“พลังงาน” เป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ทั้งด้านการเสาะหาแหล่งพลังงานทดแทนใหม่ๆ การปลุกกระแสอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงาน ฯลฯ จนกลายเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคนมิอาจมองข้ามได้ และจากวิกฤตราคาพลังงานที่ผ่านมาเป็นสิ่งย้ำเตือนให้ใครหลายคนหันมาใส่ใจเรื่องการประหยัดพลังงาน รักษ์สิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล และเอกชนก็พยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มาพัฒนาพลังงานทดแทน รวมถึงจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อปลูกจิตสำนึกรักษ์พลังงานให้กับเยาวชน ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานที่เดินหน้าให้ความรู้ความเข้าใจและปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง นั่นคือสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน
ล่าสุด สนพ. ได้จัดโครงการ “Energy Planning Gang” ภายใต้แนวคิด ส่งเสริม และสนับสนุนการรณรงค์ประหยัดพลังงานสู่สาธารณชน ที่มุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องการวางแผนเพื่อการประหยัดพลังงานและใช้พลังงานในโรงเรียนหรือชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นจากสิ่งใกล้ๆ ตัว ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างวินัยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงาน ที่จะนำไปสู่การประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้นำเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือก 50 ทีม เข้าร่วมกิจกรรมค่ายพลังงานและทัศนศึกษาเยี่ยมชมโครงการด้านพลังงาน เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน เพื่อจัดทำ “แผนประหยัดพลังงาน ในชุมชนของเรา”และส่งผลงานเข้าประกวดในรอบสุดท้าย ซึ่งทีมที่ผ่านเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย จะได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษา มูลค่ารวมทั้งสิ้น 140,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตรจาก สนพ.
นายสิทธิโชติ วันทวิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้เล่าว่า ก่อนที่น้องๆ ทั้ง 50 ทีม จะเข้ามาอยู่ในค่ายพลังงานได้นั้น จะต้องผ่านการคัดเลือกจากการส่ง “แผนประหยัดพลังงานในโรงเรียนของฉัน” ที่ส่งแผนเข้าประกวดมากถึง 267 แผนงาน จาก 157 โรงเรียนทั่วประเทศ
“และตลอดระยะเวลา 3 วันในค่าย น้องๆ ได้เรียนรู้พลังงานในหลายด้าน ได้แก่ เชิงวิชาการ เช่น ฟังบรรยายข้อมูลด้านพลังงานและนโยบายพลังงานของประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ ต่อด้วยการเรียนรู้จากฐานกิจกรรมต่างๆ เช่น รู้จักอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอาคารต้นแบบที่เน้นหลักการสร้างแบบประหยัดพลังงาน เรียนรู้ความยากลำบากในการจัดหาพลังงาน และปริมาณสำรองของพลังงานที่มีจำกัด เรียนรู้สภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงาน ฯลฯ นอกจากนี้ น้องๆ ยังได้รับคำแนะนำดีๆ ถึงแนวทางในการวางแผนงานและแนวทางการจัดทำแผนพลังงานชุมชน ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการเดินทางทัศนศึกษาโรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเรียนรู้ข้อมูลสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าและวัตถุดิบการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ทำกิจกรรม เรียกได้ว่า เจาะลึกข้อมูลแบบไม่มีขีดจำกัด เพราะหากน้องๆ มีข้อสงสัย ก็สามารถซักถามกับวิทยากรได้เต็มที่กันเลยทีเดียว ซึ่งก็คาดว่าสี่งที่น้องๆ เยาวชนได้รับจากการเข้าค่ายครั้งนี้จะมีส่วนช่วยให้มีแนวทางในการจัดทำแผนให้มีความน่าสนมากขึ้น”
หลังจากฟังคำบอกเล่าของผู้บริหาร สนพ.กัน แล้ว คราวนี้เราลองมาฟังคำบอกเล่าจากประสบการณ์โดยตรงของน้องๆ และอาจารย์โรงเรียนต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง
“ผมอยากเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการอนุรักษ์พลังงาน และอยากนำแผนที่ส่งเข้าประกวดมาพัฒนาใช้กับโรงเรียน-ชุมชน เพราะรู้สึกเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมาก ในการช่วยชาติลดใช้พลังงาน” นี่คือ คำบอกเล่าจากน้องปลื้ม (นายปลื้ม พงษ์พิศาล) ชั้น ม.4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งจากการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอบรมความรู้ด้านพลังงาน ทำให้ผมมีมุมมองด้านพลังงานกว้างขึ้น เพราะได้เรียนรู้ความคิดเห็นของเพื่อนๆ ต่างโรงเรียนที่แตกต่างกันออกไป ส่วนกิจกรรมตามฐานต่างๆ ที่ได้เข้าร่วม มันแฝงไปด้วยความรู้ ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ และชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า โดยส่วนตัวแล้วผมชอบฐานที่ 1 เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอาคารต้นแบบที่มีความทันสมัย แถมยังช่วยประหยัดพลังงานด้วย ส่วนในการแข่งขันรอบสุดท้าย ผมจะนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ มาปรับให้เข้ากับชุมชนเมือง ย่านธุรกิจต่างๆ แม้ว่าในเมืองไม่มีก๊าซชีวภาพ ไม่มีก๊าซชีวมวล แต่เราจะเน้นการรณรงค์ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าเพื่อพัฒนาชุมชนเมือง
น้องพีเจ้น หรือ นายรามิล เชาว์พาณิชย์เจริญ ชั้น ม.5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล เล่าว่า “การดำรงชีวิต ไม่สามารถอยู่ได้โดยขาดพลังงาน” จากการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอบรมความรู้ด้านพลังงาน ทำให้รู้ว่าพลังงานเหลือน้อย เราควรใช้อย่างประหยัด และใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งผมต้องกอบโกยความรู้จากการเข้าค่ายเพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาในการทำแผนส่งประกวดรอบสุดท้าย ก่อนหน้านี้ ในการส่งประกวดแผนงานรอบแรก ผมนำเอาแนวคิด “กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า” โดยใช้การขับเคลื่อนจากแรงน้ำทิ้งของเครื่องซักผ้า ส่วนในรอบสุดท้ายยังคงคอนเซ็ปต์เดิม คือมุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานที่อยู่รอบๆ ตัว และสามารถนำมาใช้ได้จริง
อาจารย์บุเรียม พรหมปลัด คุณครูที่ปรึกษา จากโรงเรียนกงหราพิทชากร จ.พัทลุง เล่าว่า ขอบคุณ สนพ.ที่จัดกิจกรรมดีๆ ทำให้ครูและนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการคิด-วิเคราะห์ ด้านแผนการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการเข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายเราได้รับคำแนะนำจากวิทยากร และได้แนวคิดจากการร่วมกิจกรรมในฐานต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการส่งประกวดแผนรอบสุดท้าย โดยเน้นรณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้พลังงานในชุมชน
อาจารย์ขจรยศ จันทมุณี คุณครูที่ปรึกษา จากโรงเรียนโสตศึกษา จ.อุดรธานี เล่าว่า ก่อนอื่นต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าโรงเรียนเราเป็นโรงเรียนสอนคนหูหนวก แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค เพราะน้องๆ มีความตั้งใจ และมีความคิดดี ขณะที่คุณครูก็ช่วยอย่างเต็มที่ในด้านการสื่อสาร โดยการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ และได้ร่วมทำกิจกรรมกับเด็กปกติ ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติด้านอนุรักษ์พลังงานที่เห็นภาพและเข้าถึงเยาวชน โดยในการประกวดรอบสุดท้ายจะมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงานรักษ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว ที่สามารถต่อยอดใช้กับโรงเรียนและชุมชนได้
เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความสำคัญ หากมีการให้ความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญ และได้กระตุ้นให้เกิดลงมือปฎิบัติจริง ก็เท่ากับเป็นการเตรียมความพร้อมเยาวชนในเรื่องการประหยัดพลังงาน ออกสู่สังคมต่อไป ซึ่งคงต้องติดตามผลการประกวด “แผนประหยัดพลังงาน ในชุมชนของเรา” ในรอบสุดท้าย ว่า ทีมใดจะได้ผ่านเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย
ล่าสุด สนพ. ได้จัดโครงการ “Energy Planning Gang” ภายใต้แนวคิด ส่งเสริม และสนับสนุนการรณรงค์ประหยัดพลังงานสู่สาธารณชน ที่มุ่งเน้นให้ความรู้เรื่องการวางแผนเพื่อการประหยัดพลังงานและใช้พลังงานในโรงเรียนหรือชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มต้นจากสิ่งใกล้ๆ ตัว ที่สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างวินัยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้พลังงาน ที่จะนำไปสู่การประหยัดพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้นำเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือก 50 ทีม เข้าร่วมกิจกรรมค่ายพลังงานและทัศนศึกษาเยี่ยมชมโครงการด้านพลังงาน เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน เพื่อจัดทำ “แผนประหยัดพลังงาน ในชุมชนของเรา”และส่งผลงานเข้าประกวดในรอบสุดท้าย ซึ่งทีมที่ผ่านเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย จะได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษา มูลค่ารวมทั้งสิ้น 140,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศและเกียรติบัตรจาก สนพ.
นายสิทธิโชติ วันทวิน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน ได้เล่าว่า ก่อนที่น้องๆ ทั้ง 50 ทีม จะเข้ามาอยู่ในค่ายพลังงานได้นั้น จะต้องผ่านการคัดเลือกจากการส่ง “แผนประหยัดพลังงานในโรงเรียนของฉัน” ที่ส่งแผนเข้าประกวดมากถึง 267 แผนงาน จาก 157 โรงเรียนทั่วประเทศ
“และตลอดระยะเวลา 3 วันในค่าย น้องๆ ได้เรียนรู้พลังงานในหลายด้าน ได้แก่ เชิงวิชาการ เช่น ฟังบรรยายข้อมูลด้านพลังงานและนโยบายพลังงานของประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ ต่อด้วยการเรียนรู้จากฐานกิจกรรมต่างๆ เช่น รู้จักอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอาคารต้นแบบที่เน้นหลักการสร้างแบบประหยัดพลังงาน เรียนรู้ความยากลำบากในการจัดหาพลังงาน และปริมาณสำรองของพลังงานที่มีจำกัด เรียนรู้สภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการใช้พลังงาน ฯลฯ นอกจากนี้ น้องๆ ยังได้รับคำแนะนำดีๆ ถึงแนวทางในการวางแผนงานและแนวทางการจัดทำแผนพลังงานชุมชน ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการเดินทางทัศนศึกษาโรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเรียนรู้ข้อมูลสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าและวัตถุดิบการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ทำกิจกรรม เรียกได้ว่า เจาะลึกข้อมูลแบบไม่มีขีดจำกัด เพราะหากน้องๆ มีข้อสงสัย ก็สามารถซักถามกับวิทยากรได้เต็มที่กันเลยทีเดียว ซึ่งก็คาดว่าสี่งที่น้องๆ เยาวชนได้รับจากการเข้าค่ายครั้งนี้จะมีส่วนช่วยให้มีแนวทางในการจัดทำแผนให้มีความน่าสนมากขึ้น”
หลังจากฟังคำบอกเล่าของผู้บริหาร สนพ.กัน แล้ว คราวนี้เราลองมาฟังคำบอกเล่าจากประสบการณ์โดยตรงของน้องๆ และอาจารย์โรงเรียนต่างๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ ว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง
“ผมอยากเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการอนุรักษ์พลังงาน และอยากนำแผนที่ส่งเข้าประกวดมาพัฒนาใช้กับโรงเรียน-ชุมชน เพราะรู้สึกเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจมาก ในการช่วยชาติลดใช้พลังงาน” นี่คือ คำบอกเล่าจากน้องปลื้ม (นายปลื้ม พงษ์พิศาล) ชั้น ม.4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ซึ่งจากการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอบรมความรู้ด้านพลังงาน ทำให้ผมมีมุมมองด้านพลังงานกว้างขึ้น เพราะได้เรียนรู้ความคิดเห็นของเพื่อนๆ ต่างโรงเรียนที่แตกต่างกันออกไป ส่วนกิจกรรมตามฐานต่างๆ ที่ได้เข้าร่วม มันแฝงไปด้วยความรู้ ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ และชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า โดยส่วนตัวแล้วผมชอบฐานที่ 1 เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นอาคารต้นแบบที่มีความทันสมัย แถมยังช่วยประหยัดพลังงานด้วย ส่วนในการแข่งขันรอบสุดท้าย ผมจะนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ มาปรับให้เข้ากับชุมชนเมือง ย่านธุรกิจต่างๆ แม้ว่าในเมืองไม่มีก๊าซชีวภาพ ไม่มีก๊าซชีวมวล แต่เราจะเน้นการรณรงค์ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าเพื่อพัฒนาชุมชนเมือง
น้องพีเจ้น หรือ นายรามิล เชาว์พาณิชย์เจริญ ชั้น ม.5 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล เล่าว่า “การดำรงชีวิต ไม่สามารถอยู่ได้โดยขาดพลังงาน” จากการเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอบรมความรู้ด้านพลังงาน ทำให้รู้ว่าพลังงานเหลือน้อย เราควรใช้อย่างประหยัด และใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งผมต้องกอบโกยความรู้จากการเข้าค่ายเพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนาในการทำแผนส่งประกวดรอบสุดท้าย ก่อนหน้านี้ ในการส่งประกวดแผนงานรอบแรก ผมนำเอาแนวคิด “กังหันน้ำผลิตไฟฟ้า” โดยใช้การขับเคลื่อนจากแรงน้ำทิ้งของเครื่องซักผ้า ส่วนในรอบสุดท้ายยังคงคอนเซ็ปต์เดิม คือมุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานที่อยู่รอบๆ ตัว และสามารถนำมาใช้ได้จริง
อาจารย์บุเรียม พรหมปลัด คุณครูที่ปรึกษา จากโรงเรียนกงหราพิทชากร จ.พัทลุง เล่าว่า ขอบคุณ สนพ.ที่จัดกิจกรรมดีๆ ทำให้ครูและนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการคิด-วิเคราะห์ ด้านแผนการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการเข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายเราได้รับคำแนะนำจากวิทยากร และได้แนวคิดจากการร่วมกิจกรรมในฐานต่างๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการส่งประกวดแผนรอบสุดท้าย โดยเน้นรณรงค์ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้พลังงานในชุมชน
อาจารย์ขจรยศ จันทมุณี คุณครูที่ปรึกษา จากโรงเรียนโสตศึกษา จ.อุดรธานี เล่าว่า ก่อนอื่นต้องแจ้งให้ทราบก่อนว่าโรงเรียนเราเป็นโรงเรียนสอนคนหูหนวก แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค เพราะน้องๆ มีความตั้งใจ และมีความคิดดี ขณะที่คุณครูก็ช่วยอย่างเต็มที่ในด้านการสื่อสาร โดยการร่วมกิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ และได้ร่วมทำกิจกรรมกับเด็กปกติ ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติด้านอนุรักษ์พลังงานที่เห็นภาพและเข้าถึงเยาวชน โดยในการประกวดรอบสุดท้ายจะมุ่งเน้นการอนุรักษ์พลังงานรักษ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว ที่สามารถต่อยอดใช้กับโรงเรียนและชุมชนได้
เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความสำคัญ หากมีการให้ความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญ และได้กระตุ้นให้เกิดลงมือปฎิบัติจริง ก็เท่ากับเป็นการเตรียมความพร้อมเยาวชนในเรื่องการประหยัดพลังงาน ออกสู่สังคมต่อไป ซึ่งคงต้องติดตามผลการประกวด “แผนประหยัดพลังงาน ในชุมชนของเรา” ในรอบสุดท้าย ว่า ทีมใดจะได้ผ่านเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย