ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
6 พฤศจิกายน 2555 เป็นวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 57 ของสหรัฐอเมริกา และน่าจะแน่นอนแล้วว่าจะเป็นการแข่งขันระหว่างประธานาธิบดี บารัค โอบามา และ นายมิตต์ รอมนีย์ คู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน ปัญหาใหญ่และท้าทายผู้นำสหรัฐอเมริกาคนใหม่ ก็คือปัญหาเศรษฐกิจซึ่งขณะนี้ (กันยายน 2555) มีตัวเลขคนว่างงานอยู่ถึงร้อยละ 8.1 หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงวิกฤตหนี้ยูโรโซนที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะยุติเมื่อใด ทำให้อเมริกันชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่าเลือกใครแล้วจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่าในสมัยแรกของโอบามา ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายสุขภาพที่ชื่อ The Patient Protection and Affordable Care Act (PPACA) หรือรู้จักกันในนาม “โอบามาแคร์” เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดประโยชน์กับอเมริกันชนและลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในระยะยาวลงได้
สหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขมากแค่ไหนเชียวหรือครับ ?
ถ้าดูจากข้อมูลใน Website ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ระบุว่า ในปี 2010 สหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มและมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คิดเป็นร้อยละ 17.6 ของ GDP และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 8,233 $US/คน (ราว 240,000 บาท/คน) มากกว่าเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอยู่อันดับสอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียงร้อยละ 12 ของ GDP เท่านั้น
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมาจาก 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกภาครัฐอุดหนุน ส่วนที่สองเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายเอง ประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่ม OECD รัฐมักให้การอุดหนุนมากกว่า โดยมีค่าเฉลี่ยของการอุดหนุนภาครัฐอยู่ที่ร้อยละ 72.2 แต่มีเพียง 3 ประเทศในกลุ่มที่ภาครัฐอุดหนุนน้อยกว่า หนึ่งในนั้นก็คืออเมริกา ซึ่งค่าใช้จ่ายภาครัฐมีเพียงร้อยละ 48.2 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพทั้งหมด แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงร้อยละ 50 หากดูงบประมาณต่อประชากรแล้ว ก็จะพบว่า สูงกว่าทุกประเทศในกลุ่ม ยกเว้นนอร์เวย์และเนเธอร์แลนด์เท่านั้น
ปัจจุบัน รัฐบาลอเมริกาให้ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลแก่คน 3 กลุ่ม ได้แก่
1.คนชรา (อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป) ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Medicare
2.ผู้ที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Mecicaid
3.ข้าราชการบางกลุ่ม เช่น ทหาร ส.ส. ส.ว. ทหารผ่านศึก
พลเมืองอเมริกานอกเหนือจาก 3 กลุ่มนี้ เมื่อจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ก็ต้องชำระเงินเอง มหาเศรษฐี เศรษฐี หรือผู้มีอันจะกินคงไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไร แต่สำหรับคนชั้นกลาง หรือคนเกือบจน หรือมีรายได้มากกว่าเกณฑ์ที่รัฐกำหนดเล็กน้อย จึงต้องหาหลักประกันให้กับตนเอง โดยซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทเอกชน
ปัญหาก็อยู่ตรงนี้แหละครับ ถ้าเรายังอายุไม่มาก ไม่มีโรคประจำตัว สุขภาพโดยทั่วไปก็แข็งแรงดี เราจะซื้อประกันไหมครับ เพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่ต้องมี ทำให้ที่ผ่านมาจึงมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ซื้อประกันสุขภาพ ในขณะที่อีกหลายคนเสี่ยงที่จะไม่ซื้อเพื่อประหยัดเงินที่ต้องนำไปจ่ายเบี้ยประกัน นอกจากนั้น อเมริกายังไม่มีกฎหมายบังคับให้บริษัทประกันต้องคุ้มครองผู้ซื้อประกัน ซึ่งทำให้บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อใดก็ได้ ทำให้แม้ว่าจะซื้อประกันแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
สาระสำคัญของ “โอบามาแคร์” ก็คือ การขยายระบบประกันสุขภาพ ให้ครอบคลุมชาวอเมริกัน 33 ล้านคน ที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ โดยภาครัฐจะมีเงินสนับสนุน แก่บุคคล และครอบครัวที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ที่ไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพได้ และมีข้อบังคับห้ามบริษัทประกันภัย ปฏิเสธลูกค้าที่มีปัญหาสุขภาพ รวมทั้งเพิ่มโทษปรับแก่บริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ซื้อประกันให้พนักงาน ซึ่งถือเป็นการปฏิรูประบบสาธารณสุขของสหรัฐฯครั้งใหญ่ที่สุด ในรอบเกือบ 50 ปีเลยทีเดียว
แต่อย่างที่ทราบว่า อเมริกา เป็นประเทศ “เสรีนิยม” ที่สุดในโลก จึงมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่า “โอบามาแคร์” เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ จนกระทั่งพรรครีพับลิกันส่งคำร้องไปยังศาลสูงของสหรัฐให้พิจารณาว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และในที่สุดศาลได้ตัดสินด้วยคะแนนโหวต 5 เสียงต่อ 4 ว่าการบังคับให้ประชาชนซื้อประกันสุขภาพตามกฎหมายโอบามาแคร์ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะการบังคับของรัฐไม่ใช่การค้าขายเพื่อหาผลกำไร
สงครามครั้งนี้ยังไม่จบง่าย พรรครีพับลิกันได้เรียกร้องประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับ “โอบามาแคร์” คว่ำกฎหมายฉบับนี้ โดยเลือกมิตต์ รอมนีย์ในโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 57 จะเป็นใคร และอเมริกันชนอีก 33 ล้านคน จะเข้าถึงการประกันสุขภาพหรือไม่ รวมทั้งน้ำจะท่วมบ้านเราอีกหรือเปล่า ปลายปีนี้คงจะรู้กันแล้วครับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก
1. http://www.nationmaster.com/country/th-thailand/hea-health
2. http://www.who.int/countries/usa/en/
3. http://www.oecd.org/unitedstates/BriefingNoteUSA2012.pdf
4. www.siamintelligence.com/obamacare-is-a-product-or-human-right-issue
6 พฤศจิกายน 2555 เป็นวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 57 ของสหรัฐอเมริกา และน่าจะแน่นอนแล้วว่าจะเป็นการแข่งขันระหว่างประธานาธิบดี บารัค โอบามา และ นายมิตต์ รอมนีย์ คู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน ปัญหาใหญ่และท้าทายผู้นำสหรัฐอเมริกาคนใหม่ ก็คือปัญหาเศรษฐกิจซึ่งขณะนี้ (กันยายน 2555) มีตัวเลขคนว่างงานอยู่ถึงร้อยละ 8.1 หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงวิกฤตหนี้ยูโรโซนที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะยุติเมื่อใด ทำให้อเมริกันชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องพิจารณาให้ถ้วนถี่ว่าเลือกใครแล้วจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่าในสมัยแรกของโอบามา ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายสุขภาพที่ชื่อ The Patient Protection and Affordable Care Act (PPACA) หรือรู้จักกันในนาม “โอบามาแคร์” เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดประโยชน์กับอเมริกันชนและลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในระยะยาวลงได้
สหรัฐอเมริกาใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขมากแค่ไหนเชียวหรือครับ ?
ถ้าดูจากข้อมูลใน Website ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ระบุว่า ในปี 2010 สหรัฐอเมริกามีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงเป็นอันดับหนึ่งของกลุ่มและมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คิดเป็นร้อยละ 17.6 ของ GDP และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อประชากรอยู่ที่ 8,233 $US/คน (ราว 240,000 บาท/คน) มากกว่าเนเธอร์แลนด์ ซึ่งอยู่อันดับสอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียงร้อยละ 12 ของ GDP เท่านั้น
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพมาจาก 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกภาครัฐอุดหนุน ส่วนที่สองเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายเอง ประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่ม OECD รัฐมักให้การอุดหนุนมากกว่า โดยมีค่าเฉลี่ยของการอุดหนุนภาครัฐอยู่ที่ร้อยละ 72.2 แต่มีเพียง 3 ประเทศในกลุ่มที่ภาครัฐอุดหนุนน้อยกว่า หนึ่งในนั้นก็คืออเมริกา ซึ่งค่าใช้จ่ายภาครัฐมีเพียงร้อยละ 48.2 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพทั้งหมด แต่ถึงแม้ว่าจะไม่ถึงร้อยละ 50 หากดูงบประมาณต่อประชากรแล้ว ก็จะพบว่า สูงกว่าทุกประเทศในกลุ่ม ยกเว้นนอร์เวย์และเนเธอร์แลนด์เท่านั้น
ปัจจุบัน รัฐบาลอเมริกาให้ความช่วยเหลือด้านค่ารักษาพยาบาลแก่คน 3 กลุ่ม ได้แก่
1.คนชรา (อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป) ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Medicare
2.ผู้ที่มีรายได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้รับสิทธิประโยชน์ที่เรียกว่า Mecicaid
3.ข้าราชการบางกลุ่ม เช่น ทหาร ส.ส. ส.ว. ทหารผ่านศึก
พลเมืองอเมริกานอกเหนือจาก 3 กลุ่มนี้ เมื่อจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ก็ต้องชำระเงินเอง มหาเศรษฐี เศรษฐี หรือผู้มีอันจะกินคงไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไร แต่สำหรับคนชั้นกลาง หรือคนเกือบจน หรือมีรายได้มากกว่าเกณฑ์ที่รัฐกำหนดเล็กน้อย จึงต้องหาหลักประกันให้กับตนเอง โดยซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทเอกชน
ปัญหาก็อยู่ตรงนี้แหละครับ ถ้าเรายังอายุไม่มาก ไม่มีโรคประจำตัว สุขภาพโดยทั่วไปก็แข็งแรงดี เราจะซื้อประกันไหมครับ เพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งที่ต้องมี ทำให้ที่ผ่านมาจึงมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ซื้อประกันสุขภาพ ในขณะที่อีกหลายคนเสี่ยงที่จะไม่ซื้อเพื่อประหยัดเงินที่ต้องนำไปจ่ายเบี้ยประกัน นอกจากนั้น อเมริกายังไม่มีกฎหมายบังคับให้บริษัทประกันต้องคุ้มครองผู้ซื้อประกัน ซึ่งทำให้บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อใดก็ได้ ทำให้แม้ว่าจะซื้อประกันแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
สาระสำคัญของ “โอบามาแคร์” ก็คือ การขยายระบบประกันสุขภาพ ให้ครอบคลุมชาวอเมริกัน 33 ล้านคน ที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ โดยภาครัฐจะมีเงินสนับสนุน แก่บุคคล และครอบครัวที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ที่ไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพได้ และมีข้อบังคับห้ามบริษัทประกันภัย ปฏิเสธลูกค้าที่มีปัญหาสุขภาพ รวมทั้งเพิ่มโทษปรับแก่บริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ซื้อประกันให้พนักงาน ซึ่งถือเป็นการปฏิรูประบบสาธารณสุขของสหรัฐฯครั้งใหญ่ที่สุด ในรอบเกือบ 50 ปีเลยทีเดียว
แต่อย่างที่ทราบว่า อเมริกา เป็นประเทศ “เสรีนิยม” ที่สุดในโลก จึงมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่า “โอบามาแคร์” เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ จนกระทั่งพรรครีพับลิกันส่งคำร้องไปยังศาลสูงของสหรัฐให้พิจารณาว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และในที่สุดศาลได้ตัดสินด้วยคะแนนโหวต 5 เสียงต่อ 4 ว่าการบังคับให้ประชาชนซื้อประกันสุขภาพตามกฎหมายโอบามาแคร์ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะการบังคับของรัฐไม่ใช่การค้าขายเพื่อหาผลกำไร
สงครามครั้งนี้ยังไม่จบง่าย พรรครีพับลิกันได้เรียกร้องประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับ “โอบามาแคร์” คว่ำกฎหมายฉบับนี้ โดยเลือกมิตต์ รอมนีย์ในโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 57 จะเป็นใคร และอเมริกันชนอีก 33 ล้านคน จะเข้าถึงการประกันสุขภาพหรือไม่ รวมทั้งน้ำจะท่วมบ้านเราอีกหรือเปล่า ปลายปีนี้คงจะรู้กันแล้วครับ
ข้อมูลอ้างอิงจาก
1. http://www.nationmaster.com/country/th-thailand/hea-health
2. http://www.who.int/countries/usa/en/
3. http://www.oecd.org/unitedstates/BriefingNoteUSA2012.pdf
4. www.siamintelligence.com/obamacare-is-a-product-or-human-right-issue