สธ.คาดไทยมีกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย 6 แสนคน จาก 32 ล้านคน มีแนวโน้มการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้น 11% ในรอบ 24 ปี และจะมีอัตรานำหน้ากลุ่มเสี่ยงอื่นในอีก 12 ปีข้างหน้า แนะสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเซ็กซ์ทุกช่องทาง หลังวิจัยพบเสี่ยงเป็นมะเร็งทวารหนักจากเชื้อไวรัสเอชพีวีสูงกว่ากลุ่มอื่น ย้ำ ตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีปีละ 2 ครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนัก
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 1 ธ.ค.ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก (World AIDS Day) ซึ่งปีนี้กำหนดประเด็นรณรงค์ ว่า เอดส์ลดให้เหลือศูนย์ได้ (Getting to Zero) มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ 3 ประการ ร่วมกันภายในปี 2559 คือ ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่มีการเสียชีวิตจากเอดส์ และไม่มีการเลือกปฏิบัติกับผู้ป่วยผู้ติดเชื้อเอดส์
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า จากการคาดการณ์ ในปี 2555 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์สะสมรวม 1,157,589 คน เสียชีวิต 695,905 คน ยังมีชีวิตอยู่ 464,414 คน และมีผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ 9,473 คน กว่าร้อยละ 80 ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ ร้อยละ 62 อยู่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานขายบริการทางเพศ และผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ที่น่าห่วงคือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งคาดประมาณว่า มีประมาณ 600,000 คน จากชายไทยทั้งหมด 32 ล้านกว่าคน เนื่องจากพบว่าในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ.2530-2554 มีแนวโน้มการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และคาดการณ์ในอีก 12 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ.2567 กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จะมีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีสูงกว่ากลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่น กลุ่มหญิงบริการ กลุ่มฉีดสารเสพติดทางเส้นเลือด
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีแนวโน้มป่วยเป็นมะเร็งทวารหนักสูงขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก และติดเชื้อไวรัสเอชพีวีที่อยู่ที่อวัยวะเพศชาย เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณทวารหนักมีลักษณะคล้ายกับบริเวณปากมดลูก จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งที่ทวารหนักเช่นเดียวกับที่เกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง โดยการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า ผู้ป่วยเอชไอวีมีอัตราเสี่ยงเป็นมะเร็งทวารหนักสูงกว่ามะเร็งปากมดลูก และโอกาสเกิดมะเร็งทวารหนักจะเพิ่มจาก 0.8 ต่อแสนประชากร เป็น 35 ต่อแสนประชากรในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หากติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยโอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว และหากผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกัน (CD4 T-cell) ลดลง จะมีแนวโน้มเกิดความผิดปกติที่เซลล์ทวารหนักสูงขึ้น
พญ.รสพร กิตติเยาวมาลย์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ข้อมูลจากการศึกษากลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ของศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ระหว่างมกราคม 2550-เมษายน 2551 จำนวน 174 คน พบว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี 118 คน หรือร้อยละ 67.8 และพบว่า มีเซลล์ทวารหนักผิดปกติถึง 40 คน หรือร้อยละ 33.9 ดังนั้น วิธีที่ดีสุด คือ การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อทั้งเอชพีวีและเอชไอวี โดยขอให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกช่องทาง เช่น ออรัลเซ็กซ์ หรือทวารหนัก เป็นต้น การล้างอวัยะเพศ หรือการสวนล้างทวารหนักก่อนมีเพศสัมพันธ์ ไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อโรค หรือป้องกันการติดเชื้อได้ สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงขอให้ไปรับการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อเอชไอวีที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หากรู้เร็วรักษาเร็วความเสี่ยงเป็นมะเร็งทวารหนักและโรคแทรกซ้อนจะลดลง โดยสามารถโทร.ขอรับคำปรึกษาก่อนเจาะเลือดได้ที่สายด่วน 1663 สภากาชาดไทยและมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ทุกวัน เวลา 10.00-20.00 น.
“กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ติดเชื้อเอชไอวี แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนักทุก 1 ปี ส่วนผู้ไม่ติดเชื้อเอชไอวีให้ตรวจทุก 3 ปี ขณะนี้เปิดให้บริการ 2 แห่ง ที่กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ซึ่งราคาตรวจคัดกรองเท่ากับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีวิธีการตรวจที่ง่าย ไม่เจ็บ หากตรวจพบเร็ว ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก มีโอกาสหายขาดและรอดชีวิตเพิ่มขึ้น” พญ.รสพร กล่าว
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 1 ธ.ค.ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก (World AIDS Day) ซึ่งปีนี้กำหนดประเด็นรณรงค์ ว่า เอดส์ลดให้เหลือศูนย์ได้ (Getting to Zero) มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ 3 ประการ ร่วมกันภายในปี 2559 คือ ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่มีการเสียชีวิตจากเอดส์ และไม่มีการเลือกปฏิบัติกับผู้ป่วยผู้ติดเชื้อเอดส์
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า จากการคาดการณ์ ในปี 2555 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์สะสมรวม 1,157,589 คน เสียชีวิต 695,905 คน ยังมีชีวิตอยู่ 464,414 คน และมีผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ 9,473 คน กว่าร้อยละ 80 ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ ร้อยละ 62 อยู่ในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานขายบริการทางเพศ และผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีด ที่น่าห่วงคือ กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ซึ่งคาดประมาณว่า มีประมาณ 600,000 คน จากชายไทยทั้งหมด 32 ล้านกว่าคน เนื่องจากพบว่าในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ.2530-2554 มีแนวโน้มการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และคาดการณ์ในอีก 12 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ.2567 กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จะมีอัตราการติดเชื้อเอชไอวีสูงกว่ากลุ่มเสี่ยงอื่นๆ เช่น กลุ่มหญิงบริการ กลุ่มฉีดสารเสพติดทางเส้นเลือด
นพ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายมีแนวโน้มป่วยเป็นมะเร็งทวารหนักสูงขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก และติดเชื้อไวรัสเอชพีวีที่อยู่ที่อวัยวะเพศชาย เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณทวารหนักมีลักษณะคล้ายกับบริเวณปากมดลูก จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งที่ทวารหนักเช่นเดียวกับที่เกิดมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง โดยการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า ผู้ป่วยเอชไอวีมีอัตราเสี่ยงเป็นมะเร็งทวารหนักสูงกว่ามะเร็งปากมดลูก และโอกาสเกิดมะเร็งทวารหนักจะเพิ่มจาก 0.8 ต่อแสนประชากร เป็น 35 ต่อแสนประชากรในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หากติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วยโอกาสเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว และหากผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีจำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกัน (CD4 T-cell) ลดลง จะมีแนวโน้มเกิดความผิดปกติที่เซลล์ทวารหนักสูงขึ้น
พญ.รสพร กิตติเยาวมาลย์ หัวหน้ากลุ่มงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ข้อมูลจากการศึกษากลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ของศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ระหว่างมกราคม 2550-เมษายน 2551 จำนวน 174 คน พบว่า มีผู้ติดเชื้อเอชไอวี 118 คน หรือร้อยละ 67.8 และพบว่า มีเซลล์ทวารหนักผิดปกติถึง 40 คน หรือร้อยละ 33.9 ดังนั้น วิธีที่ดีสุด คือ การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อทั้งเอชพีวีและเอชไอวี โดยขอให้กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกช่องทาง เช่น ออรัลเซ็กซ์ หรือทวารหนัก เป็นต้น การล้างอวัยะเพศ หรือการสวนล้างทวารหนักก่อนมีเพศสัมพันธ์ ไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อโรค หรือป้องกันการติดเชื้อได้ สำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงขอให้ไปรับการตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อเอชไอวีที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หากรู้เร็วรักษาเร็วความเสี่ยงเป็นมะเร็งทวารหนักและโรคแทรกซ้อนจะลดลง โดยสามารถโทร.ขอรับคำปรึกษาก่อนเจาะเลือดได้ที่สายด่วน 1663 สภากาชาดไทยและมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ทุกวัน เวลา 10.00-20.00 น.
“กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ติดเชื้อเอชไอวี แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งทวารหนักทุก 1 ปี ส่วนผู้ไม่ติดเชื้อเอชไอวีให้ตรวจทุก 3 ปี ขณะนี้เปิดให้บริการ 2 แห่ง ที่กลุ่มบางรักโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ซึ่งราคาตรวจคัดกรองเท่ากับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีวิธีการตรวจที่ง่าย ไม่เจ็บ หากตรวจพบเร็ว ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก มีโอกาสหายขาดและรอดชีวิตเพิ่มขึ้น” พญ.รสพร กล่าว