โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
การรักษาด้วยยาอาจไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากการใช้ยาแบบพ่นเข้าปากเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมักป่วยด้วยโรคดังกล่าว วิธีรับมือที่เหมาะสมที่สุด จึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการกำเริบ รวมไปถึงการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด ก็จะช่วยให้อาการกำเริบลดลง
ศ.พญ.สุมาลี เกียรติบุญศรี หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า วิธีของแพทย์ตะวันตกนิยมให้ออกกำลังกายที่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อทุกส่วน เช่น วิ่งลู่ ปั่นจักรยาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เมื่อออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาทีต่อวัน จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 6 สัปดาห์ สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ ทำให้อาการกำเริบลดน้อยลง
แต่สำหรับประเทศไทยวิธีดังกล่าวกลับไม่เป็นผลนัก ศ.พญ.สุมาลี อธิบายว่า ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยใช้วิธีดังกล่าวในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมาก่อน แต่ผู้เข้าร่วมน้อย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ บางทีวิ่งลู่แล้วมักจะหกล้ม และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงพยายามวิจัยวิธีออกกำลังกายแบบใหม่ที่สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ สุดท้ายคือการออกกำลังกายด้วย “ไทชิ ชี่กง”
“ไทชิ ชี่กง เป็นการนำเอาท่ารำไทเก๊กของจีน 9 ท่า ซึ่งมีข้อดีคือเป็นการออกกำลังกายที่อาศัยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วนแบบช้าๆ มาผสมผสานกับการใส่วิธีการหายใจที่ถูกต้องตามอย่างแพทย์ตะวันตก ทำให้เหมาะสมกับคนทุกวัย ที่สำคัญสามารถทำได้เองที่บ้านหรือทำพร้อมกันเป็นกลุ่มได้” ศ.พญ.สุมาลี กล่าว
สำหรับท่ารำไทชิ ชี่กง ทั้ง 9 ท่านั้น ศ.พญ.สุมาลี อธิบายว่า ท่ารำไทเก๊ก มีจำนวนมาก จึงได้คัดเลือกท่าที่ง่ายต่อการใส่ลมหายใจประกอบมา 9 ท่า เพื่อทำการวิจัยและทดลอง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงประสบความสำเร็จ โดยแต่ละท่าจะมีการกำหนดลมหายใจ และต้องทำซ้ำกันไปมาวันละประมาณ 20-30 นาที จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
“จากการศึกษาในผู้ป่วยตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวพบว่า ผู้ป่วยมีการเผาผลาญออกซิเจนน้อยลง มีปริมาตรการหายใจเพิ่มขึ้น สามารถออกกำลังกายสูงสุดได้มากขึ้น ปอดหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เป็นต้น โดยรพ.รามาฯได้นำไทชิ ชี่กงมาใช้ในการบริการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2550 พบว่าอัตราคนไข้อาการกำเริบลดลง 26-27% ขณะที่การป่วยฉุกเฉินลดลงถึง 50% แม้จะหยุดออกกำลังกายก็พบว่าสามารถช่วยคงสมรรถภาพของปอดไปได้นานประมาณ 6 เดือน” ศ.พญ.สุมาลี กล่าว
นอกจากโรงพยาบาลรามาธิบดีแล้ว ล่าสุดพบว่า มีอีกหลายโรงพยาบาลที่นำ “ไทชิ ชี่กง” ไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ศ.พญ.สุมาลี เล่าว่า เนื่องจากได้ไปนำเสนอต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งมีความสนใจ โดยได้ทำเป็นซีดีไกด์ไลน์ให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆในการนำไปบริการรักษาผู้ป่วย ซึ่งไม่ได้เป็นการบังคับ แต่สปสช.มีค่าตอบแทนให้แก่หน่วยบริการหากสามารถลดอัตราการป่วย หรือการกำเริบได้
ทั้งนี้ ในวันที่ 11 พ.ย.นี้ โรงพยาบาลรามาธิบดี จะเปิดการสาธิตการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ไทชิ ชี่กง ให้แก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่เวลา 07.00-12.00 น.ซึ่งภายในงานจะมีการทดสอบสมรรถภาพปอด การเป่าเครื่องวัดอัตราลมหายใจออกสูงสุด การสอนวิธีการใช้ยาสูดพ่น และเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย
การรักษาด้วยยาอาจไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เนื่องจากการใช้ยาแบบพ่นเข้าปากเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมักป่วยด้วยโรคดังกล่าว วิธีรับมือที่เหมาะสมที่สุด จึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการกำเริบ รวมไปถึงการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของปอด ก็จะช่วยให้อาการกำเริบลดลง
ศ.พญ.สุมาลี เกียรติบุญศรี หน่วยโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า วิธีของแพทย์ตะวันตกนิยมให้ออกกำลังกายที่ต้องอาศัยกล้ามเนื้อทุกส่วน เช่น วิ่งลู่ ปั่นจักรยาน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เมื่อออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาทีต่อวัน จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 6 สัปดาห์ สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ ทำให้อาการกำเริบลดน้อยลง
แต่สำหรับประเทศไทยวิธีดังกล่าวกลับไม่เป็นผลนัก ศ.พญ.สุมาลี อธิบายว่า ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยใช้วิธีดังกล่าวในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมาก่อน แต่ผู้เข้าร่วมน้อย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ บางทีวิ่งลู่แล้วมักจะหกล้ม และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงพยายามวิจัยวิธีออกกำลังกายแบบใหม่ที่สามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพปอดได้ สุดท้ายคือการออกกำลังกายด้วย “ไทชิ ชี่กง”
“ไทชิ ชี่กง เป็นการนำเอาท่ารำไทเก๊กของจีน 9 ท่า ซึ่งมีข้อดีคือเป็นการออกกำลังกายที่อาศัยการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อทุกส่วนแบบช้าๆ มาผสมผสานกับการใส่วิธีการหายใจที่ถูกต้องตามอย่างแพทย์ตะวันตก ทำให้เหมาะสมกับคนทุกวัย ที่สำคัญสามารถทำได้เองที่บ้านหรือทำพร้อมกันเป็นกลุ่มได้” ศ.พญ.สุมาลี กล่าว
สำหรับท่ารำไทชิ ชี่กง ทั้ง 9 ท่านั้น ศ.พญ.สุมาลี อธิบายว่า ท่ารำไทเก๊ก มีจำนวนมาก จึงได้คัดเลือกท่าที่ง่ายต่อการใส่ลมหายใจประกอบมา 9 ท่า เพื่อทำการวิจัยและทดลอง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงประสบความสำเร็จ โดยแต่ละท่าจะมีการกำหนดลมหายใจ และต้องทำซ้ำกันไปมาวันละประมาณ 20-30 นาที จำนวน 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
“จากการศึกษาในผู้ป่วยตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวพบว่า ผู้ป่วยมีการเผาผลาญออกซิเจนน้อยลง มีปริมาตรการหายใจเพิ่มขึ้น สามารถออกกำลังกายสูงสุดได้มากขึ้น ปอดหายใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น เป็นต้น โดยรพ.รามาฯได้นำไทชิ ชี่กงมาใช้ในการบริการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2550 พบว่าอัตราคนไข้อาการกำเริบลดลง 26-27% ขณะที่การป่วยฉุกเฉินลดลงถึง 50% แม้จะหยุดออกกำลังกายก็พบว่าสามารถช่วยคงสมรรถภาพของปอดไปได้นานประมาณ 6 เดือน” ศ.พญ.สุมาลี กล่าว
นอกจากโรงพยาบาลรามาธิบดีแล้ว ล่าสุดพบว่า มีอีกหลายโรงพยาบาลที่นำ “ไทชิ ชี่กง” ไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ศ.พญ.สุมาลี เล่าว่า เนื่องจากได้ไปนำเสนอต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งมีความสนใจ โดยได้ทำเป็นซีดีไกด์ไลน์ให้แก่โรงพยาบาลอื่นๆในการนำไปบริการรักษาผู้ป่วย ซึ่งไม่ได้เป็นการบังคับ แต่สปสช.มีค่าตอบแทนให้แก่หน่วยบริการหากสามารถลดอัตราการป่วย หรือการกำเริบได้
ทั้งนี้ ในวันที่ 11 พ.ย.นี้ โรงพยาบาลรามาธิบดี จะเปิดการสาธิตการออกกำลังกายฟื้นฟูสมรรถภาพปอด ไทชิ ชี่กง ให้แก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งแต่เวลา 07.00-12.00 น.ซึ่งภายในงานจะมีการทดสอบสมรรถภาพปอด การเป่าเครื่องวัดอัตราลมหายใจออกสูงสุด การสอนวิธีการใช้ยาสูดพ่น และเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย