กทม.งง “ธาริต” แถลง กคพ.มีมติรับจ้างบีทีเอสเดินรถเป็นคดีพิเศษ ทั้งที่ยังไม่มีการตั้งข้อกล่าวหา แถมคณะกรรมการ กคพ.ยังให้ไปสอบสวนข้อกฎหมายเพิ่มเติม หลังมหาดไทย และ กทม.ยึดกฎหมายคนละฉบับในการพิจารณา
แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาแถลงผลการประชุมของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ว่า ที่ประชุม กคพ.มีมติรับกรณี กทม.ทำสัญญาการให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นคดีพิเศษนั้น กทม.จึงได้มีการตั้งข้อสังเกตจากการที่ได้รับทราบรายงานการประชุมว่า 1.มติที่นายธาริตกล่าวอ้าง ยังไม่มีการกล่าวหากับบุคคลหรือหน่วยงานใดๆ ทั้งสิ้น และ 2.ข้อกฎหมายที่กระทรวงทรวงมหาดไทย และ กทม.ใช้ในการพิจารณานั้นเป็นคนละฉบับ คณะกรรมการ กคพ.จึงให้ดีเอสไอไปสอบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อน ซึ่งหากไม่มีการกระทำผิดก็ขอให้ยุติ และหากพบว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการการเมืองก็ให้ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานอื่น ซึ่งก็คือ ป.ป.ช.ที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการการเมือง แต่เมื่อมีการแถลงข่าวกลับกลายเป็นว่า กคพ.มีมติรับการว่าจ้างบีทีเอสเดินรถเป็นคดีพิเศษซึ่งได้สร้างความงุนงงกับกทม.เป็นอย่างมาก
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาที่ได้ลงนามว่าจ้างบีทีเอสเดินรถไปแล้ว ในส่วนของ กทม.นั้นก็จะไม่มีผลกระทบใดๆ เพราะไม่มีการกล่าวหากทม.หากเกี่ยวข้องกับผู้ว่าฯ กทม.ก็ต้องส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช.
แหล่งข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกมาแถลงผลการประชุมของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ว่า ที่ประชุม กคพ.มีมติรับกรณี กทม.ทำสัญญาการให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพระหว่างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นคดีพิเศษนั้น กทม.จึงได้มีการตั้งข้อสังเกตจากการที่ได้รับทราบรายงานการประชุมว่า 1.มติที่นายธาริตกล่าวอ้าง ยังไม่มีการกล่าวหากับบุคคลหรือหน่วยงานใดๆ ทั้งสิ้น และ 2.ข้อกฎหมายที่กระทรวงทรวงมหาดไทย และ กทม.ใช้ในการพิจารณานั้นเป็นคนละฉบับ คณะกรรมการ กคพ.จึงให้ดีเอสไอไปสอบสวนข้อเท็จจริงเสียก่อน ซึ่งหากไม่มีการกระทำผิดก็ขอให้ยุติ และหากพบว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการการเมืองก็ให้ส่งเรื่องไปยังหน่วยงานอื่น ซึ่งก็คือ ป.ป.ช.ที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการการเมือง แต่เมื่อมีการแถลงข่าวกลับกลายเป็นว่า กคพ.มีมติรับการว่าจ้างบีทีเอสเดินรถเป็นคดีพิเศษซึ่งได้สร้างความงุนงงกับกทม.เป็นอย่างมาก
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อสัญญาที่ได้ลงนามว่าจ้างบีทีเอสเดินรถไปแล้ว ในส่วนของ กทม.นั้นก็จะไม่มีผลกระทบใดๆ เพราะไม่มีการกล่าวหากทม.หากเกี่ยวข้องกับผู้ว่าฯ กทม.ก็ต้องส่งเรื่องต่อไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช.