กรมศิลป์เสนอตั้งหน่วยงานบูรณะโบราณสถานแบบ One Stop Service เล็งประสานบริษัทประกันดูแลทรัพย์สิน โบราณวัตถุ ในพิพิธภัณฑ์วงเงิน 100-200 ล้านบาท
วันนี้ (17 ต.ค.) นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารกรมศิลปากร ว่า ขอให้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงวัฒนธรรมในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของมรดกทางวัฒนธรรม ในส่วนภารกิจกรมศิลปากรอยากจะเน้นเรื่องการบริการงานบุคคลและโครงสร้างเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฎิบัติงาน โดยเฉพาะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ ดูแลโบราณวัตถุที่มีคุณค่าและมูลค่ามหาศาล งานบริการที่โดดเด่น ที่สำคัญ มีกฎหมายที่รองรับ 2-3 ฉบับ ควรจะยกฐานะจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาเป็นหน่วยงานระดับสำนัก ส่วนผู้บริหารยกจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประเภทชำนาญการพิเศษ (ซี 8) มาเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก ประเภทอำนวยการระดับสูง (ซี 9) แทน
นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดดูแลเรื่องสวัสดิการผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอสมุดแห่งชาติในกรณีเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หรือโบราณวัตถุ ยกตัวอย่าง พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน 50,000 ล้านบาท หากมีโบราณวัตถุสูญหายมูลค่า 100 ล้านบาท ผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ไปจนถึงผู้อำนวยการ คงไม่สามารถหาเงินมาจ่ายคืนราชการได้ ดังนั้น จะประสานไปยังบริษัทประกันภัยมาดูแลโดยกรมศิลปากรจะช่วยเหลือจ่ายเงินประกันทรัพย์สินในวงเงินไม่เกิน 100-200 ล้านบาทให้ หากเกิดความเสียหายกับโบราณวัตถุขึ้นจริง วงเงินนี้จะช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานได้ระดับหนึ่ง
นายสหวัฒน์ กล่าวว่า การบูรณะโบราณสถานที่มีความล่าช้า เนื่องจากต้องผ่านความเห็นชอบจากหลายสำนัก เช่น นักโบราณคดี นักอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังอยู่สำนักโบราณคดี ส่วนวิศวกร สถาปนิกอยู่สำนักสถาปัตยกรรม ขณะที่งานที่เกี่ยวข้องกับช่างสิบหมู่ก็แยกไปอยู่ที่สำนักช่างสิบหมู่ ตนจึงเห็นว่า ควรจะมีการจัดตั้งสำนักขึ้นมาใหม่ หรือหน่วยงานใหม่ที่เรียกว่า ศูนย์บริการที่เดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อดึงบุคลากรเหล่านี้มาทำงานบูรณะโบราณสถานทั่วประเทศร่วมกันให้เกิดความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น
วันนี้ (17 ต.ค.) นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารกรมศิลปากร ว่า ขอให้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงวัฒนธรรมในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของมรดกทางวัฒนธรรม ในส่วนภารกิจกรมศิลปากรอยากจะเน้นเรื่องการบริการงานบุคคลและโครงสร้างเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฎิบัติงาน โดยเฉพาะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ ดูแลโบราณวัตถุที่มีคุณค่าและมูลค่ามหาศาล งานบริการที่โดดเด่น ที่สำคัญ มีกฎหมายที่รองรับ 2-3 ฉบับ ควรจะยกฐานะจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มาเป็นหน่วยงานระดับสำนัก ส่วนผู้บริหารยกจากตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ประเภทชำนาญการพิเศษ (ซี 8) มาเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก ประเภทอำนวยการระดับสูง (ซี 9) แทน
นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดดูแลเรื่องสวัสดิการผู้ปฏิบัติงานด้านพิพิธภัณฑ์และหอสมุดแห่งชาติในกรณีเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน หรือโบราณวัตถุ ยกตัวอย่าง พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งมีการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน 50,000 ล้านบาท หากมีโบราณวัตถุสูญหายมูลค่า 100 ล้านบาท ผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ไปจนถึงผู้อำนวยการ คงไม่สามารถหาเงินมาจ่ายคืนราชการได้ ดังนั้น จะประสานไปยังบริษัทประกันภัยมาดูแลโดยกรมศิลปากรจะช่วยเหลือจ่ายเงินประกันทรัพย์สินในวงเงินไม่เกิน 100-200 ล้านบาทให้ หากเกิดความเสียหายกับโบราณวัตถุขึ้นจริง วงเงินนี้จะช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานได้ระดับหนึ่ง
นายสหวัฒน์ กล่าวว่า การบูรณะโบราณสถานที่มีความล่าช้า เนื่องจากต้องผ่านความเห็นชอบจากหลายสำนัก เช่น นักโบราณคดี นักอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังอยู่สำนักโบราณคดี ส่วนวิศวกร สถาปนิกอยู่สำนักสถาปัตยกรรม ขณะที่งานที่เกี่ยวข้องกับช่างสิบหมู่ก็แยกไปอยู่ที่สำนักช่างสิบหมู่ ตนจึงเห็นว่า ควรจะมีการจัดตั้งสำนักขึ้นมาใหม่ หรือหน่วยงานใหม่ที่เรียกว่า ศูนย์บริการที่เดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อดึงบุคลากรเหล่านี้มาทำงานบูรณะโบราณสถานทั่วประเทศร่วมกันให้เกิดความรวดเร็วในการทำงานมากขึ้น