“ท่าน ว.วชิรเมธี” แนะยึดข้อดี 3 ประการของ “สตีฟ จอบส์” มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ชี้ กระตุ้นวัฒนธรรมกล้าคิด ช่วยปรับสังคมให้เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) กล่าวในเวทีเสวนาเปิดตัวหนังสือ “สตีฟ จอบส์ อัจฉริยะพลิกโลก” ว่า สตีฟ จอบส์ เป็นบุคคลที่น่ายอมรับ และคนอย่างเราๆ ควรนำมาเป็นแบบอย่างเพื่อการปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เนื่องจากในชีวิตของสตีฟ จอบส์ มีหลายสิ่งที่หล่อหลอมและสร้างตัวเองขึ้นมาจากครั้งหนึ่งหาค่าไม่มี เป็นคนที่หาค่าประเมินมิได้ ซึ่งสิ่งที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างมีอยู่ 3 ประการ คือ 1.เกิดในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการคิดเชิงบวก อาทิ พ่อแม่บุญธรรมเคยปลอบสตีฟ จอบส์ ว่า เขาไม่ใช่ลูกที่ถูกทิ้ง แต่พ่อแม่ไปเลือกลูกมาจากโรงพยาบาล ดังนั้น ลูกคือคนที่ถูกเลือก นี่คือ สิ่งที่พ่อแม่บุญธรรมหล่อหลอมมองโลกเชิงบวก 2.การเป็นผู้ชื่นชอบความสมบูรณ์แบบ และ 3.การเป็นคนทำอะไรเต็มที่ และทำให้ดีที่สุด เช่น การผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล เมื่อเห็นว่ายังไม่ดีที่สุดจะไม่ปล่อยออกมาจำหน่าย ถ้าไม่เชื่อว่าเป็นงานที่ยอดเยี่ยมก็จะทำใหม่อีกครั้ง เป็นต้น
พระมหาวุฒิชัย กล่าวอีกว่า การปรับเปลี่ยนสังคมให้เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้น ต้องช่วยกันสร้างวัฒนธรรมกระตุ้นให้คิด กล้าคิด ต้องร่วมกันเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานสังคมจากสังคมแห่งความเชื่อ มาเป็นสังคมของนักคิด เพราะถ้าไม่รักที่จะคิดก็จะไม่มีโอกาสที่จะสร้างนวัตกรรมได้
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) กล่าวในเวทีเสวนาเปิดตัวหนังสือ “สตีฟ จอบส์ อัจฉริยะพลิกโลก” ว่า สตีฟ จอบส์ เป็นบุคคลที่น่ายอมรับ และคนอย่างเราๆ ควรนำมาเป็นแบบอย่างเพื่อการปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เนื่องจากในชีวิตของสตีฟ จอบส์ มีหลายสิ่งที่หล่อหลอมและสร้างตัวเองขึ้นมาจากครั้งหนึ่งหาค่าไม่มี เป็นคนที่หาค่าประเมินมิได้ ซึ่งสิ่งที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างมีอยู่ 3 ประการ คือ 1.เกิดในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการคิดเชิงบวก อาทิ พ่อแม่บุญธรรมเคยปลอบสตีฟ จอบส์ ว่า เขาไม่ใช่ลูกที่ถูกทิ้ง แต่พ่อแม่ไปเลือกลูกมาจากโรงพยาบาล ดังนั้น ลูกคือคนที่ถูกเลือก นี่คือ สิ่งที่พ่อแม่บุญธรรมหล่อหลอมมองโลกเชิงบวก 2.การเป็นผู้ชื่นชอบความสมบูรณ์แบบ และ 3.การเป็นคนทำอะไรเต็มที่ และทำให้ดีที่สุด เช่น การผลิตภัณฑ์ของแอปเปิล เมื่อเห็นว่ายังไม่ดีที่สุดจะไม่ปล่อยออกมาจำหน่าย ถ้าไม่เชื่อว่าเป็นงานที่ยอดเยี่ยมก็จะทำใหม่อีกครั้ง เป็นต้น
พระมหาวุฒิชัย กล่าวอีกว่า การปรับเปลี่ยนสังคมให้เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมนั้น ต้องช่วยกันสร้างวัฒนธรรมกระตุ้นให้คิด กล้าคิด ต้องร่วมกันเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานสังคมจากสังคมแห่งความเชื่อ มาเป็นสังคมของนักคิด เพราะถ้าไม่รักที่จะคิดก็จะไม่มีโอกาสที่จะสร้างนวัตกรรมได้