โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
“ยอกรขึ้นเหนือเกศ กราบบทเรศองค์ภูมิพล
หกสิบวัสสาดล เป็นมงคลครองแผ่นดิน
เดชะพระบารมี จำเริญศรีจำเริญสิน
เย็นจิตอยู่อาจิณ ทุกธานินทร์เทิดพระนาม”
เสียงขับขานบทเห่เรืออันเสนาะหูเหนือท้องน้ำเจ้าพระยาของพนักงานเห่ เรือเอก ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ ที่ขับกล่อมจิตใจผู้คนทั้งประเทศให้รวมกันเป็นหนึ่ง ในการเห่เรือพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปี 2549 ซึ่งปัจจุบันได้รับการเลื่อนยศเป็น “นาวาโท ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ” หัวหน้าแผนกเรือพระราชพิธี โดยในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะกลับมารับหน้าที่ผู้ขับขานบทเห่เรืออีกครั้ง ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
นอกจากการรับหน้าที่พนักงานเห่เรือแล้ว นาวาโท ณัฐวัฏ เปิดเผยว่า ตนยังรับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีอีกด้วย ขณะนี้เตรียมความพร้อมแล้วถึง 70% เหลือเพียงแต่การซ้อมในขบวนเรือเท่านั้น โดยจะทำการซ้อมใหญ่อีก 2 ครั้ง ในวันที่ 2 และ 6 พ.ย.นี้ ตั้งแต่ท่าวาสุกรี ถึงวัดอรุณราชวรารามฯ โดยใช้จำนวนเรือทั้งหมด 52 ลำ และฝีพายมากถึง 2,200 นาย
การฝึกฝีพายจำนวนหลายพันคนนั้น ถือเป็นเรื่องยาก แต่ประสบการณ์บนเส้นทางเรือพระราชพิธีกว่า 31 ปี ของนาวาโท ณัฐวัฏ สามารถควบคุมการฝึกซ้อมให้ภาพขบวนเรือพระราชพิธีเต็มไปด้วยความพร้อม ความสวยงาม และความสามัคคีได้ในทุกครั้ง เมื่อออกสู่สายตาคนไทยและชาวต่างชาติ
นาวาโท ณัฐวัฏ อธิบายถึงวิธีการในการฝึกซ้อมขบวนเรือ ว่า จะเริ่มจากการอบรมครูฝึกฝีพายเรือพระราชพิธีก่อน ได้แก่ ผู้ควบคุมเรือ นายเรือ และนายท้ายเรือ จำนวน 52 ลำ เพื่อเป็นต้นแบบ จากนั้นจึงให้ไปฝึกกำลังพลฝีพายของเรือพระราชพิธีจำนวน 2,200 นาย โดยทำการฝึกอยู่บนเขียงเรือ ซึ่งจะฝึกตามพื้นที่ต่างๆ รวม 11 พื้นที่ และสุดท้ายจึงเริ่มการฝึกกำลังพลฝีพายเรือในน้ำ โดยแบ่งเป็นการฝึกพายอยู่กับที่และการฝึกออกจากหลัก จากนั้นจึงเริ่มฝึกเป็นขบวน โดยทำการซ้อมย่อย 8 ครั้ง และซ้อมใหญ่อีก 2 ครั้ง ซึ่งทั้งหมดต้องใช้เวลาเตรียมการฝึกซ้อมนาน 7-8 เดือน โดยตนจะเป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อมในภาพรวมทั้งหมด
“การสอนให้คนเป็นฝีพายที่ดีได้จะต้องผ่านการเป็นฝีพายมาก่อน ผมเองก็เคยได้รับเลือกให้เป็นฝีพายประจำเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อครั้งฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ในปี 2525 ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯประทับลำที่ผมเป็นฝีพาย นับเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจที่สุดที่มีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท”
ส่วนการเปลี่ยนจากฝีพายเรือพระราชพิธีมาเป็นพนักงานเห่นั้น นาวาโท ณัฐวัฏ เล่าว่า ตนมีความสนใจในการเห่เรือ จึงได้รับการฝึกฝนจาก เรือโท สุจินต์ สุวรรณ ครูสอนการเห่เรือ และอาศัยการครูพักลักจำจาก พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง ศิลปินแห่งชาติ สุดท้ายจึงได้มาเป็นพนักงานเห่ในที่สุด ไม่ว่าการทำหน้าที่เป็นฝีพาย หรือพนักงานเห่ก็ล้วนมีความสำคัญกับตน เพราะทั้งสองหน้าที่ต่างให้ทั้งชีวิตและประสบการณ์ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร การมาทำหน้าที่ตรงนี้ก็เหมือนการเผยแพร่วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของไทยให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติรู้จักมากยิ่งขึ้น
“ในอดีตคนยังไม่ค่อยรู้จักการเห่เรือพระราชพิธีเท่าไร แต่เมื่อมีการออกสื่อมากขึ้นคนก็ให้ความสนใจ โดยเฉพาะเมื่อครั้งพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นปีที่คนไทยมีความสุข รู้สึกดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข เห็นประชาชนจำนวนมากต่างมารอเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราก็มีความสุขไปด้วย นอกจากนี้ ยังถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่โบราณให้คงอยู่ด้วยเช่นกัน”
นาวาโท ณัฐวัฏ กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งสำคัญอีกประการของการเห่เรือ ก็คือ “เรือ” ตนมีทุกวันนี้ได้ก็เพราะเรือ ดังนั้น การดูแลเรือพระราชพิธีจึงเป็นอีกหน้าที่สำคัญที่สุดของตนด้วย ซึ่งเรือพระราชพิธีทุกลำนั้นต้องผ่านการดูแลจากมือตนทั้งหมด เพราะถ้าไม่มีเรือก็คงไม่มีตนอย่างทุกวันนี้
“ยอกรขึ้นเหนือเกศ กราบบทเรศองค์ภูมิพล
หกสิบวัสสาดล เป็นมงคลครองแผ่นดิน
เดชะพระบารมี จำเริญศรีจำเริญสิน
เย็นจิตอยู่อาจิณ ทุกธานินทร์เทิดพระนาม”
เสียงขับขานบทเห่เรืออันเสนาะหูเหนือท้องน้ำเจ้าพระยาของพนักงานเห่ เรือเอก ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ ที่ขับกล่อมจิตใจผู้คนทั้งประเทศให้รวมกันเป็นหนึ่ง ในการเห่เรือพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปี 2549 ซึ่งปัจจุบันได้รับการเลื่อนยศเป็น “นาวาโท ณัฐวัฏ อร่ามเกลื้อ” หัวหน้าแผนกเรือพระราชพิธี โดยในวันที่ 9 พ.ย.นี้ จะกลับมารับหน้าที่ผู้ขับขานบทเห่เรืออีกครั้ง ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
นอกจากการรับหน้าที่พนักงานเห่เรือแล้ว นาวาโท ณัฐวัฏ เปิดเผยว่า ตนยังรับหน้าที่เป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีอีกด้วย ขณะนี้เตรียมความพร้อมแล้วถึง 70% เหลือเพียงแต่การซ้อมในขบวนเรือเท่านั้น โดยจะทำการซ้อมใหญ่อีก 2 ครั้ง ในวันที่ 2 และ 6 พ.ย.นี้ ตั้งแต่ท่าวาสุกรี ถึงวัดอรุณราชวรารามฯ โดยใช้จำนวนเรือทั้งหมด 52 ลำ และฝีพายมากถึง 2,200 นาย
การฝึกฝีพายจำนวนหลายพันคนนั้น ถือเป็นเรื่องยาก แต่ประสบการณ์บนเส้นทางเรือพระราชพิธีกว่า 31 ปี ของนาวาโท ณัฐวัฏ สามารถควบคุมการฝึกซ้อมให้ภาพขบวนเรือพระราชพิธีเต็มไปด้วยความพร้อม ความสวยงาม และความสามัคคีได้ในทุกครั้ง เมื่อออกสู่สายตาคนไทยและชาวต่างชาติ
นาวาโท ณัฐวัฏ อธิบายถึงวิธีการในการฝึกซ้อมขบวนเรือ ว่า จะเริ่มจากการอบรมครูฝึกฝีพายเรือพระราชพิธีก่อน ได้แก่ ผู้ควบคุมเรือ นายเรือ และนายท้ายเรือ จำนวน 52 ลำ เพื่อเป็นต้นแบบ จากนั้นจึงให้ไปฝึกกำลังพลฝีพายของเรือพระราชพิธีจำนวน 2,200 นาย โดยทำการฝึกอยู่บนเขียงเรือ ซึ่งจะฝึกตามพื้นที่ต่างๆ รวม 11 พื้นที่ และสุดท้ายจึงเริ่มการฝึกกำลังพลฝีพายเรือในน้ำ โดยแบ่งเป็นการฝึกพายอยู่กับที่และการฝึกออกจากหลัก จากนั้นจึงเริ่มฝึกเป็นขบวน โดยทำการซ้อมย่อย 8 ครั้ง และซ้อมใหญ่อีก 2 ครั้ง ซึ่งทั้งหมดต้องใช้เวลาเตรียมการฝึกซ้อมนาน 7-8 เดือน โดยตนจะเป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อมในภาพรวมทั้งหมด
“การสอนให้คนเป็นฝีพายที่ดีได้จะต้องผ่านการเป็นฝีพายมาก่อน ผมเองก็เคยได้รับเลือกให้เป็นฝีพายประจำเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อครั้งฉลองกรุงเทพฯ 200 ปี ในปี 2525 ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯประทับลำที่ผมเป็นฝีพาย นับเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจที่สุดที่มีโอกาสได้ทำงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท”
ส่วนการเปลี่ยนจากฝีพายเรือพระราชพิธีมาเป็นพนักงานเห่นั้น นาวาโท ณัฐวัฏ เล่าว่า ตนมีความสนใจในการเห่เรือ จึงได้รับการฝึกฝนจาก เรือโท สุจินต์ สุวรรณ ครูสอนการเห่เรือ และอาศัยการครูพักลักจำจาก พลเรือตรี มงคล แสงสว่าง ศิลปินแห่งชาติ สุดท้ายจึงได้มาเป็นพนักงานเห่ในที่สุด ไม่ว่าการทำหน้าที่เป็นฝีพาย หรือพนักงานเห่ก็ล้วนมีความสำคัญกับตน เพราะทั้งสองหน้าที่ต่างให้ทั้งชีวิตและประสบการณ์ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร การมาทำหน้าที่ตรงนี้ก็เหมือนการเผยแพร่วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของไทยให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติรู้จักมากยิ่งขึ้น
“ในอดีตคนยังไม่ค่อยรู้จักการเห่เรือพระราชพิธีเท่าไร แต่เมื่อมีการออกสื่อมากขึ้นคนก็ให้ความสนใจ โดยเฉพาะเมื่อครั้งพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นปีที่คนไทยมีความสุข รู้สึกดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยมีความสุข เห็นประชาชนจำนวนมากต่างมารอเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราก็มีความสุขไปด้วย นอกจากนี้ ยังถือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่โบราณให้คงอยู่ด้วยเช่นกัน”
นาวาโท ณัฐวัฏ กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งสำคัญอีกประการของการเห่เรือ ก็คือ “เรือ” ตนมีทุกวันนี้ได้ก็เพราะเรือ ดังนั้น การดูแลเรือพระราชพิธีจึงเป็นอีกหน้าที่สำคัญที่สุดของตนด้วย ซึ่งเรือพระราชพิธีทุกลำนั้นต้องผ่านการดูแลจากมือตนทั้งหมด เพราะถ้าไม่มีเรือก็คงไม่มีตนอย่างทุกวันนี้