‘กรมศิลป์’ เร่งศึกษาข้อมูล พระบรมธาตุเจดีย์นครฯ เทียบคุณค่า ‘อนุราธบุระ-โปโลนนารุวะ’ 2 โบราณสถานศรีลังกา เชื่อมโยงประวัติศาสตร์-หวังหนุนเป็นมรดกโลกง่ายขึ้น
วันนี้ (24 ก.ย.) นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำนอมิเนชันโดชิเย (Nommination dosier) และแผนบริหารจัดการ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเสนอต่อศูนย์มรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในการประกอบการขึ้นทะเบียนพระบรมธาตุเจดีย์ฯ เป็นมรดกโลก ว่า ตนได้รับมอบหมายให้ไปร่วมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะกรรมการระดับจังหวัด ในวันที่ 26 กันยายน เพื่อประชุมแนวทางและการจัดทำข้อมูลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนอมิเนชันโดชิเย และแผนบริหารจัดการ รวมทั้งชี้แนะแนวทางการจัดข้อมูลตามที่ยูเนสโกกำหนด ซึ่งหลังจากนั้นจะมีความชัดเจนมากขึ้นว่าคณะกรรมการแต่ละด้านจะรับผิดชอบจัดทำข้อมูลเรื่องใดบ้าง จากนั้นคณะจะลงพื้นที่ที่พระบรมธาตุเจดีย์ฯ เพื่อเก็บข้อมูลด้านต่างเพิ่มเติมด้วย
อย่างไรก็ตาม วันที่ 26 ก.ย.จะเน้นทำความเข้าใจเรื่องการจัดทำนอมิเนชันโดชิเย ซึ่งต้องชูจุดเด่นของพระบรมธาตุเจดีย์ฯ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทั้ง 10 ข้อ ซึ่งอย่างที่ทราบกันแล้วว่าคุณสมบัติของพระบรมธาตุเจดีย์ฯ เข้าหลักเกณฑ์ 3 ข้อ โดยยูเนสโกกำหนดว่าแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่จะเป็นมรดกโลกได้ต้องมีคุณสมบัติครบอย่างน้อย 1 ข้อจากทั้งหมด 10 ข้อ ดังนั้นการทำเอกสารดังกล่าวข้อมูลต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องและเข้ากับหลักเกณฑ์ดังกล่าว
นายธราพงศ์ อธิบายว่า การจัดทำนอมิเนชันโดชิเย ต้องมีการแนบข้อมูลการเปรียบเทียบคุณค่าและจุดเด่นของพระบรมธาตุเจดีย์ฯ กับมรดกทางทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยง หรือว่ามีลักษณะใกล้เคียงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้สำนักโบราณคดีได้ศึกษาข้อมูลของ อนุราธบุระ และโปโลนนารุวะ ซึ่งเป็นโบราณสถานของประเทศศรีลังกา เนื่องจากพระบรมธาตุเจดีย์ฯ สืบทอดมาจากศิลปะลังกา และเพื่อให้ความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเมืองอยุธยา และเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งสองเมืองได้รับอิทธิพลทั้งเรื่องศิลปะและพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจากนครศรีธรรมราช ดังนั้น การเปรียบและศึกษาข้อมูลดังกล่าว จึงเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยสนับสนุนให้พระบรมธาตุเจดีย์ฯ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกง่ายขึ้นอีก
วันนี้ (24 ก.ย.) นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำนอมิเนชันโดชิเย (Nommination dosier) และแผนบริหารจัดการ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเสนอต่อศูนย์มรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในการประกอบการขึ้นทะเบียนพระบรมธาตุเจดีย์ฯ เป็นมรดกโลก ว่า ตนได้รับมอบหมายให้ไปร่วมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะกรรมการระดับจังหวัด ในวันที่ 26 กันยายน เพื่อประชุมแนวทางและการจัดทำข้อมูลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนอมิเนชันโดชิเย และแผนบริหารจัดการ รวมทั้งชี้แนะแนวทางการจัดข้อมูลตามที่ยูเนสโกกำหนด ซึ่งหลังจากนั้นจะมีความชัดเจนมากขึ้นว่าคณะกรรมการแต่ละด้านจะรับผิดชอบจัดทำข้อมูลเรื่องใดบ้าง จากนั้นคณะจะลงพื้นที่ที่พระบรมธาตุเจดีย์ฯ เพื่อเก็บข้อมูลด้านต่างเพิ่มเติมด้วย
อย่างไรก็ตาม วันที่ 26 ก.ย.จะเน้นทำความเข้าใจเรื่องการจัดทำนอมิเนชันโดชิเย ซึ่งต้องชูจุดเด่นของพระบรมธาตุเจดีย์ฯ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทั้ง 10 ข้อ ซึ่งอย่างที่ทราบกันแล้วว่าคุณสมบัติของพระบรมธาตุเจดีย์ฯ เข้าหลักเกณฑ์ 3 ข้อ โดยยูเนสโกกำหนดว่าแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่จะเป็นมรดกโลกได้ต้องมีคุณสมบัติครบอย่างน้อย 1 ข้อจากทั้งหมด 10 ข้อ ดังนั้นการทำเอกสารดังกล่าวข้อมูลต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องและเข้ากับหลักเกณฑ์ดังกล่าว
นายธราพงศ์ อธิบายว่า การจัดทำนอมิเนชันโดชิเย ต้องมีการแนบข้อมูลการเปรียบเทียบคุณค่าและจุดเด่นของพระบรมธาตุเจดีย์ฯ กับมรดกทางทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยง หรือว่ามีลักษณะใกล้เคียงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้สำนักโบราณคดีได้ศึกษาข้อมูลของ อนุราธบุระ และโปโลนนารุวะ ซึ่งเป็นโบราณสถานของประเทศศรีลังกา เนื่องจากพระบรมธาตุเจดีย์ฯ สืบทอดมาจากศิลปะลังกา และเพื่อให้ความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเมืองอยุธยา และเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งสองเมืองได้รับอิทธิพลทั้งเรื่องศิลปะและพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจากนครศรีธรรมราช ดังนั้น การเปรียบและศึกษาข้อมูลดังกล่าว จึงเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยสนับสนุนให้พระบรมธาตุเจดีย์ฯ ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกง่ายขึ้นอีก