ศธ.เล็งผุดแคมเปญ “หนูอยากได้ยินเสียงแม่” หาเงินช่วยเหลือในการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม และซื้อเครื่องช่วยฟังให้เด็กหูหนวก ด้าน “สุชาติ” สั่ง สพฐ.เร่งสำรวจจำนวนเด็กเพื่อคำนวณค่าใช้จ่าย พร้อมทวงถาม ก.คลัง เรื่องทำสลากงวดพิเศษ วงเงิน 1 พันล.เพื่อหาเงินเข้ากองทุนจัดการศึกษาเด็กพิการ ขณะที่ “อนันต์” เผยเตรียมหาทุนเป็นค่าใช้จ่ายแก่เด็กพิการที่ได้รับทุนเรียนต่ออุดมศึกษา ตามนโยบาย รมว.ศึกษาฯ
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2/2555 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ศธ.เตรียมจัดโครงการช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินโดยใช้ชื่อโครงการว่า “หนูอยากได้เสียงแม่” วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ต้องการช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่ไม่ถึงขั้นหูหนวกถาวร ให้กลับมาได้ยินเพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตและช่วยเหลือตนเองได้ในสังคม ทั้งนี้ ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปทำการสำรวจดูว่ามีเด็กที่อยู่ในข่ายดังกล่าวจำนวนเท่าไร นอกจากนั้น ยังให้ สพฐ.ทวงถามไปยังกระทรวงการคลังด้วย เพราะเดิม ศธ.ได้ขอให้กระทรวงการคลัง ออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดพิเศษ วงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อระดมทุนมาเข้ากองทุนจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิการ ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังเคยตอบมาว่าไม่มีนโยบายที่จะออกสลากงวดพิเศษ แต่ถ้ามีนโยบายให้ออกสลากกินแบ่งงวดพิเศษได้เมื่อไรก็จะพิจารณาการออกสลากกินแบ่งเพื่อเด็กพิการให้อยู่ในคิวต้นๆ
ด้าน นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำหรับโครงการ “หนูอยากได้ยินเสียงแม่” เป็นการช่วยเหลือเด็กที่มีอาการหูหนวกแต่ยังพอได้ยินเสียงอยู่ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มเด็กเล็ก ที่ยังมีโอกาสฟื้นฟูประสาทหูได้ จะต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม พร้อมฟื้นฟูประสาทหูใช้งบประมาณ ราว 1 ล้านบาทต่อคน ส่วนกลุ่มเด็กที่อายุมากแล้ว โอกาสที่ประสาทหูจะฟื้นฟูได้มีโอกาสเป็นไปได้ยากจึงได้ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งมีราคาประมาณ 10,000 กว่าบาทต่อเครื่อง
“การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม หรือแม้กระทั่งการซื้อเครื่องช่วยฟังนั้น อาจเป็นภาระทางการเงินที่สูงสำหรับผู้ปกครองของเด็ก รมว.ศึกษาธิการ จึงต้องการให้ สพฐ.จัดโครงการไปช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ให้ได้รับการรักษาฟรี หลังจากนี้ สพฐ.จะไปสำรวจดูว่ามีเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินจำนวนเท่าใด อยู่ในข่ายที่รักษาทั้งการผ่าตัดและใช้เครื่องช่วยฟังได้เท่าใด เพื่อนำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณงบประมาณที่ต้องใช้ หากพบว่างบประมาณที่ต้องใช้เป็นตัวเลขที่สูงมาก สพฐ.อาจทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อขอระดมความช่วยเหลือสนับสนุนโครงการดังกล่าว” รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า นอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว รมว.ศึกษาธิการ ยังให้ สพฐ.พยายามหาทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้กับนักเรียนพิการที่ได้รับทุนเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ซึ่งในปี 2556 นั้นมีเด็กพิการได้รับทุนเรียนต่อ 900 คน และที่ได้รับทุนก่อนหน้า จำนวน 2,400 ทุน เด็กพิการกลุ่มนี้จะได้เฉพาะทุนการศึกษา แต่การมาเรียนของเด็กพิการนั้นยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น เด็กที่เป็นใบ้ ต้องใช้ล่ามช่วยแปลภาษามือ ดังนั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงอยากให้มีทุนเป็นค่าใช้จ่ายแก่เด็กพิการ ทั้งนี้ เพื่อให้สดอคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้โอกาสเด็กพิการได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่จนจบปริญญาตรี
ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ครั้งที่ 2/2555 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ศธ.เตรียมจัดโครงการช่วยเหลือเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินโดยใช้ชื่อโครงการว่า “หนูอยากได้เสียงแม่” วัตถุประสงค์ของโครงการนี้ต้องการช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่ไม่ถึงขั้นหูหนวกถาวร ให้กลับมาได้ยินเพื่อที่จะสามารถใช้ชีวิตและช่วยเหลือตนเองได้ในสังคม ทั้งนี้ ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปทำการสำรวจดูว่ามีเด็กที่อยู่ในข่ายดังกล่าวจำนวนเท่าไร นอกจากนั้น ยังให้ สพฐ.ทวงถามไปยังกระทรวงการคลังด้วย เพราะเดิม ศธ.ได้ขอให้กระทรวงการคลัง ออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดพิเศษ วงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อระดมทุนมาเข้ากองทุนจัดการศึกษาให้แก่เด็กพิการ ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังเคยตอบมาว่าไม่มีนโยบายที่จะออกสลากงวดพิเศษ แต่ถ้ามีนโยบายให้ออกสลากกินแบ่งงวดพิเศษได้เมื่อไรก็จะพิจารณาการออกสลากกินแบ่งเพื่อเด็กพิการให้อยู่ในคิวต้นๆ
ด้าน นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำหรับโครงการ “หนูอยากได้ยินเสียงแม่” เป็นการช่วยเหลือเด็กที่มีอาการหูหนวกแต่ยังพอได้ยินเสียงอยู่ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มเด็กเล็ก ที่ยังมีโอกาสฟื้นฟูประสาทหูได้ จะต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม พร้อมฟื้นฟูประสาทหูใช้งบประมาณ ราว 1 ล้านบาทต่อคน ส่วนกลุ่มเด็กที่อายุมากแล้ว โอกาสที่ประสาทหูจะฟื้นฟูได้มีโอกาสเป็นไปได้ยากจึงได้ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งมีราคาประมาณ 10,000 กว่าบาทต่อเครื่อง
“การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม หรือแม้กระทั่งการซื้อเครื่องช่วยฟังนั้น อาจเป็นภาระทางการเงินที่สูงสำหรับผู้ปกครองของเด็ก รมว.ศึกษาธิการ จึงต้องการให้ สพฐ.จัดโครงการไปช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ให้ได้รับการรักษาฟรี หลังจากนี้ สพฐ.จะไปสำรวจดูว่ามีเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินจำนวนเท่าใด อยู่ในข่ายที่รักษาทั้งการผ่าตัดและใช้เครื่องช่วยฟังได้เท่าใด เพื่อนำตัวเลขดังกล่าวมาคำนวณงบประมาณที่ต้องใช้ หากพบว่างบประมาณที่ต้องใช้เป็นตัวเลขที่สูงมาก สพฐ.อาจทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อขอระดมความช่วยเหลือสนับสนุนโครงการดังกล่าว” รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า นอกจากโครงการดังกล่าวแล้ว รมว.ศึกษาธิการ ยังให้ สพฐ.พยายามหาทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้กับนักเรียนพิการที่ได้รับทุนเรียนต่อระดับอุดมศึกษา ซึ่งในปี 2556 นั้นมีเด็กพิการได้รับทุนเรียนต่อ 900 คน และที่ได้รับทุนก่อนหน้า จำนวน 2,400 ทุน เด็กพิการกลุ่มนี้จะได้เฉพาะทุนการศึกษา แต่การมาเรียนของเด็กพิการนั้นยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น เด็กที่เป็นใบ้ ต้องใช้ล่ามช่วยแปลภาษามือ ดังนั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงอยากให้มีทุนเป็นค่าใช้จ่ายแก่เด็กพิการ ทั้งนี้ เพื่อให้สดอคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้โอกาสเด็กพิการได้รับการศึกษาอย่างเต็มที่จนจบปริญญาตรี