วธ.ปลื้ม เว็บไซต์ศูนย์มรดกโลกประกาศชื่อวัดพระมหาธาตุฯ นครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีเบื้องต้นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เตรียมเฟ้นความโดดเด่นของวัดเสนอให้พิจารณา เผย เข้าหลักเกณฑ์ 3 ใน 10 ข้อคุณสมบัติมรดกโลก
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร และคณะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยความคืบหน้าการเสนอชื่อวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ไปที่ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกเพื่อพิจารณาเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative Lists) เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในอนาคต ว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ศูนย์มรดกโลกได้ประกาศชื่อวัดพระมหาธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยขั้นตอนต่อจากนี้คณะกรรมการของจังหวัดจะต้องจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่เรียกว่า นอมิเนชัน (Nommination dosier) คุณสมบัติต่างๆ ที่โดดเด่นของวัดพระมหาธาตุฯ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อส่งไปยังศูนย์ฯมรดกโลก ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายการพิจารณา ซึ่งจะต้องใช้เวลา 1 ปีครึ่ง จากนั้นจะบรรจุเข้าการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 38 หรือสมัยที่ 39 ระหว่างปี พ.ศ.2557-2558 เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก
นางโสมสุดา กล่าวว่า วัดพระมหาธาตุฯ เข้าหลักเกณฑ์ 3 ข้อของทั้งหมด 10 ข้อตามคุณสมบัติจะเป็นมรดกโลก ดังนี้ หลักเกณฑ์ข้อ 1 เป็นตัวแทนผลงานของการสร้างจากอัจฉริยะของมนุษย์ แสดงถึงการออกแบบอาคาร และการออกแบบแผนผังของสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา โดยพระบรมธาตุเจดีย์ฯ องค์นี้มีสถูปทรงกลมขนาดใหญ่มีต้นแบบมาจากสถูปในศิลปะลังกา และปลียอดทรงดอกบัวตูมที่ประดับด้วยลูกปัดแก้ว ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย จึงเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมชิ้นเลิศที่สร้างจากอัจฉริยภาพของศิลปิน
หลักเกณฑ์ข้อ 2 แสดงถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของมนุษย์ตามกาลเวลา หรือในวัฒนธรรมด้านใดด้านหนึ่งของโลก ในการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยีศิลปสถาปัตยกรรมโบราณ การออกแบบผังเมือง หรือการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพระบรมธาตุเจดีย์ฯ แสดงถึงการสืบทอดคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พัฒนาการสถาปัตยกรรม การก่อสร้าง และแผนผัง ที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะของคาบสมุทรไทยตอนบนกับศิลปะลังกา นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่รับพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจากศรีลังกา และเผยแผ่ไปยังอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอาณาจักรศรีวิชัย ที่ปรากฏเจดีย์ทรงระฆังในอาณาจักรเหล่านี้
และหลักเกณฑ์ข้อ 6 มีความสัมพันธ์โดยตรง หรือเห็นได้ชัดเจนกับเหตุการณ์ หรือประเพณีที่ยังคงอยู่ หรือความคิด หรือความเชื่อ งานศิลปกรรม และวรรณกรรม ที่มีความสำคัญโดดเด่นเป็นสากล ประเพณีพิธีกรรมประจำปีที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมธาตุองค์นี้ คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ มีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนิกชนในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก ในฐานะสัญลักษณ์แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมหาศาลเดินทางเข้ามาร่วมพิธีกรรมปีละหลายครั้ง
นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร และคณะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยความคืบหน้าการเสนอชื่อวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช ไปที่ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกเพื่อพิจารณาเข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative Lists) เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในอนาคต ว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ศูนย์มรดกโลกได้ประกาศชื่อวัดพระมหาธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยขั้นตอนต่อจากนี้คณะกรรมการของจังหวัดจะต้องจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่เรียกว่า นอมิเนชัน (Nommination dosier) คุณสมบัติต่างๆ ที่โดดเด่นของวัดพระมหาธาตุฯ ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อส่งไปยังศูนย์ฯมรดกโลก ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายการพิจารณา ซึ่งจะต้องใช้เวลา 1 ปีครึ่ง จากนั้นจะบรรจุเข้าการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 38 หรือสมัยที่ 39 ระหว่างปี พ.ศ.2557-2558 เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลก
นางโสมสุดา กล่าวว่า วัดพระมหาธาตุฯ เข้าหลักเกณฑ์ 3 ข้อของทั้งหมด 10 ข้อตามคุณสมบัติจะเป็นมรดกโลก ดังนี้ หลักเกณฑ์ข้อ 1 เป็นตัวแทนผลงานของการสร้างจากอัจฉริยะของมนุษย์ แสดงถึงการออกแบบอาคาร และการออกแบบแผนผังของสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนา โดยพระบรมธาตุเจดีย์ฯ องค์นี้มีสถูปทรงกลมขนาดใหญ่มีต้นแบบมาจากสถูปในศิลปะลังกา และปลียอดทรงดอกบัวตูมที่ประดับด้วยลูกปัดแก้ว ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย จึงเป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมชิ้นเลิศที่สร้างจากอัจฉริยภาพของศิลปิน
หลักเกณฑ์ข้อ 2 แสดงถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของมนุษย์ตามกาลเวลา หรือในวัฒนธรรมด้านใดด้านหนึ่งของโลก ในการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยีศิลปสถาปัตยกรรมโบราณ การออกแบบผังเมือง หรือการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพระบรมธาตุเจดีย์ฯ แสดงถึงการสืบทอดคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พัฒนาการสถาปัตยกรรม การก่อสร้าง และแผนผัง ที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะของคาบสมุทรไทยตอนบนกับศิลปะลังกา นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่รับพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทจากศรีลังกา และเผยแผ่ไปยังอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอาณาจักรศรีวิชัย ที่ปรากฏเจดีย์ทรงระฆังในอาณาจักรเหล่านี้
และหลักเกณฑ์ข้อ 6 มีความสัมพันธ์โดยตรง หรือเห็นได้ชัดเจนกับเหตุการณ์ หรือประเพณีที่ยังคงอยู่ หรือความคิด หรือความเชื่อ งานศิลปกรรม และวรรณกรรม ที่มีความสำคัญโดดเด่นเป็นสากล ประเพณีพิธีกรรมประจำปีที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมธาตุองค์นี้ คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ มีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนิกชนในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก ในฐานะสัญลักษณ์แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมหาศาลเดินทางเข้ามาร่วมพิธีกรรมปีละหลายครั้ง