ปิดฉากไปแล้ว “ค่ายศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ Art for All: ศิลปะสร้างสรรค์สันติสุข” จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้พิการ กว่า 250 คน และวิทยากร อาสาสมัคร กว่า 250 คน จากพื้นที่ 6 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล สงขลา และสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมกิจกรรมค่ายศิลปะ ณ เขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ประธานมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ เล่าว่า การให้เด็กปกติ ผู้พิการ ตลอดจนอาสาสมัคร เข้าร่วมกิจกรรมค่ายศิลปะครั้งนี้ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้อยู่ร่วมกัน คนพิการทางสายตาทำหน้าที่เสมือนเป็นปาก-หู คนหูนวกช่วยทำหน้าที่เป็นตาให้กับคนตาบอด ส่วนคนพิการทางร่างกายเป็นสติปัญญา คนปัญญาอ่อนซึ่งมีร่างกายสมบูรณ์เป็นร่างกายให้กับเพื่อนสมาชิก ส่วนคนปกติ อาสาสมัครที่มีเมตตาจิต ทำหน้าที่ประสานงานให้แก่เด็กทุกคน เพื่อช่วยให้ 5คนมาเติมเต็มส่วนที่ขาดซึ่งกันและกัน แล้วรวมเป็นหนึ่งอัจฉริยะ ผนึกกำลังสร้างสรรค์งานศิลปะที่สะท้อนถึงความคิดและจิตวิญญาณของเยาวชน
คราวนี้ลองมาฟังความคิดเห็นของ พาซียะ บูแล หรือ น้องยะ นักเรียน ชั้น ม.2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จว.ยะลา เล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นว่า ดีใจมากที่ได้มาเข้าค่ายนี้ ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆ ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย แต่พวกเขาไม่บกพร่องทางด้านจิตใจ ทุกคนมีกำลังใจที่จะต่อสู้ชีวิต มีรอยยิ้มฉาบอยู่บนใบหน้า ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมเข้าฐานต่างๆ กันอย่างสนุกสนาน ทั้งการวาดภาพ ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน ทำกิจกรรมสันทนาการ ร้องเพลงดิเกฮูลู ทำให้เกิดความรักความผูกพันอย่างแน่นแฟ้น อีกสิ่งที่ประทับใจสุดๆ ก็คือ การที่ได้มีโอกาสช่วยเพื่อนๆ ที่ด้อยกว่า เช่น ช่วยเป็นตาให้แก่เพื่อนที่พิการทางสายตา
ฟิตขานา หลีเส้น หรือ น้องฟิต นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนอันซอเรียะอันดีนียะฮ์ จังหวัดสตูล บอกว่า รู้สึกประทับใจมากที่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการดีๆ ในฐานะที่เราเป็นคนปกติ มีโอกาสช่วยเพื่อนๆ น้องๆที่พิการทางด้านสายตา หูหนวก แขนขาพิการ ด้วยการจูงเพื่อนไปทานข้าว เข้าห้องน้ำ ช่วยพยุงเวลาที่พวกเขาเข้าร่วมกิจกรรม แล้วยังเป็นสะพานเชื่อมโยงความแตกต่างทั้งทาง ด้านร่างกาย ความแตกต่างทางด้านศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิต โดยใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูและเยียวยาจิตใจของเด็กภาคใต้
น.ส.ตอยยีบะห์ แตบาซา อายุ 27 ปี จากโรงเรียนในสังกัด กศน. จังหวัดยะลา บอกว่า น้อยมากที่จะมีหน่วยงานรัฐจัดกิจกรรมดีๆ ให้คนพิการ และเป็นครั้งแรกที่ตนได้มาเข้าร่วมกิจกรรม รู้สึกประทับใจและสนุกมาก ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ และอยากให้มีการจัดกิจกรรมลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นอีกในปีต่อๆไป โดยเฉพาะคนที่ชอบงานทางด้านศิลปะ ยังได้สัมผัสธรรมชาติและบรรยากาศดีๆ ทำให้รู้สึกอบอุ่นกับพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ที่มาทำกิจกรรมร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้อยากให้มาจัดที่ จังหวัดยะลา เพื่อความสะดวกในการเดินทาง
น.ส.สาวิตรี ขาวมัน นักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา บอกว่า เริ่มจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยได้ชักชวน ว่า มีค่าย Art for all ซึ่งมีเด็กพิการมาร่วมเข้าค่ายจำนวนมาก ในช่วงแรกๆ รู้สึกหนักใจมาก มาทำหน้าที่พี่เลี้ยง กลัวทำไม่ได้ เพราะได้ฟังคนอื่นเล่ามาว่าค่อนข้างลำบากและกิจกรรมต่างๆ ยากมาก แต่พอเข้ามาร่วมกิจกรรมแล้ว กลับรู้สึกว่าไม่มีอะไรยากเลย อาจจะมีปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่ก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี
สิ่งที่รู้สึกดีและประทับใจมากๆ ได้เห็นพี่เลี้ยงกลุ่มคอยดูแลเอาใจใส่เด็กๆ เป็นอย่างดี แต่ยังอยากให้เพิ่มพี่เลี้ยงกลุ่มมากกว่านี้ เพราะเด็กพิการยังดูแลกันได้ยังไม่ทั่วถึงและดีพอ ส่วนภาพรวมการจัดกิจกรรมนี้ดีมาก อยากให้จัดขึ้นบ่อยๆ และถ้าเป็นไปได้อยากให้จัดที่ 3 ชายแดนจังหวัดภาคใต้ เด็กๆ จะเดินทางสะดวกมากกว่านี้
ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ประธานมูลนิธิศิลปะเพื่อมวลมนุษย์ เล่าว่า การให้เด็กปกติ ผู้พิการ ตลอดจนอาสาสมัคร เข้าร่วมกิจกรรมค่ายศิลปะครั้งนี้ เพื่อสร้างสังคมการเรียนรู้อยู่ร่วมกัน คนพิการทางสายตาทำหน้าที่เสมือนเป็นปาก-หู คนหูนวกช่วยทำหน้าที่เป็นตาให้กับคนตาบอด ส่วนคนพิการทางร่างกายเป็นสติปัญญา คนปัญญาอ่อนซึ่งมีร่างกายสมบูรณ์เป็นร่างกายให้กับเพื่อนสมาชิก ส่วนคนปกติ อาสาสมัครที่มีเมตตาจิต ทำหน้าที่ประสานงานให้แก่เด็กทุกคน เพื่อช่วยให้ 5คนมาเติมเต็มส่วนที่ขาดซึ่งกันและกัน แล้วรวมเป็นหนึ่งอัจฉริยะ ผนึกกำลังสร้างสรรค์งานศิลปะที่สะท้อนถึงความคิดและจิตวิญญาณของเยาวชน
คราวนี้ลองมาฟังความคิดเห็นของ พาซียะ บูแล หรือ น้องยะ นักเรียน ชั้น ม.2 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 41 จว.ยะลา เล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นว่า ดีใจมากที่ได้มาเข้าค่ายนี้ ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับเพื่อนๆ ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย แต่พวกเขาไม่บกพร่องทางด้านจิตใจ ทุกคนมีกำลังใจที่จะต่อสู้ชีวิต มีรอยยิ้มฉาบอยู่บนใบหน้า ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมเข้าฐานต่างๆ กันอย่างสนุกสนาน ทั้งการวาดภาพ ระบายสี ปั้นดินน้ำมัน ทำกิจกรรมสันทนาการ ร้องเพลงดิเกฮูลู ทำให้เกิดความรักความผูกพันอย่างแน่นแฟ้น อีกสิ่งที่ประทับใจสุดๆ ก็คือ การที่ได้มีโอกาสช่วยเพื่อนๆ ที่ด้อยกว่า เช่น ช่วยเป็นตาให้แก่เพื่อนที่พิการทางสายตา
ฟิตขานา หลีเส้น หรือ น้องฟิต นักเรียนชั้น ม.2 โรงเรียนอันซอเรียะอันดีนียะฮ์ จังหวัดสตูล บอกว่า รู้สึกประทับใจมากที่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการดีๆ ในฐานะที่เราเป็นคนปกติ มีโอกาสช่วยเพื่อนๆ น้องๆที่พิการทางด้านสายตา หูหนวก แขนขาพิการ ด้วยการจูงเพื่อนไปทานข้าว เข้าห้องน้ำ ช่วยพยุงเวลาที่พวกเขาเข้าร่วมกิจกรรม แล้วยังเป็นสะพานเชื่อมโยงความแตกต่างทั้งทาง ด้านร่างกาย ความแตกต่างทางด้านศาสนา ภาษา วัฒนธรรม และวิถีชีวิต โดยใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูและเยียวยาจิตใจของเด็กภาคใต้
น.ส.ตอยยีบะห์ แตบาซา อายุ 27 ปี จากโรงเรียนในสังกัด กศน. จังหวัดยะลา บอกว่า น้อยมากที่จะมีหน่วยงานรัฐจัดกิจกรรมดีๆ ให้คนพิการ และเป็นครั้งแรกที่ตนได้มาเข้าร่วมกิจกรรม รู้สึกประทับใจและสนุกมาก ได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ และอยากให้มีการจัดกิจกรรมลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นอีกในปีต่อๆไป โดยเฉพาะคนที่ชอบงานทางด้านศิลปะ ยังได้สัมผัสธรรมชาติและบรรยากาศดีๆ ทำให้รู้สึกอบอุ่นกับพี่ๆ น้องๆ เพื่อนๆ ที่มาทำกิจกรรมร่วมกัน ถ้าเป็นไปได้อยากให้มาจัดที่ จังหวัดยะลา เพื่อความสะดวกในการเดินทาง
น.ส.สาวิตรี ขาวมัน นักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณสงขลา บอกว่า เริ่มจากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยได้ชักชวน ว่า มีค่าย Art for all ซึ่งมีเด็กพิการมาร่วมเข้าค่ายจำนวนมาก ในช่วงแรกๆ รู้สึกหนักใจมาก มาทำหน้าที่พี่เลี้ยง กลัวทำไม่ได้ เพราะได้ฟังคนอื่นเล่ามาว่าค่อนข้างลำบากและกิจกรรมต่างๆ ยากมาก แต่พอเข้ามาร่วมกิจกรรมแล้ว กลับรู้สึกว่าไม่มีอะไรยากเลย อาจจะมีปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่ก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี
สิ่งที่รู้สึกดีและประทับใจมากๆ ได้เห็นพี่เลี้ยงกลุ่มคอยดูแลเอาใจใส่เด็กๆ เป็นอย่างดี แต่ยังอยากให้เพิ่มพี่เลี้ยงกลุ่มมากกว่านี้ เพราะเด็กพิการยังดูแลกันได้ยังไม่ทั่วถึงและดีพอ ส่วนภาพรวมการจัดกิจกรรมนี้ดีมาก อยากให้จัดขึ้นบ่อยๆ และถ้าเป็นไปได้อยากให้จัดที่ 3 ชายแดนจังหวัดภาคใต้ เด็กๆ จะเดินทางสะดวกมากกว่านี้