กลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีเหนือ ร้อยละ 22.22 และกลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีใต้ ร้อยละ 24.83 มีเพียงกลุ่มกรุงเทพฯ เหนือเท่านั้นที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ มีคะแนนความนิยมมากกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เพียงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 21.72 ในขณะที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้คะแนนความนิยม ร้อยละ 21.36
รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้ทัศนะเพิ่มเติมว่า จากคะแนนที่สำรวจนั้น คะแนนความนิยมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะเป็นคะแนนฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสามารถเห็นได้โดยชัดเจน แต่ทั้งนี้ยังต้องต่อสู้กับความกดดันของคะแนนเสียงอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะผลงานของการบริหาร กทม.หลายโครงการที่น่าจะทำได้ดี แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น การทำสัญญาเช่าพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร เมื่อครั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็ควรจะดำเนินการให้เรียบร้อย หรือโครงการสนามบางกอกฟุตซอลอารีน่า ที่ยังขาดการชี้แจงต่อประชาชนที่ชัดเจน ขาดการควบคุมกำกับดูแลที่ดี และยังมีการเล่นเกมการเมืองท้องถิ่น กทม. กับรัฐบาลอยู่ ดังนั้นคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์จึงต้อรวมพลังกันในการรักษาฐานคะแนนเสียง เพราะยังมีโอกาสในการทำผลงานให้คน กทม.อยู่
ส่วนคะแนนความนิยมของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ นั้น ถือว่ายังห่างจากคะแนนความนิยมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อยู่พอสมควร ซึ่งตรงนี้มองว่าน่าจะเกิดปัญหาจากความไม่ชัดเจนของผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จะเป็นผู้สมัครชิงผู้ว่าในช่วงแรกๆ น่าจะมีผลกระทบกับการทำงาน ส.ก. และ ส.ข.ในพื้นที่ที่ไม่สอดรับกันด้วย จึงต้องเร่งพยายามในการที่จะดึงฐานเสียงให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ยังมีกลุ่มผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจมากกว่า ร้อยละ 40 ซึ่งมีความโดดเด่นในฐานเสียงของตัวเองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นโอกาสผู้สมัครคนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคน กทม.ว่าจะมั่นใจได้มากน้อยเพียงใดในการแก้ไขปัญหาของคนกรุง การบริหารงาน กทม.ร่วมกับรัฐบาล และคะแนนผลสำรวจเป็นการสำรวจความคิดเห็นในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงหรือพลิกผันได้
สำหรับการแบ่งพื้นที่ในการสำรวจ ทั้ง 50 เขต แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มกรุงเทพฯ กลาง 9 เขต ได้แก่ เขตดินแดง เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพญาไท เขตพระนคร เขตราชเทวี เขตวังทองหลาง เขตสัมพันธวงศ์ และเขตห้วยขวาง
2. กลุ่มกรุงเทพฯ ใต้ 10 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย เขตบางคอแหลม เขตบางนา เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตวัฒนา เขตสวนหลวง และเขตสาทร
3. กลุ่มกรุงเทพฯ เหนือ 7 เขต ได้แก่ เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตบางเขน เขตบางซื่อ เขตลาดพร้าว เขตสายไหม และเขตหลักสี่
4. กลุ่มกรุงเทพฯ ตะวันออก 9 เขต ได้แก่ เขตคลองสามวา เขตคันนายาว เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสูง และเขตหนองจอก
5. กลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีเหนือ 8 เขต ได้แก่ เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางพลัด
6. กลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีใต้ 7 เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตบางบอน เขตภาษีเจริญ เขตราษฎร์บูรณะ และเขตหนองแขม
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความนิยมของว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2555 ถึง 4 มกราคม 2556 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต จำนวน 3,356 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ จากการสำรวจพบว่า ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 95.35 ระบุว่าตั้งใจจะไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีเพียงร้อยละ 1.58 ระบุว่าจะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และอีกร้อยละ 3.07 ระบุว่ายังไม่ได้ตัดสินใจ
และเมื่อถามว่าจะเลือกใครเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ชาวกรุงเทพฯ ร้อยละ 24.08 ระบุว่า จะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รองลงมา ร้อยละ 17.52 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 9.48 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส และร้อยละ 40.46 ยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกใคร
เมื่อวิเคราะห์จำแนกตามพื้นที่พบว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีคะแนนความนิยมมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ โดยมีคะแนนความนิยมในกลุ่มกรุงเทพฯ กลาง ร้อยละ 25.78 กลุ่มกรุงเทพฯ ใต้ ร้อยละ 26.82 กลุ่มกรุงเทพฯ ตะวันออก ร้อยละ 23.74 กลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีเหนือ ร้อยละ 22.22 และกลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีใต้ ร้อยละ 24.83 มีเพียงกลุ่มกรุงเทพฯ เหนือเท่านั้นที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ มีคะแนนความนิยมมากกว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เพียงเล็กน้อย คือ ร้อยละ 21.72 ในขณะที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้คะแนนความนิยม ร้อยละ 21.36
รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน อาจารย์ประจำคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ให้ทัศนะเพิ่มเติมว่า จากคะแนนที่สำรวจนั้น คะแนนความนิยมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะเป็นคะแนนฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งสามารถเห็นได้โดยชัดเจน แต่ทั้งนี้ยังต้องต่อสู้กับความกดดันของคะแนนเสียงอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะผลงานของการบริหาร กทม.หลายโครงการที่น่าจะทำได้ดี แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น การทำสัญญาเช่าพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร เมื่อครั้งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็ควรจะดำเนินการให้เรียบร้อย หรือโครงการสนามบางกอกฟุตซอลอารีน่า ที่ยังขาดการชี้แจงต่อประชาชนที่ชัดเจน ขาดการควบคุมกำกับดูแลที่ดี และยังมีการเล่นเกมการเมืองท้องถิ่น กทม. กับรัฐบาลอยู่ ดังนั้นคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์จึงต้อรวมพลังกันในการรักษาฐานคะแนนเสียง เพราะยังมีโอกาสในการทำผลงานให้คน กทม.อยู่
ส่วนคะแนนความนิยมของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ นั้น ถือว่ายังห่างจากคะแนนความนิยมของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อยู่พอสมควร ซึ่งตรงนี้มองว่าน่าจะเกิดปัญหาจากความไม่ชัดเจนของผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ที่คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จะเป็นผู้สมัครชิงผู้ว่าในช่วงแรกๆ น่าจะมีผลกระทบกับการทำงาน ส.ก. และ ส.ข.ในพื้นที่ที่ไม่สอดรับกันด้วย จึงต้องเร่งพยายามในการที่จะดึงฐานเสียงให้เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ยังมีกลุ่มผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจมากกว่า ร้อยละ 40 ซึ่งมีความโดดเด่นในฐานเสียงของตัวเองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นโอกาสผู้สมัครคนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคน กทม.ว่าจะมั่นใจได้มากน้อยเพียงใดในการแก้ไขปัญหาของคนกรุง การบริหารงาน กทม.ร่วมกับรัฐบาล และคะแนนผลสำรวจเป็นการสำรวจความคิดเห็นในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงหรือพลิกผันได้
สำหรับการแบ่งพื้นที่ในการสำรวจ ทั้ง 50 เขต แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มกรุงเทพฯ กลาง 9 เขต ได้แก่ เขตดินแดง เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพญาไท เขตพระนคร เขตราชเทวี เขตวังทองหลาง เขตสัมพันธวงศ์ และเขตห้วยขวาง
2. กลุ่มกรุงเทพฯ ใต้ 10 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย เขตบางคอแหลม เขตบางนา เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตวัฒนา เขตสวนหลวง และเขตสาทร
3. กลุ่มกรุงเทพฯ เหนือ 7 เขต ได้แก่ เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตบางเขน เขตบางซื่อ เขตลาดพร้าว เขตสายไหม และเขตหลักสี่
4. กลุ่มกรุงเทพฯ ตะวันออก 9 เขต ได้แก่ เขตคลองสามวา เขตคันนายาว เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสูง และเขตหนองจอก
5. กลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีเหนือ 8 เขต ได้แก่ เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางพลัด
6. กลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีใต้ 7 เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตบางบอน เขตภาษีเจริญ เขตราษฎร์บูรณะ และเขตหนองแขม