จับอีก! อย.ร่วมตำรวจ บก.ปคบ. บุกจับแหล่งขายส่งและโกดังผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องสำอาง ผิดกฎหมายรายใหญ่ ย่านสมุทรสาคร มูลค่าของกลางกว่า 10 ล้านบาท เตือนผู้บริโภคซีอิ๊วปลอมระบาดหนัก แนะก่อนซื้อให้สังเกตที่ฉลากภาษาไทย
วันนี้ (11 ธ.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) พร้อมด้วย ตำรวจ กองบังคับการ ปราบปรามการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกันแถลงข่าว จับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายครั้งใหญ่ ส่งท้ายปี 2555 พร้อมปฏิบัติการ OPSON ครั้งที่ 2 (INTERPOL Operation OPSON ll) โดยระดมจับกุมผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ทางกสิกรรม เครื่องดื่มปลอม และผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย. และกรมศุลกากร ร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้ ว่า เนื่องจากช่วง 6-9 ธ.ค. ที่ผ่านมาได้มีการมุ่งกวาดล้างจับกุมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐานให้หมดสิ้นไปจากภูมิภาค ทำให้วันที่ 7 ธ.ค. อย. ร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ. และสสจ.สมุทรสาคร นำกำลังเข้าจับกุมแหล่งขายส่งและโกดังเก็บผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมายรายใหญ่ได้ หลังจากมีผู้ร้องเรียนผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินว่ามีผู้ลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์จากประเทศเพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่จึงยึดของกลางไว้ทั้งหมดเพื่อดำเนินคดี คิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
นพ.บุญชัย กล่าวว่า จากผลการตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมายลักลอบเข้ามาขายให้กับชาวพม่าในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และขายให้ชาวไทยด้วย ตรวจผลผลิตภัณฑ์ผิดกฏหมายเป็นจำนวนมาก และฉลากส่วนใหญ่เป็นฉลากภาษาต่างประเทศ(พม่า) ซึ่งของกลางทุกรายการเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการขออนุญาตนำเข้ากับทาง อย. รวมทั้งไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตามกฏหมายด้วย เช่น 1.ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฏหมายที่มีฉลากภาษาต่างประเทศ เช่นอาหารประเภทกรุบกรอบ ขนมเด็ก ผลไม้กวน อาหารกระป๋อง เครื่องดื่ม กาแฟ ซอสเย็นตาโฟ ซีอิ๊ว 2.ผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยา มีฉลากภาษาต่างประเทศ เช่น ยาแผนโบราณประเภทแก้ปวดเมื่อย ยาหม่อง ขี้ผึ้ง ส่วนยาแผนปัจจุบันพบเป็น ยาคุมกำเนิด ยาแก้หวัด ยาแก้โรคข้อ ยาถ่ายพยาธิ 3.ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้งและไม่มีฉลาดภาษาไทย มีฉลากภาษาต่างประเทศ(พม่า) เช่น สบู่ แป้งน้ำ เป็นต้น
"ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือยา ในการเลือกซื้อขอเตือนประชาชนว่า อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารที่อ้างนำเข้าจากต่างประเทศ ให้ดูฉลากที่เป็นภาษาไทยของผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง หากเป็นอาหาร จะต้องมีแสดงรายละเอียดครบถ้วน ได้แก่ ฉลากภาษาไทย ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันหมดอายุการใช้งาน และชื่อสถานที่ตั้งของผู้ผลิตและนำเข้า เพื่อตรวจสอบย้อนกลับได้ในกรณีได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ หากเป็นยา จะต้องแสดงฉลากภาษาไทยโดยมีรายละเอียดครบถ้วน เช่นชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ สรรพคุณ ข้อบ่งใช้ ขนาดการใช้ วิธีใช้ คำเตือน ข้อห้ามในการใช้ยา และข้อควรระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาของประเทศไทย และหากเป็นเครื่องสำอาง ควรซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยครบถ้วน ได้แก่ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ มีเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ส่วนประกอบทั้งหมด วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ และคำเตือน(ถ้ามี) ควรอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน และมีความระมัดระวังในการเลือกซื้ออย่างถูกต้อง" นพ.บุญชัย กล่าว
นพ.บุญชัย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีการตรวจพบซีอิ๊วขาวปลอมเป็นจำนวนมาก มีการทำฉลากปลอมเป็นการละเมิดลิขสิทธิของตัวผลิตภัณฑ์จริง ซึ่งดูผิวเผินไม่สามารถแยกออกได้ หากแต่ในการแยกข้อแตกต่างสามารถทำได้โดยการดูลักษณะของฝาที่ไม่ได้รับมาตรฐาน มีความไม่เรียบร้อย ไม่มีการใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน ในการจะเลือกซื้อสินค้าขอให้เน้นเลือกซื้อสินค้าในสถานที่ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากสินค้าที่ปลอมแปลงมักจะเป็นการขายในร้านเล็กๆ หรือตามรถเร่ขาย อีกทั้งยังมีความแตกต่างในเรื่องของราคาที่ถูกว่าทำให้สามารถแยกได้ระดับหนึ่ง กรณีนี้เบื้องต้นอยากให้ช่วยกันเรียกร้องเข้ามาว่ามีอะไรเป็นสิ่งแปลกปลอมบนเปื้อนเข้ามาทำให้เกิดความแตกต่างไปจากของจริง
ทั้งนี้ หากพบผลิตภัณฑ์ไม่แสดงฉลากภาษาไทย หรือพบผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ รวมทั้งไม่สามารถหาผู้ผลิตและผู้จำหน่ายมารับผิดชอบหากเกิดความผิดปกติหรือเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย ขอให้ผู้บริโภคแจ้งเบาะแสผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมายมาได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่พบการกระทำความผิดนั้นๆ หรือแจ้งได้ที่สายด่วน บก.ปคบ.1135 เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฏหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป
วันนี้ (11 ธ.ค.) นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) พร้อมด้วย ตำรวจ กองบังคับการ ปราบปรามการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกันแถลงข่าว จับผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายครั้งใหญ่ ส่งท้ายปี 2555 พร้อมปฏิบัติการ OPSON ครั้งที่ 2 (INTERPOL Operation OPSON ll) โดยระดมจับกุมผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ทางกสิกรรม เครื่องดื่มปลอม และผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย. และกรมศุลกากร ร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้ ว่า เนื่องจากช่วง 6-9 ธ.ค. ที่ผ่านมาได้มีการมุ่งกวาดล้างจับกุมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจริงใจในการแก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้มาตรฐานให้หมดสิ้นไปจากภูมิภาค ทำให้วันที่ 7 ธ.ค. อย. ร่วมกับตำรวจ บก.ปคบ. และสสจ.สมุทรสาคร นำกำลังเข้าจับกุมแหล่งขายส่งและโกดังเก็บผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมายรายใหญ่ได้ หลังจากมีผู้ร้องเรียนผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินว่ามีผู้ลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์จากประเทศเพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่จึงยึดของกลางไว้ทั้งหมดเพื่อดำเนินคดี คิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
นพ.บุญชัย กล่าวว่า จากผลการตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมายลักลอบเข้ามาขายให้กับชาวพม่าในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และขายให้ชาวไทยด้วย ตรวจผลผลิตภัณฑ์ผิดกฏหมายเป็นจำนวนมาก และฉลากส่วนใหญ่เป็นฉลากภาษาต่างประเทศ(พม่า) ซึ่งของกลางทุกรายการเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการขออนุญาตนำเข้ากับทาง อย. รวมทั้งไม่ได้ขออนุญาตขึ้นทะเบียนตามกฏหมายด้วย เช่น 1.ผลิตภัณฑ์อาหารที่ผิดกฏหมายที่มีฉลากภาษาต่างประเทศ เช่นอาหารประเภทกรุบกรอบ ขนมเด็ก ผลไม้กวน อาหารกระป๋อง เครื่องดื่ม กาแฟ ซอสเย็นตาโฟ ซีอิ๊ว 2.ผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำหรับยา มีฉลากภาษาต่างประเทศ เช่น ยาแผนโบราณประเภทแก้ปวดเมื่อย ยาหม่อง ขี้ผึ้ง ส่วนยาแผนปัจจุบันพบเป็น ยาคุมกำเนิด ยาแก้หวัด ยาแก้โรคข้อ ยาถ่ายพยาธิ 3.ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้งและไม่มีฉลาดภาษาไทย มีฉลากภาษาต่างประเทศ(พม่า) เช่น สบู่ แป้งน้ำ เป็นต้น
"ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือยา ในการเลือกซื้อขอเตือนประชาชนว่า อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารที่อ้างนำเข้าจากต่างประเทศ ให้ดูฉลากที่เป็นภาษาไทยของผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง หากเป็นอาหาร จะต้องมีแสดงรายละเอียดครบถ้วน ได้แก่ ฉลากภาษาไทย ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ปริมาณสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันหมดอายุการใช้งาน และชื่อสถานที่ตั้งของผู้ผลิตและนำเข้า เพื่อตรวจสอบย้อนกลับได้ในกรณีได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ หากเป็นยา จะต้องแสดงฉลากภาษาไทยโดยมีรายละเอียดครบถ้วน เช่นชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ สรรพคุณ ข้อบ่งใช้ ขนาดการใช้ วิธีใช้ คำเตือน ข้อห้ามในการใช้ยา และข้อควรระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาของประเทศไทย และหากเป็นเครื่องสำอาง ควรซื้อจากร้านที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยครบถ้วน ได้แก่ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ มีเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ส่วนประกอบทั้งหมด วิธีใช้ ชื่อและที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต ปริมาณสุทธิ และคำเตือน(ถ้ามี) ควรอ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน และมีความระมัดระวังในการเลือกซื้ออย่างถูกต้อง" นพ.บุญชัย กล่าว
นพ.บุญชัย กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้มีการตรวจพบซีอิ๊วขาวปลอมเป็นจำนวนมาก มีการทำฉลากปลอมเป็นการละเมิดลิขสิทธิของตัวผลิตภัณฑ์จริง ซึ่งดูผิวเผินไม่สามารถแยกออกได้ หากแต่ในการแยกข้อแตกต่างสามารถทำได้โดยการดูลักษณะของฝาที่ไม่ได้รับมาตรฐาน มีความไม่เรียบร้อย ไม่มีการใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน ในการจะเลือกซื้อสินค้าขอให้เน้นเลือกซื้อสินค้าในสถานที่ซึ่งมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากสินค้าที่ปลอมแปลงมักจะเป็นการขายในร้านเล็กๆ หรือตามรถเร่ขาย อีกทั้งยังมีความแตกต่างในเรื่องของราคาที่ถูกว่าทำให้สามารถแยกได้ระดับหนึ่ง กรณีนี้เบื้องต้นอยากให้ช่วยกันเรียกร้องเข้ามาว่ามีอะไรเป็นสิ่งแปลกปลอมบนเปื้อนเข้ามาทำให้เกิดความแตกต่างไปจากของจริง
ทั้งนี้ หากพบผลิตภัณฑ์ไม่แสดงฉลากภาษาไทย หรือพบผลิตภัณฑ์อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้ รวมทั้งไม่สามารถหาผู้ผลิตและผู้จำหน่ายมารับผิดชอบหากเกิดความผิดปกติหรือเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย ขอให้ผู้บริโภคแจ้งเบาะแสผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมายมาได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่พบการกระทำความผิดนั้นๆ หรือแจ้งได้ที่สายด่วน บก.ปคบ.1135 เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฏหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป