สธ.เตรียม 4,000 อัตรา บรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็น ขรก.เดดไลน์เกณฑ์พิจารณาและสัดส่วนบรรจุสิ้น พ.ย.นี้ พร้อมถกรูปแบบพนักงาน กสธ.ให้ทุกฝ่ายพอใจร่วมกัน ด้านพยาบาลจวกแก้ปัญหาไม่เหมาะสม ซ้ำยังไม่เห็นรายละเอียดสิทธิประโยชน์ของพนักงาน กสธ.เล็งนำปัญหาพยาบาลขึ้นถกเวทีนานาชาติ ขู่ประท้วง-หยุดงาน-ลาออกพร้อมกันทั่วประเทศ หลัง ม.ค.56
วันนี้ (7 พ.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมหารือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและการบรรจุกำลังคนเข้าสู่ระบบราชการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว ประมาณ 15 คน เข้าร่วมด้วย ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการวางกรอบการทำงานร่วมกันเบื้องต้น เนื่องจากปัญหาดังกล่าวมีข้อจำกัดในเรื่องของตำแหน่ง ซึ่งจะต้องทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า สธ.มีความตั้งใจที่จะบรรจุพนักงานลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการจริง แต่อาจต้องใช้ระยะเวลานาน โดยอันดับแรก สธ.จะทยอยบรรจุพนักงานลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการภายในเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2556 จำนวน 4,000 อัตรา ซึ่งจะพิจารณาจากอัตราลูกจ้างชั่วคราวจำนวน 11,000 คน ซึ่งค้างบรรจุตั้งแต่ปี 2548-2550 ก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นลำดับต้นๆ แต่ยังต้องมีการหารือเพิ่มเติมร่วมกับทุกฝ่าย ว่า จะมีการจัดลำดับความสำคัญในการบรรจุอย่างไร และในแต่ละวิชาชีพจะได้รับการบรรจุในสัดส่วนเท่าไร
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับลูกจ้างชั่วคราวที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ จะมีการหารูปแบบเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ซึ่งมีการพูดคุยว่าจะกำหนดรูปแบบให้บรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน กสธ.) เพื่อแก้ปัญหาที่มีความกังวล เช่น ความมั่นคง สิทธิสวัสดิการ อัตราค่าตอบแทน และความก้าวหน้าในวิชาชีพ เช่น เพิ่มระยะเวลาการจ้างงานจากปีต่อปีให้มีสัญญาจ้างงานนานขึ้น อาจเป็น 5-10 ปี มีอัตราค่าตอบแทนแบบก้าวหน้า โดยจะพิจารณาขั้นเงินเดือนคล้ายระบบราชการ เบื้องต้นคาดว่าจะมากกว่าข้าราชการประมาณ 1.2 เท่า และยังให้สิทธิในการลาเพื่อศึกษา ส่วนกรณีลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถกู้เงินได้ ก็จะพิจารณาหาสวัสดิการกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำในรูปแบบต่างๆ ให้ด้วย
“ภายในเดือน พ.ย.นี้ จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องกรอบการแก้ปัญหา ทั้งเรื่องการจัดอันดับความสำคัญของผู้ที่จะได้รับการบรรจุข้าราชการรอบแรก 4,000 อัตรา ซึ่งยังไม่สามารถบอกตัวเลขได้ว่าในแต่ละวิชาชีพจะได้สัดส่วนในการบรรจุเท่าไร โดยอาจจะพิจารณาเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลน หรือพื้นที่ที่มีปัญหาเร่งด่วนก่อน” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวจะทำในรูปแบบของคณะทำงานที่มีทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมแก้ปัญหา ทั้งลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารูปแบบของสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายพอใจร่วมกัน โดยเฉพาะหากมีการปรับเปลี่ยนสถานะจากลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงาน กสธ.ต้องให้ได้ข้อตกลงร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ตนไม่เชื่อว่า เรื่องดังกล่าวจะหาทางออกไม่ได้ เพราะการตั้งคณะทำงานและพูดคุยร่วมกัน เป็นไปเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด และคิดว่า จะสามารถตกลงกันได้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงปัญหาที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่ยอมบรรจุตำแหน่งข้าราชการ แต่เป็นปัญหาอัตรากำลังคนของทั้งประเทศ ทำให้ต้องคิดร่วมกัน ทั้งเรื่องการเงินการคลัง งบประมาณ และบุคลากรด้วย
น.ส.ศิริรัตน์ วงษ์บุดดา เลขานุการเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว สธ.กล่าวว่า การบรรจุข้าราชการเพียง 4,000 ตำแหน่ง ทั้งที่ลูกจ้างชั่วคราวในวิชาชีพพยาบาลมีถึง 17,000 คนนั้น ถือเป็นความไม่เหมาะสม ที่สำคัญ อัตราที่เตรียมไว้ไม่ได้เฉพาะวิชาชีพพยาบาลเท่านั้น แต่รวมถึงสหวิชาชีพต่างๆ ด้วย การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ส่วนข้อเสนอเรื่องการปรับสถานะเป็นพนักงาน กสธ.นั้น คงต้องขอกลับไปหารือกับทางเครือข่ายฯ อย่างละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องสิทธิสวัสดิการต่างๆ หากเป็นพนักงาน กสธ. เนื่องจากการประชุมครั้งนี้เป็นการเรียกประชุม เพื่อหาจุดร่วมถึงความต้องการสิทธิต่างๆ แต่ยังไม่เห็นรายละเอียดสิทธิประโยชน์ หรือสิทธิสวัสดิการใดๆ ซึ่งในการประชุม ระบุว่า มีตัวร่างระเบียบแล้ว แต่กลับไม่เปิดเผยให้เครือข่ายได้เห็น ทั้งที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง
นายศราวุธ ที่ดี พยาบาลวิชาชีพเวชปฏิบัติครอบครัว ตัวแทนพยาบาลที่เข้าร่วมหารือ กล่าวว่า จากการที่ รมว.สาธารณสุข ร่วมหารือตลอดระยะเวลา 1 ชั่วโมงนั้น ได้มีการเสนอทางออกให้ 3 ข้อหลักๆ คือ 1.การบรรจุลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นข้าราชการจำนวนทั้งสิ้น 4,000 อัตรา ในสหวิชาชีพ 2.เปลี่ยนสถานะเป็นพนักงาน กสธ.และ 3.คงตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวเหมือนเดิม ซึ่งข้อเสนอการบรรจุเป็นข้าราชการจำนวน 4,000 อัตรานั้น เมื่อเฉลี่ยแล้วพยาบาลได้รับการบรรจุไม่ถึง 10% จึงเห็นว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกช่องทาง ดังนั้น สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยจะมีการล่ารายชื่อพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการบรรจุทั่วประเทศให้เสร็จภายในวันที่ 22 พ.ย.นี้ ซึ่งตรงกับงานประชุมพยาบาลแปซิฟิก และจะมีพยาบาลจาก 12 ประเทศเข้าร่วมประชุม โดยในปีนี้ไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม โดยจะเอาเรื่องที่ลูกจ้างชั่วคราวไม่ได้รับการบรรจุเป็นพยาบาลไปเป็นหัวข้อในการเสวนาด้วย และให้เพื่อนพยาบาลในต่างประเทศร่วมหาทางออกในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างชั่วคราวทุกคนยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องระยะเวลาการบรรจุที่ชัดเจน ลูกจ้างชั่วคราวจำนวน 17,000 คน จะลาออกทั้งหมด
“การหารือในวันนี้ถือว่าล้มเหลว เนื่องจาก รมว.สาธารณสุข ยังไม่ให้ข้อสรุปที่ชัดเจน และถือเป็นการทำงานแบบเอาผักชีโรยหน้า เพราะเรื่องนี้ทางลูกจ้างชั่วคราวมีการเรียกร้องมานานกว่า 7 ปีแล้ว” นายศราวุธ กล่าว
ด้านนายเอกชัย ฝาใต้ พยาบาลโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า เครือข่ายพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวไม่อาจยอมรับในหลักการที่ สธ.เสนอได้ เพราะการบรรจุเป็นข้าราชการในอัตรา 4,000 คน ไม่ได้เป็นอัตราเฉพาะพยาบาลเท่านั้น แต่รวมถึงลูกจ้างชั่วคราวของ สธ.ในสหวิชาชีพด้วย หากคิดเฉพาะพยาบาลในจำนวนนี้อาจได้บรรจุราว 1,000 คน และเป็นการบรรจุให้กับพยาบาลลูกจ้างที่ทำงานมา 6-7 ปีก่อน ซึ่งไม่ถึง 10% ของจำนวนพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมดที่มีอยู่ 17,000 คน เท่ากับคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา การดำเนินการตามข้อเสนอของสธ.จึงเป็นเหมือนการขายผ้าเอาหน้ารอดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเกลี่ยผู้ที่ไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการให้เป็นพนักงาน กสธ.นั้น ยอมรับได้หากวิชาชีพอื่น เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ จะเป็นพนักงาน กสธ.เช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะพยาบาลที่เป็นพนักงาน กสธ.แต่วิชาชีพอื่นยังคงได้รับการบรรจุ เพราะเท่ากับยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่เช่นเดิม
“เครือข่ายพยาบาลฯจะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่ในขั้นแรกยังยืนยันเช่นเดิมให้มีการบรรจุพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวทั้ง 17,000 คน เป็นข้าราชการทันที ทั้งนี้ มีความเป็นได้ที่หลังจากเดือน ม.ค.2556 ที่มีการบรรจุลูกจ้างเป็นข้าราชการผ่านพ้นไป พยาบาลอาจรวมตัวกันมาประท้วงอีกครั้ง หรือ หยุดงานพร้อมกันทั่วประเทศ หรือ ลาออก” นายเอกชัย กล่าว
วันนี้ (7 พ.ย.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมหารือร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและการบรรจุกำลังคนเข้าสู่ระบบราชการของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว ประมาณ 15 คน เข้าร่วมด้วย ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการวางกรอบการทำงานร่วมกันเบื้องต้น เนื่องจากปัญหาดังกล่าวมีข้อจำกัดในเรื่องของตำแหน่ง ซึ่งจะต้องทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า สธ.มีความตั้งใจที่จะบรรจุพนักงานลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการจริง แต่อาจต้องใช้ระยะเวลานาน โดยอันดับแรก สธ.จะทยอยบรรจุพนักงานลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการภายในเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2556 จำนวน 4,000 อัตรา ซึ่งจะพิจารณาจากอัตราลูกจ้างชั่วคราวจำนวน 11,000 คน ซึ่งค้างบรรจุตั้งแต่ปี 2548-2550 ก่อน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นลำดับต้นๆ แต่ยังต้องมีการหารือเพิ่มเติมร่วมกับทุกฝ่าย ว่า จะมีการจัดลำดับความสำคัญในการบรรจุอย่างไร และในแต่ละวิชาชีพจะได้รับการบรรจุในสัดส่วนเท่าไร
นพ.ประดิษฐ กล่าวอีกว่า สำหรับลูกจ้างชั่วคราวที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ จะมีการหารูปแบบเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ซึ่งมีการพูดคุยว่าจะกำหนดรูปแบบให้บรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน กสธ.) เพื่อแก้ปัญหาที่มีความกังวล เช่น ความมั่นคง สิทธิสวัสดิการ อัตราค่าตอบแทน และความก้าวหน้าในวิชาชีพ เช่น เพิ่มระยะเวลาการจ้างงานจากปีต่อปีให้มีสัญญาจ้างงานนานขึ้น อาจเป็น 5-10 ปี มีอัตราค่าตอบแทนแบบก้าวหน้า โดยจะพิจารณาขั้นเงินเดือนคล้ายระบบราชการ เบื้องต้นคาดว่าจะมากกว่าข้าราชการประมาณ 1.2 เท่า และยังให้สิทธิในการลาเพื่อศึกษา ส่วนกรณีลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถกู้เงินได้ ก็จะพิจารณาหาสวัสดิการกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำในรูปแบบต่างๆ ให้ด้วย
“ภายในเดือน พ.ย.นี้ จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องกรอบการแก้ปัญหา ทั้งเรื่องการจัดอันดับความสำคัญของผู้ที่จะได้รับการบรรจุข้าราชการรอบแรก 4,000 อัตรา ซึ่งยังไม่สามารถบอกตัวเลขได้ว่าในแต่ละวิชาชีพจะได้สัดส่วนในการบรรจุเท่าไร โดยอาจจะพิจารณาเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลน หรือพื้นที่ที่มีปัญหาเร่งด่วนก่อน” รมว.สาธารณสุข กล่าว
นพ.ประดิษฐ กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวจะทำในรูปแบบของคณะทำงานที่มีทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมแก้ปัญหา ทั้งลูกจ้างชั่วคราว กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารูปแบบของสิทธิประโยชน์ สวัสดิการต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายพอใจร่วมกัน โดยเฉพาะหากมีการปรับเปลี่ยนสถานะจากลูกจ้างชั่วคราว เป็นพนักงาน กสธ.ต้องให้ได้ข้อตกลงร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ตนไม่เชื่อว่า เรื่องดังกล่าวจะหาทางออกไม่ได้ เพราะการตั้งคณะทำงานและพูดคุยร่วมกัน เป็นไปเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด และคิดว่า จะสามารถตกลงกันได้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงปัญหาที่กระทรวงสาธารณสุข ไม่ยอมบรรจุตำแหน่งข้าราชการ แต่เป็นปัญหาอัตรากำลังคนของทั้งประเทศ ทำให้ต้องคิดร่วมกัน ทั้งเรื่องการเงินการคลัง งบประมาณ และบุคลากรด้วย
น.ส.ศิริรัตน์ วงษ์บุดดา เลขานุการเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว สธ.กล่าวว่า การบรรจุข้าราชการเพียง 4,000 ตำแหน่ง ทั้งที่ลูกจ้างชั่วคราวในวิชาชีพพยาบาลมีถึง 17,000 คนนั้น ถือเป็นความไม่เหมาะสม ที่สำคัญ อัตราที่เตรียมไว้ไม่ได้เฉพาะวิชาชีพพยาบาลเท่านั้น แต่รวมถึงสหวิชาชีพต่างๆ ด้วย การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ส่วนข้อเสนอเรื่องการปรับสถานะเป็นพนักงาน กสธ.นั้น คงต้องขอกลับไปหารือกับทางเครือข่ายฯ อย่างละเอียดอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องสิทธิสวัสดิการต่างๆ หากเป็นพนักงาน กสธ. เนื่องจากการประชุมครั้งนี้เป็นการเรียกประชุม เพื่อหาจุดร่วมถึงความต้องการสิทธิต่างๆ แต่ยังไม่เห็นรายละเอียดสิทธิประโยชน์ หรือสิทธิสวัสดิการใดๆ ซึ่งในการประชุม ระบุว่า มีตัวร่างระเบียบแล้ว แต่กลับไม่เปิดเผยให้เครือข่ายได้เห็น ทั้งที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง
นายศราวุธ ที่ดี พยาบาลวิชาชีพเวชปฏิบัติครอบครัว ตัวแทนพยาบาลที่เข้าร่วมหารือ กล่าวว่า จากการที่ รมว.สาธารณสุข ร่วมหารือตลอดระยะเวลา 1 ชั่วโมงนั้น ได้มีการเสนอทางออกให้ 3 ข้อหลักๆ คือ 1.การบรรจุลูกจ้างชั่วคราวให้เป็นข้าราชการจำนวนทั้งสิ้น 4,000 อัตรา ในสหวิชาชีพ 2.เปลี่ยนสถานะเป็นพนักงาน กสธ.และ 3.คงตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวเหมือนเดิม ซึ่งข้อเสนอการบรรจุเป็นข้าราชการจำนวน 4,000 อัตรานั้น เมื่อเฉลี่ยแล้วพยาบาลได้รับการบรรจุไม่ถึง 10% จึงเห็นว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกช่องทาง ดังนั้น สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยจะมีการล่ารายชื่อพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการบรรจุทั่วประเทศให้เสร็จภายในวันที่ 22 พ.ย.นี้ ซึ่งตรงกับงานประชุมพยาบาลแปซิฟิก และจะมีพยาบาลจาก 12 ประเทศเข้าร่วมประชุม โดยในปีนี้ไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม โดยจะเอาเรื่องที่ลูกจ้างชั่วคราวไม่ได้รับการบรรจุเป็นพยาบาลไปเป็นหัวข้อในการเสวนาด้วย และให้เพื่อนพยาบาลในต่างประเทศร่วมหาทางออกในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างชั่วคราวทุกคนยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องระยะเวลาการบรรจุที่ชัดเจน ลูกจ้างชั่วคราวจำนวน 17,000 คน จะลาออกทั้งหมด
“การหารือในวันนี้ถือว่าล้มเหลว เนื่องจาก รมว.สาธารณสุข ยังไม่ให้ข้อสรุปที่ชัดเจน และถือเป็นการทำงานแบบเอาผักชีโรยหน้า เพราะเรื่องนี้ทางลูกจ้างชั่วคราวมีการเรียกร้องมานานกว่า 7 ปีแล้ว” นายศราวุธ กล่าว
ด้านนายเอกชัย ฝาใต้ พยาบาลโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า เครือข่ายพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวไม่อาจยอมรับในหลักการที่ สธ.เสนอได้ เพราะการบรรจุเป็นข้าราชการในอัตรา 4,000 คน ไม่ได้เป็นอัตราเฉพาะพยาบาลเท่านั้น แต่รวมถึงลูกจ้างชั่วคราวของ สธ.ในสหวิชาชีพด้วย หากคิดเฉพาะพยาบาลในจำนวนนี้อาจได้บรรจุราว 1,000 คน และเป็นการบรรจุให้กับพยาบาลลูกจ้างที่ทำงานมา 6-7 ปีก่อน ซึ่งไม่ถึง 10% ของจำนวนพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมดที่มีอยู่ 17,000 คน เท่ากับคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแก้ปัญหา การดำเนินการตามข้อเสนอของสธ.จึงเป็นเหมือนการขายผ้าเอาหน้ารอดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเกลี่ยผู้ที่ไม่ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการให้เป็นพนักงาน กสธ.นั้น ยอมรับได้หากวิชาชีพอื่น เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ จะเป็นพนักงาน กสธ.เช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะพยาบาลที่เป็นพนักงาน กสธ.แต่วิชาชีพอื่นยังคงได้รับการบรรจุ เพราะเท่ากับยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่เช่นเดิม
“เครือข่ายพยาบาลฯจะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่ในขั้นแรกยังยืนยันเช่นเดิมให้มีการบรรจุพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวทั้ง 17,000 คน เป็นข้าราชการทันที ทั้งนี้ มีความเป็นได้ที่หลังจากเดือน ม.ค.2556 ที่มีการบรรจุลูกจ้างเป็นข้าราชการผ่านพ้นไป พยาบาลอาจรวมตัวกันมาประท้วงอีกครั้ง หรือ หยุดงานพร้อมกันทั่วประเทศ หรือ ลาออก” นายเอกชัย กล่าว