สธ.ฟุ้ง ผลงานวิจัย “สูตรยาต้านไวรัสเอดส์” ช่วยผู้ป่วยเอดส์อายุยืนยาวขึ้น การันตีด้วย 3 รางวัลใหญ่ระดับประเทศ ผลงานได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลที่จัดให้โรคเอดส์เป็นหนึ่งในโรคที่มีการบูรณาการในระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน ได้แก่ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้คนไทยได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ มาตรฐานเดียวกันเมื่อมีการเปลี่ยนสิทธิ์ก็ยังคงได้รับการรักษาเหมือนเดิม โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา
และทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นวันเอดส์โลก(World AIDS Day) เพื่อให้ทุกคนทั่วโลกได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อของโรคเอดส์รวมถึงสร้างเสริมและสนับสนุน ให้มีมาตรการการป้องกันโรคเอดส์ให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ สำหรับในปี 2556 ประเทศไทยได้มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ สธ.ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 โดยเร่งรัดขยายการป้องกันให้ครอบคลุมประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยง กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มชายรักชาย โดยคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคมทุกปี เป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีแห่งชาติ จะเริ่มตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป และเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยประชาชนสามารถเข้ารับบริการตรวจเลือดฟรีปีละ 2 ครั้งทุกสิทธิหลักประกันสุขภาพ ได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้ทราบสถานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของตนแต่เนิ่นๆ และเข้าสู่ระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็วทุกคน เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
นอกจากนี้ สธ.ยังได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพบริการด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาทิ จัดทำแนวทางระดับชาติการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย และพนักงานบริการทางเพศ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและระบบการดูแลสุขภาพรวมถึงเสริมสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ รวมถึงการค้นหาวิธีการรักษาและยืดอายุของผู้ป่วยเอดส์ในประเทศให้ยืนยาวขึ้นด้วย
ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา สธ.ได้ทำการศึกษาและเผยแพร่ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการค้นหาสูตรยาต้านไวรัสที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเอดส์คนไทยที่กำลังเป็นวัณโรค เรื่อง การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบยาต้านไวรัสสูตรที่มีอีฟาไวเรนซ์กับสูตรที่มีเนวิราพีนในผู้ป่วยเอดส์ที่กำลังเป็นวัณโรคและได้รับยาวัณโรคที่มีไรแฟมพิซินเป็นส่วนประกอบ ผลงานโดย นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ สังกัดสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค พร้อมทั้งคณะ ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะในผู้ป่วยเอดส์ โดยปกติเมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีได้เข้าสู่ร่างกายจะไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง ผู้ป่วยจึงมีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย ประกอบกับประเทศไทยยังมีการระบาดของวัณโรค เพราะฉะนั้นจึงพบอุบัติการณ์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นวัณโรคได้มาก โดยวัณโรคนับเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสสูงเป็นอันดับหนึ่งของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยเสียชีวิตด้วย เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นวัณโรคมักจะมีอาการรุนแรงกว่าคนปกติที่เป็นวัณโรค ในการรักษาผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคด้วยนั้น ผู้ป่วยจะได้รับทั้งยาต้านไวรัสเอดส์ควบคู่ไปกับยารักษาวัณโรค แต่ปัญหาที่พบคือ ยาต้านไวรัสเอดส์มีปฏิกิริยากับยารักษาวัณโรคที่ชื่อไรแฟมปิซิน ซึ่งลดทอนประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสในร่างกายผู้ป่วย 20-50% ส่งผลให้เกิดการดื้อยาและต้องเปลี่ยนไปใช้ยาสูตรสำรองที่ราคาแพง และภายหลังการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาสูตรที่มีอิฟาวิเรนซ์เป็นส่วนประกอบนี้มีแนวโน้มการเกิดภาวะการรักษาล้มเหลวน้อยลง 3.6 เท่า งานวิจัยนี้จึงก่อให้เกิดกรอบการรักษาผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกณฑ์อายุเฉลี่ยใกล้เคียงคนปกติ และถือว่าเป็นสูตรยาต้านไวรัสเอดส์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นวัณโรคด้วย
ทั้งนี้ จากผลงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ และทีมวิจัย ได้รับรางวัลสำคัญในระดับประเทศ 3 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัลนักวิจัยดีเด่น TRF-CHE-SCOPUS Young Researcher Awards 2011 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 2.รางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว.ประจำปี 2554 ในกลุ่มวิจัยด้านวิชาการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา ได้รับรางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ จากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา นอกจากนี้ ผลงานวิจัยนี้ยังได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับนานาชาติหลายฉบับ เช่น วารสาร Clinical Infections Diseases, วารสาร AIDS, วารสาร Antimicrobial agents and chemotherapy และวารสาร AIDS Research and Therapy เป็นต้น
ที่สำคัญ บทความเหล่านี้ เป็นการสร้างผลงานในระดับนานาชาติ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นที่อ้างอิงและเป็นต้นแบบในการดำเนินงานทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย ดังจะเห็นได้จากบทความหลักที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Infections Diseases เป็นบทความที่ได้ถูกอ้างอิงสูงสุดบทความหนึ่งในรอบ 1 ปีของวารสาร และผลงานวิจัยยังได้ถูกนำไปอ้างอิงในแนวทางการรักษาผู้ป่วยเอดส์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์และต่อผู้ป่วยโดยตรง หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถโทร.สายด่วนปรึกษาเอดส์แห่งชาติ 1663 และ 02-253-0996 ทางเว็บไซต์ www.adamslove.org หรือศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลที่จัดให้โรคเอดส์เป็นหนึ่งในโรคที่มีการบูรณาการในระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 กองทุน ได้แก่ สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค เพื่อให้คนไทยได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ มาตรฐานเดียวกันเมื่อมีการเปลี่ยนสิทธิ์ก็ยังคงได้รับการรักษาเหมือนเดิม โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา
และทุกวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นวันเอดส์โลก(World AIDS Day) เพื่อให้ทุกคนทั่วโลกได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อของโรคเอดส์รวมถึงสร้างเสริมและสนับสนุน ให้มีมาตรการการป้องกันโรคเอดส์ให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ สำหรับในปี 2556 ประเทศไทยได้มีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ สธ.ได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 โดยเร่งรัดขยายการป้องกันให้ครอบคลุมประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยง กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มชายรักชาย โดยคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคมทุกปี เป็นวันรณรงค์ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีแห่งชาติ จะเริ่มตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป และเพิ่มการเข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยประชาชนสามารถเข้ารับบริการตรวจเลือดฟรีปีละ 2 ครั้งทุกสิทธิหลักประกันสุขภาพ ได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้ทราบสถานภาพการติดเชื้อเอชไอวีของตนแต่เนิ่นๆ และเข้าสู่ระบบการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็วทุกคน เป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
นอกจากนี้ สธ.ยังได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพบริการด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาทิ จัดทำแนวทางระดับชาติการดำเนินงานป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย และพนักงานบริการทางเพศ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและระบบการดูแลสุขภาพรวมถึงเสริมสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคเอดส์ รวมถึงการค้นหาวิธีการรักษาและยืดอายุของผู้ป่วยเอดส์ในประเทศให้ยืนยาวขึ้นด้วย
ด้าน ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา สธ.ได้ทำการศึกษาและเผยแพร่ผลงานวิจัยเกี่ยวกับการค้นหาสูตรยาต้านไวรัสที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเอดส์คนไทยที่กำลังเป็นวัณโรค เรื่อง การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบยาต้านไวรัสสูตรที่มีอีฟาไวเรนซ์กับสูตรที่มีเนวิราพีนในผู้ป่วยเอดส์ที่กำลังเป็นวัณโรคและได้รับยาวัณโรคที่มีไรแฟมพิซินเป็นส่วนประกอบ ผลงานโดย นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ สังกัดสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค พร้อมทั้งคณะ ซึ่งผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคมโดยรวม โดยเฉพาะในผู้ป่วยเอดส์ โดยปกติเมื่อเชื้อไวรัสเอชไอวีได้เข้าสู่ร่างกายจะไปทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง ผู้ป่วยจึงมีโอกาสติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่าย ประกอบกับประเทศไทยยังมีการระบาดของวัณโรค เพราะฉะนั้นจึงพบอุบัติการณ์ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นวัณโรคได้มาก โดยวัณโรคนับเป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสสูงเป็นอันดับหนึ่งของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยเสียชีวิตด้วย เพราะผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นวัณโรคมักจะมีอาการรุนแรงกว่าคนปกติที่เป็นวัณโรค ในการรักษาผู้ป่วยเอดส์ที่ติดเชื้อวัณโรคด้วยนั้น ผู้ป่วยจะได้รับทั้งยาต้านไวรัสเอดส์ควบคู่ไปกับยารักษาวัณโรค แต่ปัญหาที่พบคือ ยาต้านไวรัสเอดส์มีปฏิกิริยากับยารักษาวัณโรคที่ชื่อไรแฟมปิซิน ซึ่งลดทอนประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสในร่างกายผู้ป่วย 20-50% ส่งผลให้เกิดการดื้อยาและต้องเปลี่ยนไปใช้ยาสูตรสำรองที่ราคาแพง และภายหลังการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาสูตรที่มีอิฟาวิเรนซ์เป็นส่วนประกอบนี้มีแนวโน้มการเกิดภาวะการรักษาล้มเหลวน้อยลง 3.6 เท่า งานวิจัยนี้จึงก่อให้เกิดกรอบการรักษาผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกณฑ์อายุเฉลี่ยใกล้เคียงคนปกติ และถือว่าเป็นสูตรยาต้านไวรัสเอดส์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่เป็นวัณโรคด้วย
ทั้งนี้ จากผลงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ และทีมวิจัย ได้รับรางวัลสำคัญในระดับประเทศ 3 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัลนักวิจัยดีเด่น TRF-CHE-SCOPUS Young Researcher Awards 2011 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 2.รางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว.ประจำปี 2554 ในกลุ่มวิจัยด้านวิชาการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา ได้รับรางวัลโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ จากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา นอกจากนี้ ผลงานวิจัยนี้ยังได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการชั้นนำระดับนานาชาติหลายฉบับ เช่น วารสาร Clinical Infections Diseases, วารสาร AIDS, วารสาร Antimicrobial agents and chemotherapy และวารสาร AIDS Research and Therapy เป็นต้น
ที่สำคัญ บทความเหล่านี้ เป็นการสร้างผลงานในระดับนานาชาติ และสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นที่อ้างอิงและเป็นต้นแบบในการดำเนินงานทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมาย ดังจะเห็นได้จากบทความหลักที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Infections Diseases เป็นบทความที่ได้ถูกอ้างอิงสูงสุดบทความหนึ่งในรอบ 1 ปีของวารสาร และผลงานวิจัยยังได้ถูกนำไปอ้างอิงในแนวทางการรักษาผู้ป่วยเอดส์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์และต่อผู้ป่วยโดยตรง หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถโทร.สายด่วนปรึกษาเอดส์แห่งชาติ 1663 และ 02-253-0996 ทางเว็บไซต์ www.adamslove.org หรือศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ 1422