อาชีวะเตรียมอัดฉีดเงิน 30 ล.บาท ปี 56 ให้วิทยาลัยที่เปิดหลักสูตร EP หรือ Mini EP ใช้จ้างครู “ชัยพฤกษ์” ฟุ้ง วิทยาลัยสนใจยื่นขอเปิดเพียบ แต่ทุกแห่งต้องผ่านการประเมินจากกรรมการ สอศ.ด้วย คาดปี 56 เปิดได้ครบทุกจังหวัด และเมื่อรวมกับที่เปิดรุ่นแรกน่าจะมีห้องเรียน EP หรือ Mini EP ประมาณ 130 แห่ง
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เชิญวิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดที่มีความสนใจ ต้องการเปิดหลักสูตร English Programe (EP) และ Mini English Programe (Mini EP ) มาประชุมร่วมกันที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรับทราบแนวนโยบายของโครงการนี้ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยาลัยรุ่นแรกที่เปิดหลักสูตร EP ไปแล้วในปีการศึกษา 2555 จำนวน 32 วิทยาลัย แบ่งเป็น EP จำนวน 5 วิทยาลัย และ Mini EP จำนวน 27 วิทยาลัย อย่างไรก็ตาม มีวิทยาลัยที่สนใจมาร่วมประชุมประมาณ 120 แห่ง และที่ผ่านมา สอศ.ตั้งเป้าไว้ว่า ปีการศึกษา 2556 จะขยายโครงการ EP เพิ่มอีก 60 วิทยาลัย ดังนั้น ดูจากความสนใจของวิทยาลัยแล้วเชื่อว่าจะสามารถขยายโครงการ EP และ Mini EP ได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
ทั้งนี้ สอศ.ได้ให้วิทยาลัยที่สนใจจะเปิดห้องเรียนหลักสูตรดังกล่าวให้เสนอโครงการมายัง สอศ.ภายในวันที่ 10 พ.ย.2555 โดยข้อมูลล่าสุด วันที่ 2 พ.ย.2555 พบว่า มีวิทยาลัยยื่นเรื่อง 58 แห่งซึ่งคาดว่าเมื่อครบกำหนดเวลาที่ระบุไว้ น่าจะมีวิทยาลัยขอเปิดหลักสูตร EP และ Mini EP ในปีการศึกษา 2556 ประมาณ 100 แห่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกวิทยาลัยที่ขอเปิดหลักสูตร EP และ Mini EP จะสามารถเปิดได้ทันทีทุกแห่งต้องผ่านการประเมินความพร้อมจากคณะกรรมการของ สอศ.โดยการประเมินจะพิจารณาจากความพร้อมด้านครู จะต้องมีครูชาวต่างชาติอย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นครูจากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ หรือครูจากประเทศอื่น หรือครูไทยก็ได้ แต่ต้องมีคะแนน TPEIC ที่ 600 คะแนนขึ้นไป รวมถึงมีความพร้อมทางด้านสื่อสถานที่ และที่สำคัญ จะต้องมีความร่วมมือกับสถานประกอบการด้วย เพราะ สอศ.กำหนดให้มีการฝึกงานในสถานประกอบการระหว่างเรียนด้วย ซึ่งสำหรับหลักสูตร EP นั้น ก็จะต้องไปฝึกงานในบริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทไทยที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นประจำ
“ปี 2555 นั้น มีวิทยาลัยที่เปิด EP หรือ Mini EP กระจายครบทุกภาคแล้ว เพราะฉะนั้น ในปีการศึกษา 2556 จะพยายามให้มีวิทยาลัยที่เปิด EP หรือ Mini EP ครบทุกสาขาและครบทุกจังหวัด รวมทั้ง 2 รุ่นแล้ว น่าจะเปิด EP ประมาณ 130 วิทยาลัย จากวิทยาลัยในสังกัดทั้งหมด 415 แห่ง คิดเป็น 30% แต่หลังจากนี้แล้ว คงไม่มีการปูพรมขอเปิดหลักสูตรดังกล่าวเป็นล็อตใหญ่แบบนี้ เพราะวิทยาลัยที่มีความพร้อมสูงต่างก็ขอเปิดหลักสูตรมาครบแล้ว “ นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า สอศ.ได้เตรียมงบประมาณ 2556 ไว้จำนวน 30 ล้านบาท เพื่อจัดสรรเพิ่มเติมให้วิทยาลัยที่เปิดหลักสูตร EPหรือ Mini EP ในปี 2556 เพื่อนำไปใช้เป็นค่าจ้างครู
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เชิญวิทยาลัยอาชีวศึกษาในสังกัดที่มีความสนใจ ต้องการเปิดหลักสูตร English Programe (EP) และ Mini English Programe (Mini EP ) มาประชุมร่วมกันที่กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรับทราบแนวนโยบายของโครงการนี้ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยาลัยรุ่นแรกที่เปิดหลักสูตร EP ไปแล้วในปีการศึกษา 2555 จำนวน 32 วิทยาลัย แบ่งเป็น EP จำนวน 5 วิทยาลัย และ Mini EP จำนวน 27 วิทยาลัย อย่างไรก็ตาม มีวิทยาลัยที่สนใจมาร่วมประชุมประมาณ 120 แห่ง และที่ผ่านมา สอศ.ตั้งเป้าไว้ว่า ปีการศึกษา 2556 จะขยายโครงการ EP เพิ่มอีก 60 วิทยาลัย ดังนั้น ดูจากความสนใจของวิทยาลัยแล้วเชื่อว่าจะสามารถขยายโครงการ EP และ Mini EP ได้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้
ทั้งนี้ สอศ.ได้ให้วิทยาลัยที่สนใจจะเปิดห้องเรียนหลักสูตรดังกล่าวให้เสนอโครงการมายัง สอศ.ภายในวันที่ 10 พ.ย.2555 โดยข้อมูลล่าสุด วันที่ 2 พ.ย.2555 พบว่า มีวิทยาลัยยื่นเรื่อง 58 แห่งซึ่งคาดว่าเมื่อครบกำหนดเวลาที่ระบุไว้ น่าจะมีวิทยาลัยขอเปิดหลักสูตร EP และ Mini EP ในปีการศึกษา 2556 ประมาณ 100 แห่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกวิทยาลัยที่ขอเปิดหลักสูตร EP และ Mini EP จะสามารถเปิดได้ทันทีทุกแห่งต้องผ่านการประเมินความพร้อมจากคณะกรรมการของ สอศ.โดยการประเมินจะพิจารณาจากความพร้อมด้านครู จะต้องมีครูชาวต่างชาติอย่างเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นครูจากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ หรือครูจากประเทศอื่น หรือครูไทยก็ได้ แต่ต้องมีคะแนน TPEIC ที่ 600 คะแนนขึ้นไป รวมถึงมีความพร้อมทางด้านสื่อสถานที่ และที่สำคัญ จะต้องมีความร่วมมือกับสถานประกอบการด้วย เพราะ สอศ.กำหนดให้มีการฝึกงานในสถานประกอบการระหว่างเรียนด้วย ซึ่งสำหรับหลักสูตร EP นั้น ก็จะต้องไปฝึกงานในบริษัทต่างประเทศ หรือบริษัทไทยที่มีการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศเป็นประจำ
“ปี 2555 นั้น มีวิทยาลัยที่เปิด EP หรือ Mini EP กระจายครบทุกภาคแล้ว เพราะฉะนั้น ในปีการศึกษา 2556 จะพยายามให้มีวิทยาลัยที่เปิด EP หรือ Mini EP ครบทุกสาขาและครบทุกจังหวัด รวมทั้ง 2 รุ่นแล้ว น่าจะเปิด EP ประมาณ 130 วิทยาลัย จากวิทยาลัยในสังกัดทั้งหมด 415 แห่ง คิดเป็น 30% แต่หลังจากนี้แล้ว คงไม่มีการปูพรมขอเปิดหลักสูตรดังกล่าวเป็นล็อตใหญ่แบบนี้ เพราะวิทยาลัยที่มีความพร้อมสูงต่างก็ขอเปิดหลักสูตรมาครบแล้ว “ นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า สอศ.ได้เตรียมงบประมาณ 2556 ไว้จำนวน 30 ล้านบาท เพื่อจัดสรรเพิ่มเติมให้วิทยาลัยที่เปิดหลักสูตร EPหรือ Mini EP ในปี 2556 เพื่อนำไปใช้เป็นค่าจ้างครู